หัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติของเด็กตั้งแต่ในท้องแม่ อาการตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันทำอย่างไรหัวใจพิการโดยกำเนิด โรคเด็ก โรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือ ความผิดปรกติของหัวใจโดยกำเนิด เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื้อต่างๆในร่างกายอย่างเพียงพอ ซึ่งจากสาเหตุนี้ส่งผลต่อร่างกายต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง อัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 80 ของเด็กที่ป่วยโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่ความผิดปกติของหัวใจเกิดขึ้นตั้งแต่การสร้างอวัยวะตั้งแต่ทารกในครรภ์ของมารดา และอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือ การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากมารดา
  • ความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา
  • ภาวะการผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งพบมากในเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม
  • การติดเชื้อโรคในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การได้รับสารเคมีตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น สารเคมี ยาเสพติดต่างๆ

ชนิดของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ หัวใจพิการชนิดเขียว และ หัวใจพิการชนิดไม่เขียว รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดเขียว เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เกิดภาวะขาดออกซิเจนทำให้ผิวเป็นสีเขียวคล้ำม่วง ซึ่งสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจน คือ ขณะเด็กร้องไห้ หรือ เด็กดูดนม จะเขียวมากขึ้น
  • หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดไม่เขียว เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือดและหัวใจ อาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท หรือไม่กว้างเท่าปกติ

อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับอาการของโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จะแสดงอาการให้เห็นจากลักษณะการหายใจและผิวพรรณ โดยสามารถสังเกตุอาการผิดปรกติเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • ผิวเป็นสีเทา หรือ สีเขียว โดยเฉพาะ ริมฝีปาก ผิวหนัง นิ้วมือ และเท้า
  • อาการหายใจผิดปรกติ หายใจเร็ง เจ็บหน้าอก และ หายใจลำบาก
  • มีอาการบวม โดยเฉพาะ ขา ท้อง และ รอบดวงตา
  • ไม่ยอมกินอาหาร
  • การเจริญเติยโตของเด็กช้า ไม่เป็นตามปรกติ
  • เหนื่อยง่าย
  • เวียนหัว หรือ หมดสติ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถใช้การรักษาได้หลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความรุนแรงของอาการป่วย โดยวิธีที่แพทย์อาจนำมาใช้ในการรักษา มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  • การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ช่วยปรับการทำงานของหัวใจให้กลับมาเต้นปกติ
  • การสวนหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปิดหลอดเลือดหรือผนังหัวใจที่มีรูเปิดผิดปกติ เป็นต้น
  • การผ่าตัดหัวใจ ต้องผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปิดรอยรั่วในหัวใจ ซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  • ารผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ หากปัญหามีความซับซ้อนและการรักษาไม่ได้ผล อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรค ควรลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จากการวางแผนการตั้งครรภ์ และ ดูแลทารกตั้งแต่ในครรภ์ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ควรปรึกษาแพทย์ เรื่องการใช้ยา และ การรับประทานอาหาร ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • หากคนในครอบควรมีประวัติโรคหัวใจพิการ ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ระหว่างตั้งครรภ์

โรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติตั้งแต่ในท้องแม่ ควรดูแลร่างกายในขณะตั้งครรภ์ ลักษณะอาการเด็กตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร

การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไรกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( myocarditis ) คือ ภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ parvovirus B19 แต่สามารถเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆได้ ไม่ว่าจะ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เช่น Borrelia burgdorferi ( โรคไลม์ ) หรือ Trypanosoma cruzi  โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทางการแพทย์ เรียก Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการของโรครุนแรง เสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ โรคไข้รูมาติก เป็นต้น ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคง่าย เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายหัวใจ ทำให้เกิดการอักเสบ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของปอด ทำให้เกิดปอดบวมน้ำ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการติดเชื้อได้ดังนี้

  • การได้รับสารพิษพวก สารหนู สารตะกั่ว ควันรถยนต์การกระทบกระเทือนโดยตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำร้าย เรียกว่า สารภูมิต้านทานร่างกาย หรือ แอนติบอดี้ ( Antibody )
  • การติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใญ่ ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสเอชไอวี แบคทีเรียวัณโรค
  • การติดเชื้อโรคจากพยาธิ
  • การติดเชื้อรา
  • การแพ้ยาปฏิชีวนะ
  • ถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู ผึ้ง หรือ แมลงต่างๆ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดอาการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้อักเสบเฉพาะหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงและหนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดตามข้อกระดูก
  • เจ็บคอ
  • มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว
  • มีอาการไอ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ริมฝีปาก และ เล็บมือ มีสีม่วง
  • มือ เท้า และ ข้อเท้าบวม

การตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคนอกจากดูลักษณะอาการของโรค แพทย์จะทำการซักประวัติการรักษาโรค จากนั้นตรวจโรค โดย การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอมอาร์ไอ และ การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรรีบส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลทันทีเพ่ือรับการรักษา แพทย์วินิจฉัยได้โดยจะมีการฟังเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ( echocardiography ) เอกซเรย์พบหัวใจโต คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเลือดพร้อมกับให้การรักษาในทันที การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยเบื้องต้นแพทย์จะรักษาจากต้นแต่ของโรค คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรค ร่วมกับประคับประครองอาการต่างๆ

การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใส่เครื่องมือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพือป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( Myocarditis ) การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย