ภาวะความดันตาสูง ทำให้อุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม ไม่รักษาตาบอดได้ ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน การรักษาและป้องกันอย่างไรโรคต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ ทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน โรคอันตรายต่อระบบประสาทตา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตาบอด สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น รวมถึงไม่แสดงอาการในระยะลุกลามของโรคด้วย รู้ตัวอีกทีคือสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว และ ไม่สามารถรักษาให้กลับดีขึ้นได้ ดังนั้นการตวรสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรคต้อหิน คือ ภาวะความผิดปรติของดวงตาเกิดจากความดันของตาที่สูงมากผิดปกติ ซึ่งความดันตาสูง สามารถเกิดได้เนื่องจากของเหลวที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงตาตามธรรมชาติผิดปรกติ ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทตา ความดันตาที่เหมาะสมสำหรับของเหลวในตาจะต้องไม่เกิน 22 มม.ปรอท หากมากกว่านี้จะเป็นอัตรายมาก เสี่ยงมากที่เกิดต้อหินตามมา

สถาณการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั้งโลกตาบอด เป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยทั่วโลกที่ป่วยโรคต้อหินทั้งชนิดมุมปิดและต้อหินชนิดมุมเปิดประมาณ 4.5 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 12 ของผุ้ป่วยทั้งหมดตาบอด สำหรับสถาณการ์โรคต้อหินในประเทศไทย พบว่าประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ประชากรทั่วประเทศ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโรคต้อหินจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ต้อหินโดยกำเนิด ต้อหินชั้นสอง ต้อหินมุมเปิด และ ต้อหินมุมปิด ซึ่งรายละเอียดของต้อหินแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ต้อหินโดยกำเนิด สาเหตุหลักจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะอาการรุนแรงมาก ควบคุมอาการยาก เนื่องจากเกิดกับเด็กอ่อน หากไม่รักษาอาจจะตาบวดได้ มารดาต้องสังเกตุอาการตอบสนองต่อการมองเห็นของเด็กอย่างใกล้ชิด
  • ต้อหินขั้นสอง เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตาชนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคเนื้องอกที่ตา โรคตาอักเสบ รวมถึงทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา และ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
  • ต้อหินมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้พบมากที่สุดเกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำเลี้ยงของดวงตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น ทำให้ระบบประสาทการรับรู้การมองเห็นถูกทำลาย ซึ่งในระยะแรกจะมองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะค่อยๆเสื่อมลงจนตาบอดสนิท
  • ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมุมของลูกตาถูกม่านตาปิดกั้น ทำให้ความดันเปลี่ยนแปลง เนื่องจากของเหลวในตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะปวดหัว และ ปวดลูกตาอย่างรุนแรง เยื่อบุตาแดงจัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

สาเหตุการเกิดโรคต้อหิน

โรคต้อหิน คือ ภาวะจอประสาทตาถูกทำลายและเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา โดยสาเหตุมาจากความดันในตาสูง จากสาหตุการไหลเวียนเข้าและออกของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สมดุล ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่ทำให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น โดยอาการผิดปรกตินี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆหรือเฉียบพลันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถรวบรวมปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงจนส่งผลต่อการเกิดโรคต้อหิน มีดังนี้

  • อายุ ความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆมีผลต่อภาวะความดันตา
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติพ่อแม่หรือพี่น้องญาติป่วยโรคต้อหินมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • การกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่ดวงตาอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาบางประเภท โดยเฉพาะยากลุ่มยาสเตียรอนด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา
  • ความผิดปกติของสายตาตามธรรมชาติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติของสายตาแบบช้าๆ ค่อยๆเสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆนอกจากความสามารถการมองเห้นค่อยๆลดลง แต่สำหรับอาการโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรง และ ปวดแบบเฉียบพลัน เยื่อบุตาแดง น้ำตาไหล ไม่สามารถสู้แสงได้ สายตาพล่ามัว มองเห็นเหมือนมีแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และ คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคต้องทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทาง และ ใช้เครื่องมือตรวจที่ทันสมัย แนวทางการวินิจฉัยโรค คือ ตรวจเพื่อดูลักษณะมุมตา ตรวจขั้วประสาทตา ดูความเสียหาย การตอบสนองต่อแสง ตรวจวัดความดันภายในตา และ ตรวจลานสายตา

การรักษาโรคต้อหิน

แนวทางการรักษาโรคต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาโรคต้อหินต้องประคับประคองเพื่อบรรเทาความเสื่อมของประสาทตา เพื่อรักษาการมองเห็นให้นานที่สุด การรักษาใช้ยา การทำเลเซอร์ และ การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค  ให้ยาเพื่อลดความดันของดวงตาเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันมียารักษาต้อหินหลายกลุ่ม ซึ่งการรักษาด้วยยาจำเป็นทำอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์
  • การรักษาด้วยเลเซอร์  ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินและระยะของโรค เช่น Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) ใช้รักษาต้อหินมุมเปิดในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ผล Laser peripheral iridotomyLPI) รักษาต้อหินมุมปิด Argon laser peripheral iridoplastyALPI ) ใช้รักษาร่วมกับ LPI
  • การผ่าตัด เพื่อรักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล การผ่าตัดตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

สาเหตุของการเกิดโรคต้อหินเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งการรักษาระดับความดัยตาให้ปรกติ เป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคต้อหิน มีดังนี้

  • เข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • สวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา เมื่อต้องทำกิจกรรมเสี่ยงกระทบต่อดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาทั้งหมด

โรคต้อหิน ภาวะความดันตาสูง ทำให้เกิดการอุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ อาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

เนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อประสาทและสมอง อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุม การรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร
เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคเนื้องอก โรคไม่ติดต่อ

โรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะการเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลประทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย มีความแตกต่างจากโรคมะเร็งในสมอง เป็นโรคร้ายแรงในอดีต ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยมาก ผลแทรกซ้อนจากการรักษาน้อย อาการบาดเจ็บของสมองลดลง พักฟื้นได้ในระยะสั้น

ชนิดของเนื้องอกในสมอง

สำหรับเนื้องอกในสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกของสมอง และเนื้องอกในสมองที่มาจากอวัยะอื่นๆ รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกของสมองเอง แบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดดี และ เนื้องอกชนิดไม่ดี ซึ่งคือ เนื้องอกมะเร็งสมองนั่นเอง
  • เนื้องอกของสมองที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ

สาเหตุการเกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทีให้เกิดเนื้องอกในสมอง โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องป่วยโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมองมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติเคยป่วยโรคนี้ ทั้งนี้ถึงแม้จะมีญาติคนใกล้ชิดเคยป่วยโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป่วยโรคนี้เสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เซลล์ในสมองเอง ที่มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • การรับการแพร่ของมะเร็งมากจากอวัยวะอื่น จนลามไปถึงสมองจนเกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งการรักษาเมื่อผ่าตัดแล้วจะต้องทำการรักษาการลุกลามของมะเร็งโดย การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีเพิ่มเติม

อาการผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิดของเนื้องอก และ ขนาดของเนื้องงอก ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆ และ อาจพบเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย แต่อาการของเนื้องอกในสมองจะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง โดยรวม ซึ่งสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • อาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยปวดเป็นระยะ ต่อเนื่องกัน อาการปวดโดยไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดติดต่อกันหลายสัปดาห์ ปวดขณะนอนหลับกลางดึก
  • อาการแขนขาอ่อนแรง อาการชา อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่สามารถขยับแขนขาได้
  • อาการหน้าเบี้ยว หนังตาตก ปากเบี้ยว ไม่สามารถบังคับได้
  • อาการกระตุกชัก โดยที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ไม่สามารถควบคุมได้ อยู่นอกเหนือการควบคุม

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

การตรวจวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง แพทย์จะการตรวจร่างกาย ตรวจประวัติการรักษา สอบถามอาการป่วย การตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจโดยทำเอนอาร์ไอ เพื่อระบุตำแหน่งขนาดของเนื้องอกเพื่อวางแผนการรักษา

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ใช้การผ่าตัด รังสีรักษา และ เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์เลือกแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ โดยแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด โดยอยู่ตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก หากขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีการขยายรวมทั้งไม่มีผลต่อการทำงานของสมอง อาจจะรักษาโดยการประคับประคองอาการ แต่หากมีการขยายขนาดและกดทับสมองจนทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือทำงานบกพร่อง จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้ออก
  • การฉายรังสีและเคมีบำบัด หากก้อนเนื้องอกนั้นเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง เมื่อทำการผ่าตัดออกแล้วจะต้องทำการรักษายับยั้งการลุกลาม โดยการใช้เคมีรักษาและรังสีรักษา ซึ่งจะมีอาการข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียนผมร่วง ผิวหนังอักเสบ ประสิทธิภาพการรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งขณะรักษา

การป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ ซึ่งการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง จึงควรดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ แนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • การสังเกตุอาการของตนเอง และคนรอบข้างที่ป่วย หากอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้นจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หากพบเนื้องอกได้เร็วเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
  • รับประทาอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดืมน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับสารพิษต่างจากสิ่งแวดล้อม

โรคเนื้องอกในสมอง คือ การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลักษณะอาการ ปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุมระบบประสาท แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย