ภาวะติดเชื้อที่สมองจากโปรตีนพรีออนในเนื้อวัว ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ เคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุก เห็นภาพหลอน ความจำเสื่อม เสียชีวิตได้โรควัวบ้า สารพรีออน โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรควัวบ้า ( bovine spongiform encephalopathy ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคที่สมอง โดยมีเนื้อวัวเป็นพาหะนำโรค ซึ่งการรับประทานเนื้อวัวที่มีเชื้อโรค ทำให้เกิดความผิดปรกติของสมอง จัดเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่ระบาดจากวัวสู่คนได้

โปรตีนพรีออน คือ ต้นเหตุของโรควัวบ้า เป็นสารที่อยู่ในเนื้อวัว ซึ่งสารพรีออนมีคุณสมบัติเป็นโปรตีน แบบไม่ละลายน้ำ มีหน้าที่กระตุ้นเซลล์ให้สร้างสารพรีออนเพิ่มขึ้นและไปขัดขวางกระบวนการสร้างตัวของโปรตีนอื่นๆในร่างกาย เมื่อสารพรีออนอยู่ในร่างกายสิ่งมีชีวิตจะทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้สมองฝ่อ

สถานการณ์โรควัวบ้า

พบรายงานการตรวจพบโรควัวบ้าครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ปี พ.ศ. 2529 โดยพบวัวในประเทศอังกฤษมีเชื้อวัวบ้าจำนวนมาก ต่อมาเกิดการระบาดในอีกหลายประเทศแถบยุโรป ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เยอรมัน อิตาลี เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก ออสเตรีย สเปน สาธารณรัฐเช็ค ฟินแลนด์ กรีซ โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลเวเนีย และลิชเทนสไตน์ รวมทั้งในประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น โอมาน อิสราเอล และหมู่เกาะฟอร์คแลนด์ จากสถานการณ์ในเวลานั้นต้องทำลายวัวมากถึง 4 ล้านตัว และต้องใช้มาตรการควบคุมในการกำจัดอย่างเข้มงวด เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

สำหรับประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อในการเกิดโรควัวบ้า เนื่องจากได้เคยมีการนำเข้าเนื้อและกระดูกป่นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ถึงแม้ว่าจะมีการออกกฎระเบียบต่างๆในการห้ามนำเข้าและป้องกันการใช้เนื้อและกระดูกป่นจากประเทศที่มีรายงานโรค

สาเหตุของการเกิดโรควัวบ้า

สำหรับสาเหตุการเกิดโรควัวบ้ามาจากความผิดปกติของโปรตีนในเนื้อวัว ชื่อ พรีออน ( Prion ) ซึ่งโปรตีนชนิดนี้จะทำลายโปรตีนชนิดอื่นๆที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต และจะทำลายเนื้อเยื่อระบบประสาทและสมอง แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของความผิดปกตินี้ ซึ่งหากคนรัประทานเนื้อที่มีความผิดปรกติของโปรตีนจะทำให้ระบบประสาทและสมองถูกทำลาย มีการศึกษาโปรตีนพรีออน พบว่าโปรตีนพรีออน ทนต่อการทำลายต่างๆแม้กระทั้งความร้อนสูง

กลุ่มเสี่ยงการเกิดโรควัวบ้า

สำหรับโรควัวบ้า กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรควัวบ้า คือ กลุ่มคนที่ชอบรับประทานเนื้อวัว ถึงแม้ว่าปรุงเนื้อวัวให้สุก ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อต่างๆแล้วก็ไม่สามารถทำให้สารพรีออนให้หมดไปได้ เนื่องจากสารพรีออนทนความร้อนได้ การควบคุมการเกิดโรควัวบ้าในวัวจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสวัสดิภาพของมนุษย์

อาการของโรควัวบ้า

ลักษณะของสัตว์ที่เป็นโรควัวบ้าจะมีพฤติกรรมที่ผิดปรกติมีปัญหาการเดิน มีพฤติกรรมที่รุนแรง น้ำหนักตัวลดลง และล้มตายในเวลาต่อมา การรับประทานเนื้อวัวที่มีเชื้อวัวบ้า หรือ มีโปรตีนพรีออน จะส่งผลต่อร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรควัวบ้า มีดังนี้

  • การควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ การเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุก
  • ลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพเปลี่ยนไป
  • ระบบสายตาผิดปรกติ เช่น มองเห็นภาพผิดปกติ เห็นภาพหลอน สายตาพร่ามัว หรือ ตาบอด
  • ระบบการรับรู้ความรู้สึกผิดปกติ
  • พูดได้ลำบาก
  • กลืนอาหารลำบาก
  • มีภาวะเครียด
  • นอนไม่หลับ
  • ความจำเสื่อม
  • อาจเสียชีวิตภายในเวลาประมาณ 13 เดือนหลังจากร่างกายมีอาการผิดปรกติ

การวินิจฉัยโรควัวบ้า

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรควัวบ้า แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติ อาการต่างๆ ตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง เพื่อตรวจหาโปรตีนที่อาจทำให้เกิดโรค

การรักษาโรควัวบ้า

สำหรับแนวทางการรักษาโรควัวบ้า ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรควัวบ้าโดยตรง ซึ่งการรักษาเพียงบรรเทาอาการของโรค ที่สำคัญ คือ การกักกันสาหตุของการเกิดโรคไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่ม ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันถือว่าประเทศไทยยังปลอดภัยต่อการระบาดของโรควัวบ้า

การป้องกันโรควัวบ้า

เนื่องจากในปัจจุบันจะยังไม่มียาสามารถรักษาผู้ติดเชื้อวัวบ้าได้ การป้องกันจึงมีความสำคัญที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ซึ่งแนวทางการป้องกันโรควัวบ้า มีดังนี้

  • ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัวบ้า
  • หากมีโรควัวบ้าระบาดในประเทศที่อาศัยอยู่ ให้ปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามนำเข้าวัวหรือสัตว์อื่น ๆ ที่ติดเชื้อโรควัวบ้า ห้ามเลี้ยงสัตว์ที่อาจเสี่ยงติดเชื้อโรควัวบ้า ห้ามใช้วัตถุดิบที่อาจเสี่ยงติดเชื้อโรควัวบ้าในการประกอบอาหาร เพิ่มความเข้มงวดในกระบวนการจัดการกับสัตว์ที่ป่วย เฝ้าระวังและตรวจสอบเพื่อติดตามสุขภาพของวัว

โรควัวบ้า ภาวะการติดเชื้อที่สมองจากเนื้อวัวที่มีโปรตีนพรีออน ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้สมองฝ่อ อาการของโรคควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ การเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุก เห็นภาพหลอน ความจำเสื่อม และ ตายใน 13 เดือน

ภาวะความดันตาสูง ทำให้อุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม ไม่รักษาตาบอดได้ ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน การรักษาและป้องกันอย่างไรโรคต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ ทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน โรคอันตรายต่อระบบประสาทตา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตาบอด สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น รวมถึงไม่แสดงอาการในระยะลุกลามของโรคด้วย รู้ตัวอีกทีคือสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว และ ไม่สามารถรักษาให้กลับดีขึ้นได้ ดังนั้นการตวรสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรคต้อหิน คือ ภาวะความผิดปรติของดวงตาเกิดจากความดันของตาที่สูงมากผิดปกติ ซึ่งความดันตาสูง สามารถเกิดได้เนื่องจากของเหลวที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงตาตามธรรมชาติผิดปรกติ ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทตา ความดันตาที่เหมาะสมสำหรับของเหลวในตาจะต้องไม่เกิน 22 มม.ปรอท หากมากกว่านี้จะเป็นอัตรายมาก เสี่ยงมากที่เกิดต้อหินตามมา

สถาณการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั้งโลกตาบอด เป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยทั่วโลกที่ป่วยโรคต้อหินทั้งชนิดมุมปิดและต้อหินชนิดมุมเปิดประมาณ 4.5 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 12 ของผุ้ป่วยทั้งหมดตาบอด สำหรับสถาณการ์โรคต้อหินในประเทศไทย พบว่าประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ประชากรทั่วประเทศ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโรคต้อหินจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ต้อหินโดยกำเนิด ต้อหินชั้นสอง ต้อหินมุมเปิด และ ต้อหินมุมปิด ซึ่งรายละเอียดของต้อหินแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ต้อหินโดยกำเนิด สาเหตุหลักจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะอาการรุนแรงมาก ควบคุมอาการยาก เนื่องจากเกิดกับเด็กอ่อน หากไม่รักษาอาจจะตาบวดได้ มารดาต้องสังเกตุอาการตอบสนองต่อการมองเห็นของเด็กอย่างใกล้ชิด
  • ต้อหินขั้นสอง เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตาชนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคเนื้องอกที่ตา โรคตาอักเสบ รวมถึงทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา และ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
  • ต้อหินมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้พบมากที่สุดเกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำเลี้ยงของดวงตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น ทำให้ระบบประสาทการรับรู้การมองเห็นถูกทำลาย ซึ่งในระยะแรกจะมองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะค่อยๆเสื่อมลงจนตาบอดสนิท
  • ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมุมของลูกตาถูกม่านตาปิดกั้น ทำให้ความดันเปลี่ยนแปลง เนื่องจากของเหลวในตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะปวดหัว และ ปวดลูกตาอย่างรุนแรง เยื่อบุตาแดงจัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

สาเหตุการเกิดโรคต้อหิน

โรคต้อหิน คือ ภาวะจอประสาทตาถูกทำลายและเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา โดยสาเหตุมาจากความดันในตาสูง จากสาหตุการไหลเวียนเข้าและออกของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สมดุล ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่ทำให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น โดยอาการผิดปรกตินี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆหรือเฉียบพลันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถรวบรวมปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงจนส่งผลต่อการเกิดโรคต้อหิน มีดังนี้

  • อายุ ความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆมีผลต่อภาวะความดันตา
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติพ่อแม่หรือพี่น้องญาติป่วยโรคต้อหินมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • การกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่ดวงตาอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาบางประเภท โดยเฉพาะยากลุ่มยาสเตียรอนด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา
  • ความผิดปกติของสายตาตามธรรมชาติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติของสายตาแบบช้าๆ ค่อยๆเสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆนอกจากความสามารถการมองเห้นค่อยๆลดลง แต่สำหรับอาการโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรง และ ปวดแบบเฉียบพลัน เยื่อบุตาแดง น้ำตาไหล ไม่สามารถสู้แสงได้ สายตาพล่ามัว มองเห็นเหมือนมีแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และ คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคต้องทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทาง และ ใช้เครื่องมือตรวจที่ทันสมัย แนวทางการวินิจฉัยโรค คือ ตรวจเพื่อดูลักษณะมุมตา ตรวจขั้วประสาทตา ดูความเสียหาย การตอบสนองต่อแสง ตรวจวัดความดันภายในตา และ ตรวจลานสายตา

การรักษาโรคต้อหิน

แนวทางการรักษาโรคต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาโรคต้อหินต้องประคับประคองเพื่อบรรเทาความเสื่อมของประสาทตา เพื่อรักษาการมองเห็นให้นานที่สุด การรักษาใช้ยา การทำเลเซอร์ และ การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค  ให้ยาเพื่อลดความดันของดวงตาเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันมียารักษาต้อหินหลายกลุ่ม ซึ่งการรักษาด้วยยาจำเป็นทำอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์
  • การรักษาด้วยเลเซอร์  ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินและระยะของโรค เช่น Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) ใช้รักษาต้อหินมุมเปิดในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ผล Laser peripheral iridotomyLPI) รักษาต้อหินมุมปิด Argon laser peripheral iridoplastyALPI ) ใช้รักษาร่วมกับ LPI
  • การผ่าตัด เพื่อรักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล การผ่าตัดตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

สาเหตุของการเกิดโรคต้อหินเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งการรักษาระดับความดัยตาให้ปรกติ เป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคต้อหิน มีดังนี้

  • เข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • สวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา เมื่อต้องทำกิจกรรมเสี่ยงกระทบต่อดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาทั้งหมด

โรคต้อหิน ภาวะความดันตาสูง ทำให้เกิดการอุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ อาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย