ระบบประสาทถูกทำลาย คือ ระบบประสาทส่วนกลางและเส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้เสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิต มักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทกอย่างรุนแรง แนวทางการรักษามีอะไรบ้าง

ระบบประสาทถูกทำลาย ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท

ระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตสัตว์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย หากระบบประสาทถูกทำลาย มักจะส่งผลให้เป็นอัมพาตหรือตายได้

ระบบประสาทของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง นั้นมีสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง ( central nervous system – CNS ) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง ( peripheral nervous system – PNS )

  • ระบบประสาทกลาง คือ สมองและไขสันหลัง
  • ระบบประสาทนอกส่วนกลาง คือ เส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยระบบประสาทนอกส่วนกลาง  แบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย ( somatic nervous system )  และระบบประสาทอิสระ ( autonomic nervous system )

ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย จากสาเหตุต่างๆ ส่งผลต่อระบบการควบคุมร่างกายทุกส่วนมีปัญหาการทำงาน เป็นอาการของโรคอย่างหนึ่ง โรคระบบประสาทและสมอง มักเกิดกับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ แรงกระแทก แรงอัด การได้รับปาดเจ็บจากการต่อสู่ โดยการใช้อาวุธ เช่น ปืน มีด ดาบ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย หากโดยเส้นประสาทที่สำคัญบริเวณกระดูกสันหลัง ก้านสมอง สมอง มักจะมีอาการรุนแรง

ทำให้เกิดโรคอัมพฤษ์ อัมพาต ได้ ทั้งนี้อาการต่างๆของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่เพศชายมักมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากวิธีการใช้ชีวิตที่มีโอกาสประสบกับเหตุการณ์รุนแรงๆต่างๆได้มากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลาย

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลาย คือ การถูกทำลายที่ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนนอกส่วนกลาง ซึ่งอาจเกิดได้หลายสาเหตุ แต่โดยมากเกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงไม่ว่าจะด้วยอุบุติเหตุหรือการถูกกระแทกอย่างตั้งใจ โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง แรงกระแทกทำให้ระบบประสาทโดยเฉพาะ สมอง และ กระดูกสันหลังถูกทำลาย
  • การได้รับบาดเจ็บจากอาวุธ เช่น ปืน ไม้ หรือ มีด เป็นต้น โดยโดนทำร้ายที่ระบบประสาทในจุดที่สำคัญ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หรือ เส้นประสาท
  • การรับสารพิษบางชนิดทำลายระบบประสาทโดยตรง หรือ การถูกสัตว์มีพิษทำลายระบบประสาท เช่น งูกัด

การรักษาระบบประสาทถูกทำลาย

สำหรับผู้ที่ป่วยภาวะระบบประสาทถูกทำลาย มีความเสี่ยงสูงในการอัมพาต หรือ เสียชีวิต ถือเป็นภาวะวิกฤต ซึ่งแนวทางการรักษาระบบประสาทถูกทำลาย ต้องรักษาจากสาเหตุ โดยต้องตรวจการตอบสนองของระบบประสาท การตรวจรีเฟรกซ์ของอวัยวะที่สำคัญต่างๆ และรักษาตามอาการ เท่าที่จะสามารถรักษาได้ โดยแนวทางการรักษามีดังนี้

  • หากเส้นประสาทฉีกขาดสามารถ ผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาทได้
  • การรักษาตามอาการที่พบ เช่น หากมีการตกเลือดจะต้องห้ามเลือดก่อน การรักษาการติดเชื้อต่างๆ การขับพิษออกจากร่างกาย
  • การผ่าตัดเพื่อทำวัตถุที่ฝังในร่างกายออก
  • การผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาท
  • การฟื้นฟูร่างกาย เช่น การทำกายภาพบำบัด
  • การฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยในรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเดินได้ ให้สามารถยอมรับความจริงและใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขได้
  • การฝึกการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินต่างๆ เช่น ไม้เท้า วิลแชร์
  • การอบรมญาติผู้ดูแลให้มีการดูแลอย่าใกล้ชิด ฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้

การป้องกันระบบประสาทถูกทำลาย

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลายมาจากการถูกกระแทกที่ระบบประสาทอย่างรุนแรง ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • พักผ่อนร่างกายและจิตใจให้พร้อมสำหรับทำกิจกรรมในแต่ละวัน การขาดการพักผ่อนทำให้ระบบสมองสั่งการช้า ทำให้เกิดอุบัตติเหตุได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการขับรถด้วยความเร็วสูงเกินไป การขับรถเร็วทำให้ีโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้มากกว่าคนขับรถช้า
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเสี่ยงต่อการกระแทกอย่างรุนแรง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความเสียงในการติดเชื้อโรคหรือการได้รับสารพิษอย่างรุนแรง เช่น น้ำโคลน โรงงานที่มีสารพิษ เป็นต้น

พยาธิในช่องคลอด ทริโคโมแนส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบมากในผู้หญิง คันในช่องคลอด แสบตอนปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ ตกขาวสีเหลืองเขียว มีกลิ่นเหม็น รักษาอย่างไร

พยาธิช่องคลอด โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

พยาธิในช่องคลอด ( Trichomoniasis หรือ Trich ) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis  โรคนี้ผู้ป่วยส่วนมากไม่แสดงอาการ และจะแสดงอาการเพียลร้อยละ 30 โรคนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรรีบรักษา เพราะสามารถติดต่อสู่คู่นอนได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีหลายปัจจัย ที่สำคัญคือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโรค ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดโรคนี้ ได้แก่ เปลี่ยนคู่นอนบ่อย คนที่มีประวัติในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ คทที่มีประวัติในการเป็นโรคพยาธิในช่องคลอดมาก่อน และ คนที่ใช้สิ่งของร่วมกับคนที่มีเชื้อโรค

โรคพยาธิช่องคลอดไม่ได้เกิดกับเพศหญิงเท่านั้น สามารถเกิดกับเพศชายได้ ซึ่งเพศชายหากติดเชื้อจะมีอาการแสบเมื่อปัสสาวะ อาการคัน ระคายเคือง ที่ปลายอวัยวะเพศ เพราะ ติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่อันตราย ถึงกับทำให้เสียชีวิต แต่จะกระทบการดำรงชีวิตมาก เพราะ จะมีความรำคาญใจ ส่งผลต่อ สุขภาพจิตของผู้หญิง และ ผู้ชาย ที่ได้รับเชื้อ และยังสามารถเป็นพาหะ นำเชื้อไปติดผู้อื่นต่อได้อีกด้วย

สาเหตุของการเกิดโรคพยาธิในช่องคลอด

สาเหตุของโรคนี้มาจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis ซึ่งสามารถติดได้จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน (การสวมถุงยาอนามัย) การมีเพศสัมพันธ์ ทางปาก ทวารหนัก ไม่รักษาความสะอาด ในจุดซ่อนเร้น และสุขภาพโดยรวมอ่อนแอ ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ครบ 5 หมู่

อาการผู้ป่วยโรคพยาธิในช่องคลอด

อาการของโรคพยาธิในช่องคลอดนั้นจะแสดงอาการที่อวัยวะเพศและจุกซ่อนเร้น มีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงอาการอักเสบขั้นรุนแรง ผู้ป่วยบางรายจะแสดงอาการป่วยต่างๆภายใน 28 วันหลังจากได้รับเชื้อติดเชื้อ บางรายแสดงอาการหลังจากนั้นและบางรายอาจมีอาการแบบเป็นๆหายๆ ได้ ซึ่งอาการต่างๆ สามารถแสดงได้ดังนี้

  • ตกขาวผิดปรกติ ตกขาวเป็นสีเหลือง สีเขียวหรือสีเทา
  • มีกลิ่นเหม็นมาจากช่องคลอด
  • มีอาการคัน และแสบภายในช่องคลอดหรือบริเวณช่องคลอด
  • ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
  • รู้สึกระคายเคืองหรือแสบขณะปัสสาวะ

การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการวินิจฉัยโรค เริ่มจากการตรวจประวัติการรักษา การพูดคุย ซักประวัติ พฤติกรรมทางเพศ ที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ทั่วไป ตรวจร่างกายเบื้องต้น ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศอื่นๆเพิ่มเติม เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหูด โรคเริม โรคโลน โรคหนองใน โรคซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน และ ตรวจภายใน เก็บตัวอย่างตกขาว ตรวจหาพยาธิ ในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันเชื้อได้ถูกตัว จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาต่อเนื่อง 7-10 วัน ใช้ยาฆ่าพยาธิ มีสองชนิด คือ Metronidazole และ Tinidazole แต่ถึงแม้จะได้รับการรักษาจนหายขาดแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคนี้ สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • เมื่อรู้สึกแสบขณะปัสสาวะ แสบปลายองคชาต หรือ ตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น คันช่องคลอด รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย อย่าปล่อยเรื้อรัง
  • รักษาความสะอาด ชุดชั้นใน เสื้อผ้า อย่าใส่ซ้ำ
  • ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยสบู่ ทุกครั้งที่อาบน้ำ
  • สวมทุกยางอนามัย ทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย งดมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • รักษาสุขภาพเบื้องต้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ไม่หมกมุ่นเรื่องทางเพศมากเกินไป หากิจกรรมอื่นๆทำ เช่น จิตอาสา รวมกลุ่มออกกำลังกาย ค่ายอาสา เข้าวัดทำบุญ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย