รังนกนางแอ่นต้มกับน้ำตาลกรวดได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารบำรุงชั้นยอดของฮ่องเต้ แพทย์จีนใช้รังนกรักษาโรคทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงสุขภาพเด็ก สตรีและคนชรา ช่วยบำรุงผิว

รังนกนางแอ่น สมุนไพร สมุนไพรไทย

รังนกนางแอ่น เกิดจากการสำรอกน้ำลายและของเหลว ที่มีลักษณะเหนียวข้น เพื่อสร้างรัง เมื่อน้ำลายของนกนางแอ่นโดนลมก็จะแข็งตัว เป็นรังนกขึ้นมา นกนางแอ่นจะสร้างรัง 3 ครั้งในหนึ่งปี ซึ่งสรรพคุณของรังกนในการสร้างแต่ละครั้งให้คุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • รังนกที่ได้จากการสร้างครั้งที่ 1 เป็นรังนกที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด เพราะ มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด นกจะสะสมอาหารไว้สำหรับบำรุงร่างกาย สำรอกน้ำลายออกมา จะมีลักษณะ สีขาว เหนียวข้น ไม่มีขนเจือปน
  • รังนกที่ได้จากการสร้างครั้งที่ 2 สำหรับการสร้างรังครั้งที่สอง เมื่อถูกคนมาเก็บรังนกไป นกจะรีบสร้างรังขึ้นมาใหม่ ซึ่งในครั้งนี้นกมีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์เท่าครั้งแรก ความข้นของน้ำลายน้อยกว่าเดิม อาจมีขนอ่อนเจือปน รังนกจะมีลักษณะหยาบ และมีสีดำ ปน
  • รังนกที่ได้จากการสร้างรังครั้งที่ 3 เมื่อรังนกถูกคนเก็บ นกจะรีบสร้างรังขึ้นมาใหม่ รังนกครั้งที่สามจะมีสีแดง ซึ่งเกิดจากสภาพของร่างกายและอาหาร

ชนิดของรังนกนางแอ่น

สำหรับรังนกนางแอ่น สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณภาพและราคาที่แตกต่างกัน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รังแรก คือ รังนกนางแอ่นครั้งแรกของปี สามารถเก็บรังนกนางแอ่นได้ ช่วงเดือนมีนาคม ถือเป็นรักนกที่สมบูรณ์และคุณภาพดีที่สุด
  • รังนกที่กลายเป็นหิน คือ รังนกในถ้ำที่ถูกทิ้งไว้ไม่มีใครเก็บ จนกลายเป็นหิน
  • รังนกแดง คือ รังนกที่เกิดจากการทำปฏิกริยาทางเคมีบางประการ ทำให้รังนกเป็นสีแดง ซึงหลายคนเชื่อว่านกนางแอ่น แร่งสำรอกน้ำลายจนมีเลือดปนออกมา
  • รังนกสีทอง คืิอ รังนกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้รังนกมีลักษณะสีทอง เป็นรังนกที่ราคาแพง และ หายากมาก
  • รังนกบ้าน คือ รังนกที่ถูกสร้างขึ้นมา ในบ้าน เป็นรังนกเลี้ยง คุณภาพรังนกบ้านด้อยกว่ารังนกที่ได้จากธรรมชาติ

สำหรับรังนกนั้นมีหลายชนิด แต่ในปัจจุบันมีรังนกปลอมขาย ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อ เพราะ การบริโภครังนกปลอมไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย

รังนกที่ดี มีคุณภาพที่สุด จะอยู่แถบทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ทะเลแถบมณฑลไห่นาน ประเทศจีน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนากการของรังนกนางแอ่น

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของรังนกนางแอ่น ซึ่งนักโภชนาการศีกษาคุณค่าทางอาหารของรังนกสีขาวและรังนกสีแดง ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของรังนกนางแอ่นสีขาว ขนาด 100 กรัม มีความชื้น 17.8% มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบโฮเดรต 22.3% โปรตีน 52.8%  กากใยอาหาร 0.08% โซเดียม 1572.1 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 11.5 มิลลิกรัม แคลเซียม 814 มิลลิกรัมต ธาตุเหล็ก 11.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทองแดง 3.81 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สังกะสี 1.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ แมงกานีส 1.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของรังนกนางแอ่นสีแดง ขนาด 100 กรัม มีความชื้น 17.8% มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบโฮเดรต 22.3% โปรตีน 52.8%  กากใยอาหาร 0.08 % โซเดียม 1282.5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 28.7 มิลลิกรัม แคลเซียม 1569.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 36.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทองแดง 3.81 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สังกะสี 2.58 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ แมงกานีส 11.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

สรรพคุณของรังนกนางแอ่น

รังนกนางแอ่น มีสรรพคุณด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดย รังนกนางแอ่นทำให้ร่างกายให้สดชื่น แข็งแรง แก้ไอ ขับเสมหะ กินรังนกนางแอ่นเป็นประจำทุกเช้า ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ประโยชน์ของรังนกนางแอ่น มีรายละเอียด ดังนี้

  • รังนกนางแอ่น มี EGF ( EPIDERMAL GROWTH FACTOR ) สรรพคุณช่วยในการซ่อมผิวหนัง และ กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ดูอ่อนวัย เป็นยาอายุวัฒนะ
  • รังนกนางแอ่นมี GLYCOPROTEIN สรรพคุณช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาว ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • รังนกนางแอ่น มี NANA ( N – Acetylneuraminic acid ) สรรพคุณช่วยบำรุงปอด บำรุงหลอดลม บำรุงระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการหวัดและภูมิแพ้
  • รังนกนางแอ่น มีสรรพคุณ ช่วยเพิ่มพลัง กระตุ้นความอยากกินอาหาร ช่วยเจริญอาหาร บำรุงไขกระดูก รักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง
  • รังนกนางแอ่น ช่วยขับระบายความร้อน

รังนก คือ รังของนกนางแอ่น ถูกสร้างจากน้ำลายของนกนางแอ่น นกนางแอ่นจะสร้างรัง 3 ครั้งในหนึ่งปี รังนกนางแอ่น นิยมนำมาทำอาหาร สรรพคุณของรังนกนางแอ่น ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ เป็นยาอายุวัฒนะ สมุนไพรไพรจากสัตว์ สมุนไพรจากนก 

แหล่งอ้างอิง

  •  Adrain, Y. Edible bird’s nest industry in Malaysia. 2004 [online] [cited 21 July 2004]., available from http://www.tradezone.com/tradesites/birdsnest.html เก็บถาวร 2005-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Davidson, Robert L. Handbook of water-soluble gims and resins. New York : McGraw-Hill, 1980, p 2-13.
  • Thai Swallow bird’s nest Co.Ltd. Certificate of analysis edible bird’s nests. Ref.no 8701/90/36 /92/3 Issued by Schaller, R. dated June 10, 1954. Bangkok : Laboratory and Office, 1954
  • รายงานสำรวจโภคกิจตามชนบทประเทศสยาม พ.ศ. 2473-2474 ฉบับที่ 6, เมษายน, 2473 ถึงมีนาคม 2474, พระนคร ซ โรงพิมพ์บางกอกไตม์ จำกัด, 2474, หน้า 19-20 เกาะสี่ เกาะห้า. 2004.
  • สำนักคณะกรรมการอาหารและยา, พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร ซ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2545. หน้า 1,7,11,355.
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมอาหาร งานควบคุมมาตรฐาน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. กรุงเทพฯ ; กระทรวงสาธารณสุข, 2530 หน้า 1
  • (Kong Y.C., Tsao S.W., Song M.E. and Ng M.H. Potentiated of mitogenic response by extracts of the swiftlet’s (Apus) nest collected from Huai-Ji, Acta Zoologica Sinica. 1989; 35: 429-35)
  • (Kong Y.C. et al. Evidence that Epidermal Growth Factor is present in swiflet’s (Collocalia) nest. Comp. Biochem. Physiol 1987;87B(2):221-226)
  • (Kong Y.C. et al. Potentiation of mitogenic response by extract of the swiftlet’s (Collocalia) nest. Biochem Intern 1986;13:521-531)
  • (Chi Che Wang. Amino Sugar of Edible Birds’ Nests. The isolation and the nature of the amino sugar of Chinese edible bird’s nests. P441-452)
  • (Genus collocalia). The Journol of Biological Chemistry. 1987, Vol.262, No. 14, Issue of May 15, pp. 6650-6657. Lee T.H. and Kamini N. Edible Bird’s Nest: A Potential Product Breakthrough. Institute of Bioproduct Development Universiti Teknologi Malaysia.)

น้ำตาล ( Sugar ) สารให้ความหวานสกัดจากธรรมชาติ เช่น ต้นตาล ต้นอ้อย มะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ ให้พลังงานต่อร่างกาย โทษของน้ำตาลมีอะไรบ้าง

น้ำตาล สมุนไพร สมุนไพรไทย

การบริโภคน้ำตาลของโลก น้ำตาลเป็นส่วนสำคัญของอาหารมนุษย์ และเป็นแหล่งให้พลังงานของโลก หลังจากธัญพืชและน้ำมันพืช น้ำตาลที่ได้จากอ้อยและหัวผักกาดให้กิโลแคลอรีต่อหัวเฉลี่ยวันละกว่ากลุ่มอาหารอื่น ๆ จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO ค่าเฉลี่ยของการบริโภคน้ำตาลต่อคนคือ 24 กิโลกรัมต่อปีต่อคน เทียบเท่ากับพลังงานกว่า 260 แคลอรี่อาหารต่อวันในปี 1990 แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์การบริโภคน้ำตาลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.1 กิโลกรัมต่อคนต่อปีในปี 2015

ประเภทของน้ำตาล

น้ำตาล เป็นสารให้ความหวาน ซึ่งน้ำตาลได้จากการสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งมีหลายประเภท โดยประเภทของน้ำตาล มีดังนี้

  • น้ำตาลทรายดิบ ( Raw Sugar ) จะมีสีน้ำตาลเข้ม มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ ยังไม่สะอาด เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลทรายขาว
  • น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง ( High Pol Sugar ) คือ น้ำตาลที่สามารถนำไปบริโภคได้โดยตรง สีของน้ำตาลเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล ซึ่งผ่านกระบวนการทำให้น้ำตาลบริสุทธิ์บางส่วน น้ำตาลชนิดมีราคาถูกกว่าน้ำตาลทรายขาว
  • น้ำตาลทรายขาว ( White Sugar ) คือ น้ำตาลลักษณะเป็นเม็ดละเอียดเหมือนทราบสีขาว เป็นน้ำตาลที่ผ่านการสกัดเอาสิ่งเจือปนออก เป็นน้ำตาลที่นิยมใช้บริโภค
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ( Refined Sugar ) คือ มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาวใส เป็นน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการผลิตทำให้น้ำตาลบริสุทธิ์ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาล เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นต้น
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษ ( Super Refined Sugar ) คือ น้ำตาลที่สกัดพิเศษมีความบริสุทธิ์สูง ใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาลที่มีความบริสุทธิ์มาก ๆ
  • น้ำตาลปี๊บ ( Paste Sugar ) คือ น้ำตาลที่เคี่ยวจนเข้มข้น แล้วนำไมาทำให้น้ำตาลแข็งตัวโดยใช้ลมเย็น
  • น้ำตาลทรายแดง ( Brown Sugar ) คือ น้ำตาลทรายที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี
  • น้ำเชื่อม ( Liquid Sugar ) คือ น้ำตาลผสมน้ำ เป็นของเหลวที่มีความหวาน นิยมนำมาใช้เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิตต่าง ๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
  • น้ำตาลแร่ธรรมชาติ ( Mineral Sugar ) คือ น้ำตาลที่ผสมคาราเมล ซึ่งได้มาจากการเคี่ยวน้ำตาลกับเอโมลาส
  • กากน้ำตาล ( Molasses ) คือ น้ำตาลที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สุรา ผงชูรส น้ำส้มสายชู เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาล

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของน้ำตาลทรายขาว และ น้ำตาลทรายแดง โดยพบว่ามีสารอาหารต่างๆ มากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายขาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 387 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 99.98 กรัม น้ำตาล 99.80 กรัม น้ำ 0.02 กรัม วิตามินบี2 0.019 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.01 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 380 กิโลแคลอรี่ พบว่าให้สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรต 98.09 กรัม น้ำตาล 97.02 กรัม น้ำ 1.34 กรัม วิตามินบี3 0.110 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม วิตามินบี9 1 ไมโครกรัม แคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม โซเดียม 28 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.03 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของน้ำตาล

การใช้ประโยชน์จากน้ำตาล นั้น ส่วนมาก ใช้เป็นสารในการปรุงแต่งรสชาติของอาหาร ให้ความหวาน โดยประโยชน์ของน้ำตาล มีมากกว่าการนำมาปรุงรสชาติ แต่มักเป็นประโยชน์ด้านอาหาร สรุปประโยชน์ของน้ำตาล มีดังนี้

  • น้ำตาลให้ความหวาน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น มีกำลัง
  • การทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ต้องการพลังงานที่มาจากน้ำตาล กลูโคส ( glucose ) คือ แหล่งอาหารที่จำเป็นต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ
  • น้ำตาลช่วยในการถนอมอาหาร และ ใช้หมักอาหารได้

สรรพคุณของน้ำตาล

สำหรับสรรพคุณของน้ำตาล ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกายนั้น ประกอบด้วย

  • น้ำตาลมีรสหวาน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  • น้ำตาลช่วยดับร้อน ถอนพิษ แก้อาการอักเสบ
  • ช่วยรักษาปากเป็นแผล
  • น้ำตาลช่วยแก้เจ็บคอ รักษาอาการไอมีเสมหะ
  • น้ำเชื่อมสามารถใช้เป็นยารักษาบาดแผลเน่าเปื่อยได้ ทำให้เซลล์ผิวหนังถูกกระตุ้น ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • น้ำตาลช่วยแก้ปวด
  • สำหรับสตรีมีอาการปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อย ประจำเดือนมีลิ่มเลือด ดื่มน้ำผสมกับน้ำตาลทรายแดงอุ่นๆ จะทำให้สบายตัวมากขึ้น

โทษของน้ำตาล

สำหรับการกินน้ำตาล ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม หากกินน้ำตาลมากเกินไป จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยโทษของ

  • ความหวานของน้ำตาล หากเกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไป จะทำให้น้ำตาลสะสมในเลือด ส่งผลต่อโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทำให้ฟันผุ ฯลฯ[1]
  • น้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ทำให้ตับอ่อนทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน เสื่อมสมรรถภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป จะเป็นตัวเร่งการขับแร่ธาตุโครเมียมออกจากร่างกาย ผ่านทางไต ซึ่งแร่โครเมียม เป็นแร่ธาตุเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน สารที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • น้ำตาลที่สะสมในร่างกาย จะถูกเก็บไว้ที่ที่ตับ หากมีปริมาณมากเกินไปตับจะส่งไปยังกระแสเลือด และ เป็นกรดไขมัน เพื่อนำไปสะสมในร่างกาย ส่วนที่เคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น หน้าท้อง ขาอ่อน เป็นต้น
  • น้ำตาลทำให้เลือดมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่สมดุล
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป เร่งให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน สิว ผื่น ตกกระ ตะคริวในช่วงมีรอบเดือน แผลพุพอง แผลริดสีดวงทวาร มะเร็งตับ เบาหวาน โรคหัวใจ วัณโรค
  • น้ำตาลที่สะสมในช่องปาก เป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรีย ทำให้เกิดฟันผุ
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงนอน

น้ำตาล ( Sugar ) คือ สารที่ให้ความหวาน ซึ่งได้จากการสกัดจากธรรมชาติ เช่น ต้นตาล ต้นอ้อย มะพร้าว ประโยชน์ของน้ำตาล สรรพคุณของน้ำตาล ช่วยบำรุงกำลัง และ ให้พลังงานต่อร่างกาย โทษของน้ำตาล มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • “Food Balance Sheets”. Food and Agriculture Organization of the United Nations. 2007.
  • “World agriculture: towards 2015/2030”. Food and Agriculture Organization of the United Nations. ISBN 92-5-104761-8.
  • Welsh, Jean A.; Andrea J Sharma; Lisa Grellinger; Miriam B Vos (2011). “Consumption of added sugars is decreasing in the United States”. American Journal of Clinical Nutrition. 94. American Society for Nutrition. 726–734. สืบค้นเมื่อ January 18, 2014.
  • “Sugar: World Markets and Trade” (PDF). United States Department of Agriculture: Foreign Agriculture Service. May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-07.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย