โลหิตจาง ( Anemia )  ภาวะเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ ทำให้เหนื่อยง่าย ตัวซีด อ่อนเพลีย มักเกิดกับสตรี สามารถรักษาได้อย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

โลหิตจาง โรคเลือด โรคต่างๆ

โรคโลหิตจางAnemia )  คือ ภาวะร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง ในเลือดที่น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การนำเอาออกซิเจนไปยังเซลล์ และ เนื้อเยื่อต่างๆ มีประสิทธิภาพที่น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ หากเกิด-าวะโลหิตจางรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจและสมองได้

เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงของคน ประกอบไปด้วย ฮีโมโกลบิน ซึ่งถือว่า เป็น องค์ประกอบหลัก และ มันมีหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งในผู้ใหญ่นั้นจะผลิต เม็ดเลือดแดง ที่ไขกระดูกตามความต้องการ ใน การลำเลียงออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือด จะมีอายุเพียง 120 วันก่อนที่จะถูกกำจัดไป ก่อนที่มันจะถูกกำจัดออกไป โดย ตับ ม้าม และ ไขกระดูก จากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง

เช็กสัญญาณภาวะโลหิตจาง

ลักษณะอาการผิดปรกติที่เป็นสัญญานเตือนว่า ท่านอาจมีภาวะโลหิตจาง มีดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ตัวซีด
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • เวียนหัว มึนงง
  • เจ็บหน้าอก มีอาการใจสั่น
  • เป็นลม หมดสติ

หากท่านมีอาการดังกล่าว ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และ หาแนวทางการรักษาต่อไป

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคโลหิตจากมี 3 สาเหตุ คือ ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ ภาวะการสูญเสีียเลือดอย่างกระทันหัน โดยรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

  • ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามิบบี12 กรดโฟลิค หรือ อาจเกิดจากผลกระทบจากการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคตับ ข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคไตวายเรื้อรัง หรือ ภาวะการเกิดโรคของไขข้อกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดเชื้อในไขกระดูก เป็นต้น
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย มักเกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นโรคบางโรคที่ส่งผลต่อเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักแสดงอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ภาวะร่างกายสูญเสียเลือดอย่างกระทันหัน  มักเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตร การตกเลือด หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นเวลานาน แผลในกระเพาะ เป็นต้น

 อาการของโรคโลหิตจาง

ผู้ป่วยโรคโลหิตจากจะแสดงอาการต่างๆ เช่น มีภาวะหายใจลำบากในขณะที่ออกแรง หายใจไม่ทัน เหนื่อยหอบง่าย ทำงานหนักไม่ได้ ออกแรงมากไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว และ มึนงง เจ็บบริเวณหน้าอกใจสั่น ตัวซีด อ่อนเพลีย ผิวเหลือง ในบางรายที่อาการรุนแรง ทำให้หัวใจทำงานหนัก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 การวินิจฉัยโรคโลหิตจาง

  • การตรวจวิเคราะห์ชนิด และ ปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจแบบนี้นั้นมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประเภทของภาวะโลหิตจาง
  • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็น การนับปริมาณเม็ดเลือดแดงว่า จัดอยู่เกณฑ์ที่ปกติหรือไม่
  • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน จะตรวจดู การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ที่ไขกระดูกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
  • การตรวจระดับธาตุเหล็ก ในเลือดและร่างกาย เป็น การตรวจหาธาตุเหล็ก ในร่างกาย

การรักษาโรคโลหิตจาง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคโลหิตจาง วิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน การให้ออกซิเจน โดยผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ใช้การรักษาตามอาการ คือ ให้กินยาบำรุงโลหิตรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางต้องตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันโรคโลหิตจาง

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาก ต้องป้องกันโดยลดความเสี่ยงจากสาเหตุของโรค แนวทางการป้องกันโลหิตจาง มีดังนี้

  • พยายามออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินกำลัง เริ่มจากการเดินเบาๆก่อน
  • ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู กวางตุ้ง เป็นต้น พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพราะ จะช่วยให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้สูงอย่างกระทันหัน ตัวแดงเป็นผื่น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อันตรายหากรักษาไม่ทัน ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รักษาอย่างไร

ไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไข้กาฬ หมายถึง โรคที่มีความรุนแรงที่มีผื่นสีดำขึ้นตามร่างกาย ส่วนคำว่า หลังแอ่น หมายถึง การอาการหลังแข็งเกร็ง มีอาการชัก

โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningococcal Meningitis ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) เป็นเชื้อโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสสารคัดหลังของคนที่มีเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นการจาม การไอ ซึ่งโรคไข้กาฬหลังแิอ่นมักพบ 2 ลักษณะ คือ คือ ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด

  • ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต เมื่อเชื้อโรคเจือปนในเลือดและไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและปวด ซึ่งลักษณะอาการค่อนข้างรุนแรง
  • ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะต่อจากการติดเชื้อในการแสเลือด เมื่อเชื้อโรคไหลเวียนเข้าสู่สมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองเกิดการติดเชื้อ ทำให้สมองอักเสบ ส่งผลถึงกระดูกสันหลังด้วย

ไข้กาฬหลังแอ่นในประเทศไทย

สถานการณ์โรคไข้กาฬหลังแอ่นในประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นทุกปี ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2536 – 2552 มีรายงานผู้ป่วย 15 ถึง 74 รายต่อปี โรคนี้ไม่มีรูปแบบของการเกิดโรคตามฤดูกาลที่ชัดเจน โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกกลุ่มอายุ แต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่อายุตํ่ากว่า 5 ปี มักพบในกลุ่มคนที่อาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นและแออัด สุขอนามัยไม่ดีนัก

สาเหตุของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่คนอื่นๆได้ จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่เป็นพาหะนำโรคผ่านระบบทางเดินหายใจ จากการไอ การจาม การสัมผัสเสมหะ สัมผัสน้ำมูก สัมผัสน้ำลาย เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • การอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็น โรคกาฬหลังแอ่น จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ เพราะ สูดอากาศ และ เอาเชื้อแบคทีเรียที่มันกระจายอยู่ในละอองเสมหะ หรือ แม้กระทั่งน้ำลายของผู้ป่วย เมื่อจาม ไอ
  • การอยู่ใกล้แหล่งที่มีผู้ป่วย และ อยู่ในสถานที่แออัด ทำให้เชื้อแพร่กระจายง่าย
  • การใช้ของใช้ร่วมกับ ผู้ป่วย หรือ ผู้ที่มีพาหะ เช่น แก้ว ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวของโรคโดยเฉลี่ย 3 – 4 วัน ซึ่งโรคไข้กาฬหลังแอ่น จะมีลักษณะอาการที่สำคัญ อย่าง คือ มีไข้ มีผื่น และ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

ลักษณะอาการทั่วไป ผู้ป่วยมักจะมีไข้ประมาณ 2-3 วันและมีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นจ้ำเลือดคล้ายกับอาการฟกช้ำ ลักษณะผื่นมีรูปคล้ายดาวกระจาย มักเกิดผื่นบริเวณลำตัวส่วนล่าง ขาและเท้า หากมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ผู้ป่วยจะค่อยๆซึมลง และไม่ค่อยรู้สึกตัว หากเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจทำให้การเสียชีวิตได้

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น เมื่อแพทย์ตรวจเลือดและพบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค สามารถใช้การรักษาด้วยการใช้ยาปฎิชีวนะ เพื่อไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

แนวทางการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น 2 วิธีหลัก คือ การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการฉีดยาต้านจุลชีพ ซึ่งนอกจากนั้นสามารถป้องกันโรคได้อย่างง่ายด้วยตนเอง คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ดูแลความสะอาดของร่างกาย ไม่เอาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรค แนวทางการปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับ ผู้อื่น หรือ ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตาม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เมื่อจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยให้สวมหน้ากากอนามัย หรือ ใช้ถุงมือยางเมื่อต้องสัมผัส
  • เมื่อทราบว่าตนเอง หรือ บุตรหลาน เป็นไข้สูง ให้รีบพบแพทย์
  • ดูแที่อยู่อาศัยให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย