หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง พบบ่อย ในกลุ่มคนำงานออฟฟิต ปวดหลังแปร็บๆ รักษาอย่างไร

หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ เกิดอาหารปวดคอ ปวดหลัง และปวดตามร่างกายหลายๆจุดตามเส้นประสาทที่ถูกกระดูกกดทับ ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายผิดท่าผิดทาง เช่น ก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟน นั่งทำงานนานๆ หรือยกของหนัก เป็นความเสี่ยงในการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทต่างๆจากอาการปวดแบบทั่วไป ซึ่งสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ อาการปวดที่ตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดบ่อยในคน 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุมากกว่า 40 ปี และกลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อม หากออกแรงหรือใช้แรงมากๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทได้ในทันที
  2. กลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก คนกลุ่มนี้ใช้ร่างกายหนัก โลดโผน ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่าย รวมถึงกลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนวัยทำงาน การนั่งทำงานนานๆเป้นสาเหตุของการเคลื่อนของกระดูกสันหลังทับส้นประสาทได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะการกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง เป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อยมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ เมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ หลายๆชั่วโมงในแต่ละวัน มักพบว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนมากพบในวัยทำงาน 30 ปีขึ้นไป

สาเหตุการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้น สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นจนไปไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการอักเสบของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดตรงเส้นประสาท ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลัง ( Intervertebral Disc ) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลางจะมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายเจลลี่ ส่วนที่อยู่โดยรอบ มีลักษณะเหนียวและหนาคล้ายเอ็น และ ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อน ซึ่งทั้ง 3 ส่วน มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวและรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง

หากกระดูกสันหลังถูกใช้งานหนัก ใช้งานผิดท่า รับน้ำหนักมากเกินไป หรือเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นออกมาจนไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้

  • การได้รับการกระทบกระเมือนจากแรงกระแทก แรงอัด เช่น จากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬาที่มีการปะทะ
  • การนั่งนานๆ ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ
  • การทำงานที่ต้องก้มบ่อยๆ
  • การทำงานที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ
  • น้ำหนักตัวมาก ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเลื่อนของกระดูกสันหลัง

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับอาการของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก แบ่งอาการต่างๆได้ดังนี้

  • อาการปวดช่องเอว อาการปวดเอวเป็นๆหายๆ
  • ก้ม เงย นั่งนานๆ มักจะมีอาการปวดมาก
  • ปวดร้าวลงมาที่ขา น่อง เท้า
  • อาการปวดช่องคอจนลามไปถึงแขน
  • อาการชาที่มือและปลายนิ้ว
  • อาการปวดร้าวที่แขน
  • ปวดคอ สะบักเรื้อรัง
  • เคลื่อนไหวผิดปกติ

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับแนวทางการรักษาสามารถทำได้ด้วยการรักษาตั้งแต่การลดน้ำหนัก การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาโรค และ ผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาของแพทย์

  • ลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง ปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เป็นสาเหตุของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่เร็วกว่าปรกติ เพื่อไม่ให้ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเป็นมากกว่าเดิม และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • การทำกายภาพบำบัด สำหรับอาการหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาทที่ไม่รุนแรงมากนัก คือ การทำกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการปวดของร่างกาย
  • การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการดำรงชีวิตจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น  แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

แนวทางการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • อย่าปิดตัวแรงๆเพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกหลุดเพิ่มขึ้นได้
  • เมื่อจำเป็นต้องยกของหนักควรย่อเข่าแล้วยก ไม่ควรยกโดยการก้ม หรือ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรยกของหนักเลย
  • เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ ควรลุกเดินบ้าง สลับกันไป
  • ควรมีหมอนหนุนหลังในเก้าอี้ที่ทำงาน
  • เวลาลุกจากจากการนอนให้ค่อยๆลุก หรือ นอนคว่ำแล้วใช้แขนดันให้ลุกขึ้น
  • ลดหมอนให้เตี้ยลง
  • นอนตะแคงมากขึ้น
  • พบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำ
  • เมื่อมีอาการชา ตามมือ ตามเท้า ให้ปรึกษาแพทย์เพราะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อความเสี่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและท้อง ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม
  • งดยกของหนักหากไม่จำเป็น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากน้ำหนักเกินให้ลดน้ำหนัก
  • อย่านั่งนานๆ ให้ยืน เดิน สลับกันไป

โรคซีพี โรคสมองพิการ ( Cerebral palsy ) ภาวะสมองพิการโดยกำเนิด ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย การทรงตัว และ ใบหน้าผิดรูป สาเหตุ อาการของโรค การดูแลผู้ป่วยทำอย่างไร

โรคซีพี โรคสมองพิการโดยกำเนิด การรักษาโรค

โรคซีพี หรือ โรคสมองพิการCerebral palsy ) ย่อว่า CP คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก เป็นโรคที่เกิดตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้มีีความผิดปรกติอย่างชัดเจน ด้านการควบคุมร่างกาย การทรงตัว ใบหน้าผิดรูป เด็กที่เป็นโรคซีพีจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดแปลก ผิดปกติจากเด็กทั่วไปสังเกตุได้ชัดเจน การขยับแขนขา การทรงตัว ใบหน้า ผิดปกติ ซึ่งส่วนมากแล้วเด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีสติปัญญาดีปกติและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาสติปัญญาด้อยกว่าคนปกติ

เด็กที่เป็นโรคซีพีมักจะมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า แล้วเราจะสังเกตุได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคซีพีหรือไม่

การสังเกตุอาการเด็กโรคซีพี

สำหรับในวัยเด็กแรกเกิด โรคซีพีสังเกตุอาการได้ยาก ต้องอาศัยเวลาและการสังเกตุพัฒนาการของเด็ก เด็กซีพีมักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติ เช่น เด็กอายุ 3 ถึง 4 เดือน แล้วคอยังไม่แข็ง มีอาการคอพับคออ่อน พัฒนาการด้านการเดินช้ากว่าเด็กปรกติ เด็ก

สาเหตุการเกิดโรคซีพี

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคซีพี มีหลายสาเหตุซึ่งเป็นการเกิดตั้งแต่ในครรภ์มารดา สามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

  • การขาดออกซิเจนขณะคลอดนานเกินไป ทำให้สมองเซลล์สมองเสียหายตั้งแต่แรกคลอดส่งผลต่อการพัฒนาเมื่อโตขึ้น จนแสดงอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา
  • การติดเชื้อสมองหลังจากคลอด เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองบางส่วนถูกทำลาย และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่มาทดแทนได้
  • การเสียหายของสมองในช่วง 2 ปีแรกหลังการเกิด เพราะการพัฒนาของสมองจะเร็วที่สุดในช่วง 2 ปีแรก หากเสียหายแต่ต้นจะทำให้การพัฒนาสมองผิดปกติไปหมด ส่งผลต่อการพัฒนาของร่างกาย
  • เมื่อสมองเสียหายแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้ จึงไม่สามารถสั่งการให้กล้ามเนื้อตอบสนองได้ดี เมื่อแขนขาขยับได้ไม่ดีส่งผลต่อกระดูกไม่สามารถยืดขยายได้ตามอายุ จึงทำให้ร่างกายผิดปกติ

ปัญหาของเด็กที่มีปัญหาโรคซีพี

สำหรับเด็กที่มีโรคซีพีจะมีปัญหาต่างๆมากมายที่งร่างกาย สังคม และ พัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาของเด็กที่มีอาการโรคซีพี มีดังนี้

  • ภาวะระดับสติปัญหาต่ำกว่าปรกติ ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีปัญหา เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กกลุ่มนี้มักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
  • ปัญหาด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด ผู้ป่วยโรคซีพีมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องต่างๆได้
  • ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากการเคลื่อนไหวไม่ได้ตามที่ต้องการ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • อาการโรคลมชัก เราพบว่าร้อยละ 20 ถึง 50 ของผู้ป่วยโรคซีพี มักมีอาการชักร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการมองเห็น ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น เช่น ตาเหล่ ไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก ( nystagmus ) ร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการได้ยิน ผู้ป่วยโรคซีพีอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยิน เนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง ทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง
  • ปัญหาด้ารการสื่อความหมาย ผู้ป่วยโรคซีพีจะมีความบกพร่องทางด้านภาษา ไม่สามารถเลียนแบบเสียง ทำให้มีความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ
  • ปัญหาด้านกระดูก ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหว อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis )
  • ปัญหาด้านฟันและร่องปาก ผู้ป่วยโรคซีพีมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก ถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปาก อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้

อาการของโรคซีพี

อาการผิดปรกติจะเป็นตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักพบความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี โดยสังเกตได้จากเด็กมีท่านอนที่ผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง ซึ่งจำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ โดยอาการผิดปรกติสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแข็งเกร็ง กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวเอง และ กลุ่มอาการผสมกัน ลักษณะอาการดังนี้

  • อาการโรคซีพี กลุ่มแข็งเกร็ง ( spastic ) เป็นอาการที่พบมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อมีการตึงตัวมากกว่าปกติ อาการเกร็งทำให้ร่างกายผิดปกติ มีหลายรูปแบบ คือ
    • อาการเกร็งแบบครึ่งซีก คือ มีอาการเกร็งของแขนและขาข้างเดียวกัน ( spastic hemiplegia ) ลักษณะผิดปกติชัดเจนคล้ายผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
    • อาการเกร็งครึ่งท่อน คือ มีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง( spastic diplegia ) เกร็งแค่ครึ่งตัวส่วนมากพบขาเกร็งมากกว่าแขน
    • อาการเกร็งทั้งตัว คือ มีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง
  • อาการโรคซีพี กลุ่มเคลื่อนไหวเอง เป็นอาการเคลื่อนไหวเองของผู้ป่วย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการกล้ายเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ และ อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกง่าปรกติ ดังนี้
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ เรียก อะธีตอยด์ ( athetoid ) ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ บางรายคอเอียง ปากเบี้ยว
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกว่าปรกติ เรียก อะแทกเซีย ( ataxia ) ทำให้มีปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน เกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
  • อาการโรคซีพี กลุ่มอาการผสมกัน ( mixed type ) คือ มีอาการทั้งเกร็ง และ กล้ามเนื้อผิดปรกติ พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง

การรักษาโรคซีพี

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ เนื้อสมองเมื่อเสียไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับมาได้ สิ่งที่ทำได้คือการฟื้นฟู การบรรเทาอาการ เช่น การที่เส้นยึด เส้นตรึง กล้ามเนื้อลีบ ควรทำหารขยับ การยืด การบริหารทุกวัน ให้กล้มเนื้อมีความยืดหยุ่น ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูจิตใจ การปรับตัวเข้ากับสังคม ยอมรับตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเอง แรวทางการรักษา สามารถแบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด จะเร่ิ่มรักษาตั้งแต่แรกเกิด ไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติของแต่ละคน โดยโปรแกรมการรักษาจะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อ ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้ และ การใช้เครื่องช่วยเพื่อจัดท่าทาง
  • การรักษาโดยใช้กิจกรรมบำบัด เช่น การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ
  • การรักษาเพื่อแก้ไขการพูด ฝึกให้สามารถออกแรงกล้ามเนื้อในการพูดให้สามารถพูดได้เป็นปรกติมากที่สุด
  • การรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีด โดยยาใช้รักษาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เพ่ือลดความตึงของกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ ผ่าตัดกระดูก เป็นต้น ซึ่งการรักษาต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสม
  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses-AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) รองเท้าตัด เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • เด็กควรได้รับการฟื้นฟู ทั้งทางกายภาพคือ การขยับแขนขาร่างกาย การฝึกเดิน ฝึกทำกิจวัตรประจำวันเอง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูทางด้านจิตใจ การฝึกการเข้าสังคม การเตรียมความพร้อมในการเรียน การฝึกอาชีพ
  • การฟื้นฟูและฝึกต่างๆควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ควรเกินอายุ 7 ปี เนื่องจากหลังจาก 7 ปีแล้วสมองจะเจริญได้ช้ามาก ทำให้การฝึก การฟื้นฟูที่ทำหลังจากอายุ 7 ปีจะทำได้ล่าช้ามาก
  • การดุแลเด็กที่เป็นโรคซีพีจะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะต้องหยิบจับได้ง่าย ไม่มีคม ทางเดินควรมีทางลาด ไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้การเดินการขยับต่างๆทำได้อย่างปลอดภัย และให้เด็กค่อยๆปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมปกติ
  • การกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเข้าสังคม การมีเพื่อนในวัยเดียวกัน การทำควมเข้าใจสังคมภายนอกบ้าน ควรพาเด็กออกไปพบปะผู้คน สังคมภายนอกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้การปรับตัว
  • การฝึกพื้นฐานต่างๆ เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่ายเอง ควรฝึกให้เป็นตั้งแต่เด็ก ทั้งยังได้ประโยชน์จากการฝึกกล้ามเนื้ออีกด้วย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย