ดินสอพอง มีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย ดินสอพองผสมกับน้ำอบทาตัวให้หอม สรระคุณบำรุงผิว

ดินสอพอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ลักษณะของดินสอพอง

สำหรับ ดินสอพอง นั้นมีลักษณะเป็นผง และ ก้อน มีสีขาว มีคุณสมบัติมีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย โดยนิยมนำดินสอพองผสมกับน้ำอบมาทาตัวให้หอม

ดินสอพองในประเทศไทย

พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็น หินปูนเนื้อมาร์ล ( marly limestone ) ที่เป็นดินที่เนื้อเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเอามะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีความเป็นกรด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนตจะเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น หากดูเผินๆ จะเห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า ดินสอพอง สมัยโบราณใช้ทำแป้งทาร่างกาย เพื่อให้เย็นสบาย นำมาผสมกับน้ำหอม เรียก แป้งกระแจะ ทำยาสีฟัน ปัจจุบันใช้ดินสอพองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว นำมาส่วนผสมทำธูป ทำปูนซีเมนต์ เพราะ เสียค่าขุดและค่าบดต่ำกว่าใช้หินปูนซึ่งมีเนื้อเป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน แหล่งใหญ่ในประเทศไทยมีในท้องที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

สมัยโบราณใช้ดินสอพองเป็นเครื่องประทินผิว ทาตัวเด็กแก้ผื่นคัน ใช้ทาพื้นที่ลงรักให้เห็นลายชัดเจน ดินสอพองที่ใช้ทำยาจะนำไปสะตุ โดยอบในหม้อดินจนแห้ง ดินสอพองสะตุใช้ทำยารักษาแผลกามโรค แผลเรื้อรัง คำว่าสอในดินสอพองนั้นมาจากภาษาเขมรแปลว่าขาว ดินสอพองจึงหมายถึงดินสีขาวที่ไม่แข็งตัว

ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง

ดินสอพอง จัดว่าเป็น สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เป็นยาสมุนไพร ตามตำรับยาแผนโบราณ จากประวัติศาสตร์พบว่ามีการนำ ดินสอพอง มาใช้เป็นยา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเราสามารถสรุปประโยชน์ของดินสอพอง ได้ดังนี้

  • ดินสอพอง สรรพคุณเป็นยาเย็น ใช้ลดความร้อนในร่างกาย แก้อักเสบ รักษาผดผื่นคัน และ ช่วยห้ามเหงื่อ ทำให้ร่างกายเย็นสบาย
  • ดินสอพองใช้ป้องกันผิวจากแสงแดด ดินสอพองใช้ทาหน้าป้องกันแสงแดดได้
  • ดินสอพองใช้รักษาผิวหน้า สรรพคุณช่วยขจัดสิวเสี้ยนได้ ลดอาการปวดบวม แก้อักเสบ ช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น ดินสอพองเหมาะสำหรับคนผิวมัน
  • ดินสอพองใช้ขัดผิว เมื่อนำมาผสมกับขมิ้นและมะขามเปียก นำมาขัดหน้า ขัดผิว ช่วยให้ผิวพรรณสวยสดใส
  • ดินสอพองมาผสมกับใบทองพันชั่ง จะมีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • ดินสองพองนำมาผสมกับขมิ้นชัน ไพล เหงือกปลาหมอ จะช่วยบำรุงผิวให้เรียบเนียน
  • ดินสอพองใช้ลดอาการแก้ที่ผิวหนัง โดยนำดินสอพองผสมกับใบเสลดพังพอน ใช้ทาผิว
  • ดินสอพองช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับสารพิษจากเผ็ดพิษ
  • ดินสอพองแก้อักเสบ บวมช้ำ โดยนำดินสอพองผสมกับน้ำมะกรูด ทาที่แผลโน

ดินสอพองมีแคลเซียมคาร์บอเนต สรรพคุณช่วยดูดซับความมัน ซึ่งความมันเป็นสาเหตุของการอักเสบที่รูขุมขน โดยเราได้นำเสนอสูตรการดูแลผิว จากดินสอพอง มาให้ 4 สูตร สำหรับเพื่อนนำไปใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • สูตรที่ 1 ดินสอพองกับน้ำมะนาว โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพอง 2 ช้อนโต๊ะ มะนาว 2 ช้อนชา โดยนำมาผสมกันและ นำมาพอกใบหน้าให้ทั่ว เว้นรอบดวงตาและริมฝีปากไว้ ทิ้งไว้ 15 นาที และล้างออก จะช่วยรักษาปัญหาผิวมันที่มี รูขุมขนกว้าง และมีสิวเสี้ยน
  • สูตรที่ 2 สอพองกับน้ำผึ้ง โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา น้ำเปล่า 1/2 ช้อนชา น้ำมันมะพร้าว 1/2 ช้อนชา นำมาผสมกัน และนำมาพอกใบหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยลดปัญหาผิวแห้งเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า
  • สูตรที่ 3 ดินสอพองกับขมิ้นและน้ำนม ส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 3 ช้อนโต๊ะ นมสด 2 ช้อนชา ผงขมิ้น 1 ช้อนชา นำมาผสมกัน และ ใช่พอกหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื่น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ผดผื่นคัน ทำให้บำรุงผิวเปล่งปลั่ง

โทษของดินสอพอง

ในการใช้ประโยชน์จากดินสอพอง ใช้เพื่อบำรุงผิวหน้า และ ป้องกันการเกิดสิว แต่ดินสอพองจะอยู่ในรูปแบบผง หากไม่ระมัดระวังในการใช้ ก็อาจสูดดมผงเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจได้

ดินสอพอง คือ แร่ธาตุที่ได้จากธรรมชาติ มีฤทธิ์เย็น นิยมนำมาใช้ทำเป็นแป้ง ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง ใช้ดูแลผิวพรรณ รักษาสิว ซึ่งดินสอพอง ประกอบไปด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต (CO3) ร้อยละ 80 แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก แคลเซียม ซิลิกา และ อาราโกไนต์ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง

  • Schurrenberger, D., Russell, J. and Kerry Kelts. 2003. Classification of lacustrine sediments based on sedimentary components. Journal of Paleolimnology 29: 141-154.
  • Chalk of Kent by C. S. Harris Accessed 11/06/2005
  • Geochemistry and time-series analyses of orbitally forced Upper Cretaceous marl–limestone rhythmites, abstract Accessed 11/06/2005
  • Palaeoenvironmental Interpretation of the Early Postglacial Sedimentary Record of a Marl Lake Accessed 11/06/2005
  • Sedimentary Rocks. Pettijohn, F. J., Harper& Brothers New York 1957, p. 410
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.

การบูร พืชมีผลึกสีขาว กลิ่นหอม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ต้นการบูรเป็นอย่างไร สรรพคุณของการบูร เช่น ช่วยกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว แก้เวียนหัว แก้มึนเมา โทษของการบูร

การบูร สมุนไพร สรรพคุณของการบูร

การบูร คือ ผลึกธรรมชาติที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ซึ่งจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ต้นการบูร และพบมากที่สุดในแก่นของราก และ แก่นของต้น ส่วนในใบและยอดอ่อนของต้นการบูร มีผลึกการบูรน้อย ลักษณะของผลึกการบูร เป็นเกล็ด กลม ขนาดเล็ก  สีขาว จับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่าย หากทิ้งเอาไว้ผลึกที่มีกลิ่นหอมของการบูรจะเหิดไปหมด

ซึ่งข้อมูลทางเภสัชวิทยาได้ศึกษาการบูร พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยของการบูร และ การบูร มีสารเคมีประกอบด้วย acetaldehyde , betelphenol , caryophyllen , cineole , eugenol , limonene , linalool , orthodene , p-cymol , และ salvene การบูรมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าแมลง และ ลดระดับคอเลสเตอรอล การบูรมีประสิทธิภาพในการช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้การหายใจถี่ขึ้น

การบูร ( Camphor ) ชื่อวิยาศาสตร์ของการบูร คือ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl เป็นพืชตระกูลอบเชย ชื่อเรียกอื่นๆของการบูร เช่น การะบูน  อบเชยญวน  พรมเส็ง เจียโล่ จางมู่ จางหน่าว เป็นต้น

ลักษณะของต้นการบูร

ต้นการบูร เป็นไม้ยืนต้น เป็นพื้นเมืองของประเทศในเขตอบอุ่น อย่างประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน ลักษณะของต้นการบูรเป็นทรงพุ่ม ขนาดกว้างและทึบ

  • ลำต้นการบูร มีความสูงประมาณ 30 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล ลักษณะผิวหยาบ เปลือกของกิ่งการบูรเป็นสีเขียว และ สีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เป็นส่วนที่สามารถนำมาทำ การบูร ที่มีกลิ่นหอม
  • ใบการบูร เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเหนียว หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม มีลักษณะมัน ท้องใบมีสีเขียวอมเทา ไม่มีขน ใบเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นหอม การบูร
  • ดอกการบูร ต้นการบูรออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมสีเหลือง การบูรจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลการบูร มีลักษณะกลมรูปไข่ ผลเป็นสีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ของการบูร

สำหรับการบูร สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ด้านใช้เป็นยารักษาโรค และ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง อาหาร และ ยารักษาโรค เนื่องจาก กลิ่นหอม ช่วยกระตุ้นความรู้สึก บรรเทาอาการปวดศีรษะ แก้เมารถ เมาเรือ ช่วยแก้รอยผิวหนังแตกในช่วงฤดูหนาว นอกจากนั้น มีการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นอาหาร และ ขนม ลูกกวาด แยม เยลลี่ เครื่องดื่มโคคาโคลา เหล้า เป็นส่วนผสมในเครื่องพะโล้ เครื่องแกงมัสมั่น ผงกะหรี่ คุกกี้ ขนมเค้ก เป็นต้น

การบูร นำมาใช้ไล่ยุงและแมลงได้ โดยนำมาวางในห้องหรือตู้เสื้อผ้า และ ยังช่วยลดกลิ่นอับชื้นได้ นอกจากนี้ มีการใช้การบูร เป็นส่วนผสมของยาหอมเช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาประสะไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยามันทธาตุ ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะเจตพังคี ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาธาตุอบเชย หรือนำมาใช้ทำน้ำมันไพล ลูกประคบ พิมเสนน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของการบูร

การใช้ประโยชน์ของการบูร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลึกการบูร เมล็ด เปลือกลำต้น รากการบูร กิ่งการบูร เนื้อไม้การบูร โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของการบูร สรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้องน้อย
  • เปลือกการบูร สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ธาตุในร่างกาย ช่วยสมานแผล รักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลเน่าเปื่อย
  • เนื้อไม้การบูร สรรพคุรบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ผลึกการบูร สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ยาบำรุงหัวใจ เป็นยากระตุ้นหัวใจ ยาระงับประสาท ช่วยแก้เลือดลม แก้ปวดฟัน ช่วยในการขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด แก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง บำรุงกำหนัด ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ปวด ช่วยแก้อาการชัก
  • กิ่งของการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก
  • รากการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก

โทษของการบูร

การใช้ประโยชน์จากการบูรมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากการบูร มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินการบูร เนื่องจากจะเป็นพิษ
  • สำหรับคนที่อยู่ในภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด ป่วยโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งและแห้ง ไม่ควรกินการบูร เพราะ จะทำให้ไม่หาย
  • การบูรที่มีสีสีเหลืองและสีน้ำตาล ห้ามกิน เนื่องจากเป็นพิษ
  • การกินการบูรในปริมาณเกิน 0.5 กรัมจะทำให้เวียนหัว แสบร้อนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง เป็นอันตรายถึงชีวิต

แหล่งอ้างอิง

  • The Merck Index, 7th edition, Merck & Co., Rahway, New Jersey, 1960
  • Handbook of Chemistry and Physics, CRC Press, Ann Arbor, Michigan, USA
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0096”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
    “Camphor (synthetic)”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). 4 December 2014. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  • Mann JC, Hobbs JB, Banthorpe DV, Harborne JB (1994). Natural products: their chemistry and biological significance. Harlow, Essex, England: Longman Scientific & Technical. pp. 309–11. ISBN 978-0-582-06009-8.
  • “การบูร ไม้หอมมากประโยชน์ สร้างรายได้น่าลงทุน”. kaset.today.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย