พิมเสน borneol สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน ลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุน พิมเสนพบในพืช ประโยชน์ สรรรพคุณและโทษของพิมเสน

พิมเสน สมุนไพร

พิมเสน ชื่อสามัญ คือ borneol ชื่อวิทยาศาสตร์ของพิมเสน คือ Borneol camphor ชื่อเรียกอื่นๆของพิมเสน คือ พิมเสนเกล็ด ปิงเพี่ยน เหมยเพี่ยน เป็นต้น พิมเสนสรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด แต่พิมเสนทำให้ระคายเคืองดวงตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินอาหาร ได้ พิมเสน สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชัน ระหว่างการบูร กับ โซเดียมบอโรไฮไดรด์

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสน พบว่าในพิมเสรมีสารเคมี ที่มีคุณสมบัติคล้ายการบูร มีสารเคมี ประกอบด้วย d-Borneol , Humulene , Caryophyllene , Asiatic acid , Dryobalanon Erythrodiol , Dipterocarpol , Hydroxydammarenone2 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อโรคในลำไส้ใหญ่ เชื้อราบนผิวหนัง เป็นต้น

ชนิดของพิมเสน

สำหรับพิมเสน เป็นสารเคมีที่มีลักษณะพิเศษ พิมเสนมี 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ และ พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ เรียก พิมเสนแท้ เกิดจากการระเหิดของยางของพืชตระกูลยางนา พิมเสน จะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร และระเหิดได้ช้ากว่าการบูร คุณสมบัติติดไฟและให้แสงสว่างจ้า มีควัน ไม่มีขี้เถ้า
  • พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ เรียก พิมเสนเทียม ได้จากการสกัดจากต้นการบูรและน้ำมันสน โดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา จนเกิดเกร็ดสีขาว ให้คุณสมับติเหมือนพิมเสนแท้

ประโยชน์ของพิมเสน

พิมเสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน สมุนไพร และ การรักษาโรค เป็นหลัก นิยมนำพิมเสนมาใส่ในหมากพลู ผสมในลูกประคบ  ยาหม่อง น้ำอบไทย ยาหอม เป็นต้น ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองตื่นตัว ได้

สรรพคุณของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์ของพิมเสน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มี รายละเอียด ดังนี้

  • เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด บำรุงหัวใจ
  • ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย
  • ช่วยกระตุ้นสมอง
  • ช่วยกระตุ้นการหายใจ
  • แก้วิงเวียนหน้ามืด
  • ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว
  • แก้ไอ
  • รักษาแผลในปาก เหงือกบวม
  • ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมทำให้เรอ ลดการจุกเสียดแน่นท้อง รักษาอาการปวดท้อง
  • รักษาบาดแผลสด แผลเนื้อร้าย
  • ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง รักษาแผลอักเสบ ฟกช้ำ และ กลากเกลื้อน แก้ผดผื่นคัน
  • แก้ปวดบวม แก้อักเสบ

โทษของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพิมเสนมีข้อควรระวังอยู้บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินพิมเสน
  • การใช้พิมเสนมากเกินไป เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้คลื่นไส้อาเจียน

พิมเสน ( borneol ) คือ สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร พิมเสนพบในพืช ประโยชน์และสรรรพคุณของพิมเสน โทษของพิมเสน มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. p. 3.56. ISBN 0-8493-0486-5.
  • คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 499, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  • Wong, K. C.; Ong, K. S.; Lim, C. L. (2006). “Composition of the essential oil of rhizomes of Kaempferia Galanga L.”. Flavour and Fragrance Journal. 7 (5): 263–266. doi:10.1002/ffj.2730070506.
  • พิมเสน – ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • Plants containing borneol เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Dr. Duke’s Phytochemical and Ethnobotanical Databases)]
    “Chemical Information”. sun.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • Material Safety Data Sheet, Fisher Scientific

ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย