สะเดา นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้างสะเดา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นสะเดา ( Neem ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A.Juss. ชื่อเรียกอื่นๆของต้นสะเดา เช่น สะเลียม สะเดาบ้าน เดา กระเดา ลำต๋าว กะเดา จะตัง จะดัง ผักสะเลม สะเรียม ตะหม่าเหมาะ สะเดาอินเดีย ควินิน กาเดา ไม้เดา เป็นต้น ต้นสะเดา เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถพบได้ตามป่าประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย  และ ประเทศไทย

ชนิดของสะเดา

ต้นสะเดา สามารถแบ่งได้ 3 สายพันธ์ คือ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง โดยรายละเอียดของสะเดาแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน โดย สะเดาไทย แบ่งได้ 2 ชนิด คือ สะเดาชนิดขม และ สะเดาชนิดมัน โดยสามารถสังเกตได้จากยอดอ่อน ซึ่ง ยอดอ่อนสะเดาขมจะมีสีแดง ส่วน ยอดอ่อนของสะเดามันจะมีสีขาว
  • สะเดาอินเดีย เป็นต้นสะเดาที่มีลักษณะใบขอบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายใบแหลม
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ

ลักษณะของสะเดา

ต้นสะเดา จัดเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสะเดา คือ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ลักษณะของต้นสะเดา มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นสะเดา ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล เปลือกค่อนข้างหนา ผิวเปลือกแตกเป็นร่องส่วนเปลือกของกิ่งจะค่อนข้างเรียบ แกนไม้สีน้ำตาลแดง เนื้อไม้แข็งและทนทานมาก
  • ใบสะเดา ลักษณะเป็นใบเดียว เกาะตามกิ่งก้านจนเป็นทรงพุ่ม ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบคล้ายปลายหอก
  • ดอกสะเดา ออกดอกเป็นช่อโดย การดอกออกตามง่ามใบ ความยาวด้านดอกประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลสะเดา เจริญเติบโตมาจากดอกสะเดา ลักษณะของผลสะเดา กลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ผลมีรสหวานเล็กน้อย
  • เมล็ดสะเดา อยู่ภายในผลสะเดา ลักษณะกลมรี ผิวของเมล็ดสะเดาเรียบ สีเหลือง ภายในเมล็ดสะเดามีน้ำมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับสะเดา นิยมนำยอดอ่อนของสะเดามารับประทานเป็นอาหาร โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี โดยพบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำ 77.9 กรัม เบตาแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 354 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

ช่อดอกสะเดา มีสารจำพวกไกลโคไซด์ Nimbasterin และ มีน้ำมันหอมระเหย 0.5% นอกจากนั้นยังมีสารต่างๆ เช่น Nimbecetin , Nimbesterol , กรดไขมัน และ สารที่มีรสขม

เมล็ดของสะเดา มีน้ำมัน เรียกว่า Nim oil มีสาร Margosic acid ถึง 45% หรือ สารให้รสขม Nimbin

สรรพคุณของสะเดา

การใช้ประโยชน์จากสะเดาด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก เปลือก กระพี้ แก่น ใบ ดอก ผลอ่อน ผลสุก และ ยาง โดย สรรพคุณของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากสะเดา สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้จุกคอและแน่นในอกหายใจไม่สะดวก
  • เปลือกต้นสะเดา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย
  • กระพี้สะเดา สรรพคุณแก้น้ำดีพิการ บำรุงน้ำดี
  • แก่นสะเดา สรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม ข่วยลดไข้ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเลือด
  • ใบสะเดา สรรพคุณช่วยน้ำย่อยอาหาร บำรุงเลือด รักษาฝี ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกสะเดา สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ
  • ผลอ่อนสะเดา สรรพคุณช่วยขับพยาธิ รักษาริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลสุกสะเดา สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย บำรุงหัวใจ
  • ยางสะเดา สรรพคุณช่วยลดไข้
  • น้ำมันจากเมล็ดสะเดา สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ปรโยชน์จากสะเดา ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธี โดยหากใช้ผิดวิธีำหรือในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดย โทษของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดามีรสขม ทำให้ความดันต่ำลง สำหรับผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรรับประทาน
  • การกินสะเดา ทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องอืดท้องเฟ้อ ควรหลีกเลี่ยงการกินสะเดา
  • สำหรับนสตรีหลังคลอด การกินสะเดาทำให้น้ำนมแห้ง ได้ เนื่องจากสพเดาทำให้ร่างกายเย็นลง ส่งผลต่อระบบการผลิตน้ำนมของสตรีหลังคลอด

สะเดา สมุนไพรรสขม นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา สรรพคุณของสะเดา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ต้นดาวเรือง ไม้ประดับ ดอกดาวเรือง สีเหลืองทอง นิยมใช้บูชาพระ ต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณแก้เวียนหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของดาวเรือง มีอะไรบ้าง ดาวเรื่อง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดาวเรือง ( African marigold )  จัดอยู่พืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน ชื่อวิทยาศาสตร์ของดาวเรือง คือ Tagetes erecta L. ชื่อเรียกอื่นๆของดาวเรือง เช่น คำปู้จู้หลวง พอทู บ่วงซิ่วเก็ก ว่านโซ่วจวี๋ บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง กิมเก็ก ดาวเรืองอเมริกัน เป็นต้น  ต้นดาวเรือง เจริญเติบโตเร็ว ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด แหล่งปลูกดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย คือ ลำปาง พะเยา ราชบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ เป็นต้น

สายพันธ์ดาวเรือง

สำหรับสายพันธ์ดาวเรืองที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 5 สายพันธ์ ประกอบด้วย ดาวเรืองอเมริกัน ( Tagetes erecta ) , ดาวเรืองฝรั่งเศส  ( Tagetes patula ) , ดาวเรืองนักเก็ต ( Triploid Marigold ) , ดาวเรืองซิกเน็ต ( Tagetes tenuifolia ) และ ดาวเรืองใบ ( Tagetes filifolia )

ลักษณะของต้นดาวเรือง

ต้นดาวเรือง คือ พืชล้มลุก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก อายุของต้นดาวเรือง 1 ปี สามารถขยายพันธ์ โดยการปักชำ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นดาวเรือง มีดังนี้

  • ลำต้นของดาวเรือง มีสีเขียว ลักษณะตั้งตรง ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แมลงไม่ชอบกลิ่นของต้นดาวเรือง ลำต้นดาวเรืองอ่อน ชุ่มน้ำ
  • ใบดาวเรือง ลักษณะของใบดาวเรืองทรงรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นซี่ฟัน มีสีเขียว เนื้อใบนิ่ม
  • ดอกดาวเรือง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกที่ปลายยอดของลำต้น ดอกดาวเรืองมีเหลือง กลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น
  • ผลดาวเรือง อยู่ในดอกดาวเรืองแห้ง ผลดาวเรืองมีสีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของดาวเรือง

สารสำคัญในดอกดาวเรือง สามารถสกัดสารต่างๆ ประกอบด้วย lutein และ zeaxanthin Lutein

สำหรับสารLutein ทำหน้าที่ในการปรับพลังงานให้เป็นพลังงานแสง เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่ใช่ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อจัดการกับคลอโรฟิลล์ 3 ตัวในพืช ลูทีน ยังใช้เป็นสีเหลืองธรรมชาติที่สำคัญในชีวิต

สรรพคุณของดาวเรือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดาวเรือง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชนืจาก ดอกดาวเรือง รากดาวเรือง และ ใบดาวเรือง โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของดาวเรือง มีดังนี้

  • รากดาวเรือง สรรพคุณเป็นยาเย็น บำรุงปอด บำรุงตับ ช่วยขับลม แก้อักเสบ
  • ดอกดาวเรือง สรรพคุณเป็นยาเย็น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงเลือด เป็นยาฟอกเลือด แก้เวียนหัว บำรุงสายตา แก้เจ็บตา รักษาโรคตาแดง รักษาคางทูม แก้อาการชัก แก้ร้อนใน รักษาหวัด แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล แก้ปวดตามข้อ
  • ใบดาวเรือง สรรคุณรักษาโรคตานขโมย แก้ปวดหู ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลเน่าเปื่อย รักษาแผลพุพอง
  • ทั้งต้นดาวเรือง สรรพคุณช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง

โทษของดาวเรือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดาวเรือง มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วยกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากดาวเรือง
  • ดอกดาวเรือง มีเกสร ซึ่งสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องแพ้เกสรดอกไม้ ไม่ควรใกล้ดอกดาวเรือง
  • ดอกดาวเรือง มีกลิ่นหอม หากสูดดมมากเกินไป อาจทำให้เวียนหัว และ อาเจียนได้

ต้นดาวเรือง คือ พืชล้มลุก ไม้ประดับ ดอกดาวเรือง สีเหลืองทอง อยู่คู่สังคมไทยมานาน นิยมใช้บูชาพระ ลักษณะของต้นดาวเรือง เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของดาวเรือง เช่น แก้เวียนหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของดาวเรือง มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย