โรคเท้าช้าง ( Filariasis ) ติดเชื้อจากพยาธิตัวกลมที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ทำให้เกิดการอักเสบที่ท่อน้ำเหลือง เกิดอาการบวมที่รักแร้ อัณฑะ ขา กินยาฆ่าเชื้อรักษาได้

โรคเท้าช้าง โรคติดเชื้อ

โรคเท้าช้าง ( Filariasis ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย ที่มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ท่อน้ำเหลือง จนทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมที่ขา แขน หรืออวัยวะเพศ สำหรับพยาธิตัวกลมที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้าง เกิดจาก พยาธิตัวกลม 3 ชนิด ดังนี้

  • Brugia Malayi พบน้อย ในประเทศไทย มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง
  • Brugia Timoli พบน้อย ในประเทศไทย
  • Wuchereria Bancrofti เป็นชนิดที่ มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น  จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด) จังหวัดระนอง (อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง) เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า (Aedes niveus group) เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่

พยาธิตัวกลม นั้นจะอาศัยอยู่มาก หรือ ดำรงชีวิตได้ดีใน น้ำเหลืองของคน ในร่างกานคน โดย จะมี ยุงเป็นตัวพาหะนำโรค การติดต่อจะพบได้มากในเด็ก เพราะ ไม่สามารถป้องกันยุงกันได้ดีพอ และ ภูมิต้นทานยังน้อย เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ แต่ อาการเจ็บปวด และ การแสดงออกของ โรคเท้าช้าง จะเกิดขึ้นมาก กับคนในวัยทำงาน คือ อายุ 30 ปีขึ้นไป เนื่องจาก การเพาะเชื้อจะใช้เวลาค่อนข้างนาน กว่าพยธิจะมีจำนวนมากพอ จนก่อให้เกิดโรค การอุดตันของ ระบบน้ำเหลืองภายในร่างกาย

สาเหตุการเกิดโรคเท้าช้างเกิดจากอะไร

โรคเท้าช้างเกิดจากเชื้อโรคจากพยาธิตัวกลมที่มีภาหะนำโรคจากยุง เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างระยะที่ติดต่อกัดคน เชื้อโรคจะอยู่บริเวณผิวหนังและไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเจริญเติบโตจนเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 3 ถึง 9 เดือน เมื่อพยาธิผสมพันธุ์และเจริญเติบโตในร่างกาย ทำให้ไมโครฟิลาเรียเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าไป ทำให้ท่อน้ำเหลืองอักเสบและอุดตัน

  • หนอนพยาธิตัวกลม ที่อาศัย และ เพิ่มจำนวนได้ดี ในระบบน้ำเหลือง ของร่างกายมนุษย์ สามารถติดต่อกันได้ โดยต้องอาศัยพาหะนำโรค
  • ยุงตัวเมีย ที่มีเชื้อหนอนพยาธิตัวกลม เป็นพาหะโรคเท้าช้าง ภายในจะมีตัวอ่อน ที่มาจากการกัดดูดเลือดคนที่ป่วยโรคนี้ และ ไปกัดดูดเลือด ทำให้เชื้อตัวอ่อน ของหนอนพยาธิตัวกลม เข้าสู่ระบบเลือด และ น้ำเหลือง เจริญและเพิ่มจำนวน จนก่อให้เกิดโรคในที่สุด
  • สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย หากอยู่ในชุมชนแออัด ที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จะทำให้มีโอกาส เสี่ยงสูงมากขึ้น ที่จะป่วยโรคนี้

อาการของผู้ป่วยโรคเท้าช้างเป็นอย่างไร

เมื่อถูกยุงที่มีเชื้อโรคกัด จะเริ่มมีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด ต่อมาจะเกิดระยะติดต่อ เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างระยะติดต่อกัดคน เชื้อจะเคลื่อนตัวออกจากส่วนปากของยุงมาที่บริเวณผิวหนัง ไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเข้าไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง มีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงมากัดก็จะรับเชื้อตัวอ่อนเข้าไปและเจริญเป็นพยาธิระยะติดต่อภายใน 1-2 สัปดาห์

  • ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เกิดจาก การอักเสบของท่อน้ำเหลืองที่รักแร้ อัณฑะ หรือ ขาหนับ เนื่องจากพยาธิมีจำนวนมาก มาอุดตัน
  • ระยะถัดมา ผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองจะบวม ขนาดเปลี่ยนไป ใหญ่ขึ้นเห็นได้ชัดเจน ถ้ากดตรงที่บวมจะบุ๋มลง นิ่ม ไม่เด้งคืน
  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิ เป็นเวลานาน 5-10 ปี โดยไม่รักษา หรือ ไม่รู้ตัว จะเกิดภาวะเท้าช้าง และ พิการได้ถาวร คือ ขาจะโต มีอาการบวม ตั้งแต่เข่าลงไป หรือ อาจจะมีอาการบวมที่แขน ตั้งแต่ข้อศอกลงไป ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายเท้าช้าง จึงเรียกว่า โรคเท้าช้าง
  • ผู้หญิง อาจจะพบการบวม บริเวณปากช่องคลอดได้ หรือ บริเวณหน้าอก อาการทุกข์ทรมาน ดำรงชีวิตได้ไม่ปกติสุข
  • ผู้ชาย อาจจะพบการคั่งของน้ำเหลืองในอัณฑะ และ ปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น หนองปะปนออกมา เจ็บปวด ทรมาน

แนวทางการวินิจฉัยโรคเท้าช้างทำอย่างไร

  • การตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจแขนขา ที่บวม การจับต่อมน้ำเหลือง เพื่อ ดูอาการปวม สอบถามโรคประจำตัว ยารักษาที่ใช้อยู่ อาชีพ ที่อยู่อาศัย ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค
  • การตรวจหาแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทานของเชื้อหนอนพยาธิ ซึ่งจะเป็นการตรวจจากเลือด ในผู้ป่วย ที่ติดเชื้อจะตรวจพบหนอนเจอ 100%
  • การตรวจหาตัวหนอนพยาธิ โดย ทำการเจาะเลือดไปหาตัวอ่อน ด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • สามารถใช้เครื่องอันตราซาวน์ สามารถเห็นการไหลเวียนของเลือด จะเห็นพยาธิตัวเต็มไว

การรักษาโรคเท้าช้างทำอย่างไร

  • แพทย์จะให้ทานยา Albendazole ร่วมกับ Hetrazan เพื่อฆ่าเชื้อพยาธิ
  • แพทย์จะให้ทำความสะอาดบริเวณที่มี อาการโรคเท้าช้าง ร่วมกับ การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการใช้งาน แขนขา โดยจะนวดตรงที่บวม เพื่อ จะเพิ่มอัตราการไหลเวียนของน้ำเหลือง
  • ผู้ป่วยบางราย ทีมีอาการรุนแรง บวมมาก แพทย์อาจจะพิจารณาให้ผ่าตัด

เราป้องกันโรคเท้าช้างได้อย่างไร

  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดย ทายากันยุง นอนในมุ้ง หรือ นอนห้องมุ้งลวด
  • กำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามแหล่งน้ำต่างๆ บริเวณบ้าน ไม่ให้มีน้ำขัง
  • คนที่อยู่ในแหล่ง ที่มีการระบาดของ โรคเท้าช้าง ควรกินยาป้องกัน ได้แก่ Diethylcarbamazine ( DEC ) โดย สามารถติดต่อรับยาได้ที่ หน่วยรักษาพยาบาลใกล้บ้าน สถาณีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน

การป้องกันโรคเท้าช้างที่สำคัญ คือ ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด โดยการ นอนในมุ้ง ทายากันยุง การใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เป็นต้น นอกจากนั้นต้องควบคุมและกำจัดยุงที่เป็นพาหะของโรค โดย กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ กำจัดวัชพืช และพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำยุงลายเสือ เป็นต้น สำหรับเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคสูง วิธีที่ช่วยลดการแพร่กระจายของโรคได้ดี คือ การให้ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของโรคเท้าช้างกินยาฆ่าเชื้อหนอนพยาธิ

ไข้ทับระดู อาการปวดท้องและมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน เกิดขึ้นกับสตรีโดยทั่วไป บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปวดท้องแบบไหนปรกติ แบบไหนไม่ปรกติ

ไข้ทับระดู โรคสตรี

คำว่า ระดู หมายถึง เลือดประจำเดือนของสตรี

ไข้ทับระดู ( Period Flu ) คือ อาการมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน ผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนแอลง เนื่องจากการขับเลือดของร่างกาย ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อน้อยลง ช่วงมีประจำเดือนทำให้มีโอกาสติดเชื้อจึงง่ายกว่าปกติ ไข้ทับระดูในอดีต อาจดูเป็นโรคน่ากลัวสำหรับผู้หญิง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย ควมรุนแรงของโรคน้อยลงมาก

ประเภทของไข้ทับระดู

สำหรับการแบ่งประเภทของโรคไข่ทับระดู มี 2 ประเภท คือ ไข้ทับระดูที่ไม่มีภาวะอื่นแอบแฝง และ ไข่ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  •  ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง ลักษณะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด อ่อนเพลีย สามารถรับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการได้
  •  ไข้ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง ลักษณะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดหลัง ปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีตกขาวผิดปรกติร่วมด้วย

สาเหตุของโรคไข้ทับระดู

สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการไข้ทับระดู ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นไข้หวัดธรรมดาและไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่สำหรับสาเหตุอื่นๆ สามารถสรุปสาเหตุต่างๆได้ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน อาจเกิดจาก เชื้อหนองใน หรือ เชื้อคลามัยเดีย
  • ภาวะหลังคลอดของผู้ป่วยบางคน มักจะเกิดจาก ตัวของเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ เป็นปกติวิสัยในช่องคลอดกระตุ้นให้ เชื้อโรคนั้นเจริญขึ้น จนเกิดเป็นโรคได้
  • อาจเกิดจากการแปดเปื้อนเชื้อโรคจากภายนอกช่องคลอด เข้าไปสู่ช่องคลอด และ มดลูกได้
  • อาจเกิดจากการทำแท้ง ซึ่งจะทำให้เชื้อกระจายตัวเข้าไปในมดลูก และเกิดการอักเสบ ที่เรียกกันว่า การทำแท้งติดเชื้อ

อาการของไข้ทับระดู

สำหรับอาการผู้ป่วยไข่ทับระดู ผู้ป่วยมักจะมีอาการที่ไข้ขึ้นสูง ปวดท้องน้อย ลักษณะบิดๆ หากไม่มีอาการผิดปรกติมาก อาการปวดท้องจะค่อยๆหายไปเอง หากมีลักษณะอาการผิดปรกติ เช่น อาการตกขาวเป็นหนองและจะมีกลิ่นที่แรงมาก เหม็นมาก อาการปวดหลังแบบรุนแรง คลื่นไส้และอาเจียน ประจำเดือนออกมามากและมีกลิ่นเหม็น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค

การรักษาไข้ทับระดู

แนวทางการรักษาโรคไข้ทับระดู เราแบ่งแนวทางการรักษาตามประเภทของไข้ทับระดู โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง ไข้ทับระดูสามารถรักษาตามอาการได้ทันที ถ้ามีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน และปวดท้องน้อย ก็ให้ใช้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดประจำเดือนตามปกติ สามารถดื่มน้ำอุ่นเพื่อขับพิษไข้ ระบายออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ หรือใช้ถุงน้ำร้อนประคบที่ท้องเพื่อให้เลือดประจำเดือนขับออกมาได้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ควรดูแลทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • ไข้ทับระดูที่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง หากมีอาการของไข้ทับระดูชนิดนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อสอบถามซักประวัติผู้ป่วย ประวัติการใช้ยา รวมถึงประวัติการมีเพศสัมพันธ์

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ทับระดู

  • อาจจะก่อให้เกิดฝีในรังไข่ หรือ บริเวณท่อรังไข่ ซึ่งมันจะทำให้เป็นแผลเป็น และ เกิดการเป็นหมันได้
  • จะมีโอกาสเกิด การตั้งครรภ์นอกมดลูกถึง 50%
  • จะเกิด อาการเจ็บปวด เมื่อเวลาที่มี เพศสัมพันธ์

การป้องกันการเกิดไข้ทับระดู

  • ควรเลี่ยง การสวนล้างช่องคลอด เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากตลอดบุตร
  • สำหรับคนที่ยังไม่พร้อมมีบุตร ควรจะเลี่ยง การทำแท้งด้วยตัวเอง หรือ ใช้อุปกรณ์ที่สกปรกใน การทำแท้ง
  • ออกกังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ ให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย
  • ถ้าหากคิดว่าติด เชื้อหนองใน จากคนรัก ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนที่เชื้อจะลุกลาม และ จะทำให้ ปีกมดลูดอักเสบได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย