หญ้าปักกิ่ง หญ้าเทวดา สมุนไพร สรรพคุณทางยาหลากหลาย ช่วยป้องกันมะเร็ง เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค โทษของหญ้าปักกิ่งมีอะไรบ้างหญ้าปักกิ่ง หญ้าเทวดา สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง

ต้นหญ้าปักกิ่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Angel Grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าปักกิ่ง คือ Murdannia loriformis (Hassk.) R.S.Rao & Kammathy และ Murdannia bracteata (C.B.Clarke) J.K.Morton ex D.Y.Hong สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของหญ้าปักกิ่ง เช่น หญ้าเทวดา ต้นอายุยืน เล่งจือเช่า งู้แอะเช่า และ หนิวเอ้อเฉ่า เป็นต้น เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน พบได้มากในประเทศจีน ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม โดยมักพบตามดินทรายริมลำธาร สำหรับประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ และ พื้นที่ริมแม่น้ำที่เป็นดินทราย

ประโยชน์ของหญ้าปักกิ่ง สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ นิยมรับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ รวมถึงปลูกเป็นไม้ประดับเป็นพืชคลุมดินใต้ต้นไม้ใหญ่ ด้านการรักษาโรคสามารถใช้เป็นยาร่วมในการรักษามะเร็ง ยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง ปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และ สามารถช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาแผนปัจจุบัน เช่น ผลจากการใช้เคมีบำบัด การใช้รังสีเทคนิค หญ้าปักกิ่งสามารถพัฒนาเป็นยาเม็ด ลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัดของผู้ป่วยมะเร็ง

หญ้าปักกิ่งในประเทศไทย

สำหรับหญ้าปักกิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ด้านจากการรักษาโรคในแพทย์แผนปัจจุบัน มีการศึกษาวิจัยหญ้าปักกิ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล องค์การเภสัชกรรมประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น แต่ปริมาณของหญ้าปักกิ่งมีน้อยยังต้องนำเข้าจากประเทศจีน

ลักษณะของต้นหญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง เป็นพืชประเภทไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า อายุยืนนานหลายปี ชอบดินปนทราย และ ต้องการแสงแดดแบบรำไรไม่มาก ขยายพันธุ์ โดยการปักชำ และ การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นหญ้าปักกิ่ง มีดังนี้

  • ลำต้น ความสูงของต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีช่อดอกจะยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม
  • ใบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายใบไผ่ กาบใบเป็นขนครุย สีใบสีเขียวอมเหลือง ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
  • ดอก ลักษณะดอกเป็นช่อเล็ก ๆ โดยจะออกที่ปลายยอด มีประมาณ 1-5 ช่อ กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี สีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วงอ่อน สีม่วงน้ำเงิน
  • ผล ลักษณะเป็นผลแห้งและแตกได้ ทำให้เมล็ดกระจาย เติบโตไปทั่วบริเวณข้างเคียง

สารสำคัญในหญ้าปักกิ่ง  ในหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ทางยา มากมาย เช่น สาร Glycosphingolipid (G1b) ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า 1B-O-D-glucopyranosy1-2-(2′-hydroy-6′-ene-cosamide)-sphingosine (G1b) สาร Cytoxic ซึ่งเป็นสารรักษามะเร็ง ไกลโคสฟิงโกไลพิดส์ (Glycosphingolipid) ที่มีชื่อว่า G1b สารชนิดนี้อาจมีฤทธิ์ปรับระบบภูมิคุ้มกันได้  และ สารสกัดหญ้าปักกิ่งยังมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase ทำลายสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าปักกิ่งในการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้น ดอก และ ใบ สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง มีดังนี้

  • ทั้งต้นหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ปรับสมดุลย์ของร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยลออาการอ่อนเพลีย ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไข้ แก้ไอ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ปวดท้อง รักษาฝี รักษาแผลหนอง รักษาแผลเรื้อรัง แก้ปวด แก้บวม แก้อักเสบ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • ใบหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณใช้ป้องกันสารพัดโรค สามารถรับประทานหญ้าปักกิ่งสดๆได้
  • ดอกหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงไต รักษาอาการไตอักเสบ

โทษของหญ้าปักกิ่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าปักกิ่ง จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสม และ ได้รับคำแนะนำในการใช้จากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีข้อควรคำนึง ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไป เนื่องจากหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์เป็นยาเย็น หากรับประทานต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ แขนขาชา กล้ามเนื้อลีบจนไม่อาจเดินได้
  • ใบของหญ้าปักกิ่ง เมื่อสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแพ้ มีอาการคันได้ เพราะ เป็นขนใบที่มีสาร แคลเซียมออกซาเลต และพวกเกลือโซเดียม บางคนอาจจะเกิดอาการแพ้ ผู้ที่สัมพัสแล้วเกิดอาการแพ้ต่างๆ ให้งดใช้ หญ้าปักกิ่ง ทันที

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ลำไย ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไรลำไย ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของลำไย

ต้นลำไย ภาษาอังกฤษ เรียก Longan ชื่อวิทยาศาสตร์ของลำไย คือ Dimocarpus longan Lour. มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งแหล่งปลูกลำไยในประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน สำหรับชื่ออื่นๆของลำไย เช่น บ่าลำไย กุ้ยหยวน กุ้ยอี้  เป็นต้น

สายพันธุ์ของลำไย

ต้นลำไยมีหลายสายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อบริโภค ซึ่งสายพันธ์ลำไยมีมากถึง 26 สายพันธุ์ แต่สายพันธ์ที่นิยมปลูกในปะเทศไทย มี 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ลำไยกะโหลก ลำไยกระดก ลำไยกะลา ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา และ ลำไยขาว โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไยกะโหลก ( ลำไยพันธุ์ดี ) เป็น สายพันธุ์ลำไย มีผลขนาดใหญ่ มีเนื้อหนารสหวาน แบ่งย่อยได้เป็น ลำไยสีชมพู ลำไยตลับนาค ลำไยเบี้ยวเขียว ลำไยอีแดง ลำไยอีดอ ลำไยอีดำ ลำไยอีแห้ว ลำไยอีเหลือง ลำไยพวงทอง ลำไยเพชรสาครทวาย ลำไยปู่มาตีนโค้ง เป็นต้น
  • ลำไยกระดูก หรือ ลำไยพื้นเมือง ( ลำไยป่า ) เป็นพันธุ์พื้นเมือง มีการอนุรักษ์ไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่นิยมปลูก ลักษณะะ ทรงพุ่มออกกว้างใบหนาทึบ ผลขนาดเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยรสไม่หวาน มีน้ำตาลแค่ประมาณ 13.75% ขึ้นทั่วไปปลูกง่าย แต่เหลือให้เห็นน้อย เพราะ ไม่นิยมปลูก เนื่องจาก ไม่ได้ราคา มีหลายพันธุ์ย่อยแต่มักเรียกรวมกันว่าลำไยพื้นเมือง
  • ลำไยกะลา หรือ ลำไยธรรมดา ผลขนาดปานกลาง เนื้อหนาค่อนข้างกว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีปริมาณน้ำมาก ให้ผลค่อนข้างดก
  • ลำไยสายน้ำผึ้ง มีลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่มีเนื้อสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดีอร่อย กลิ่นหอมกรอบ เมล็ดขนาดเล็ก
  • ลำไยเถา หรือ ลำไยเครือ ( ลำไยชลบุรี ) เป็นลำไยไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นแข็งจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลักยึด ผลขนาดเล็ก เมล็ดขนาดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อหุ้มเมล็ดค่อนข้างบางมีเนื้อน้อย รสชาติมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถัน จึงนิยมปลูกไว้ประดับมากกว่ารับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขาที่มีไม้ใหญ่
  • ลำไยขาว เป็นลำไยสายพันธุ์โบราณที่หายาก เชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการตามหาและ ตอนกิ่งเพื่อขยายพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง มีผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบขาว เนื้อมีสีขาวใส เมล็ดลักษณะลีบ รสค่อนข้างหวาน

ประโยชน์ของลำไย

ลำไยนิยมใช้ประโยชน์จากผลลำไย นำมารับประทานเป็นอาหาร มีกากใยอาหารและมีรสหวาน นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาลำไย บ่งชี้ว่าลำไยสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เพิ่มวิตามินซี ประโยชน์ช่วยในการบำรุงผิว ให้สดใส อ่อนกว่าวัย และ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการแก่ก่อนวัย นอกจากใช้รับประทานผลสดเป็นผลไม้ รสชาติอร่อย ทำเป็นน้ำลำไย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ดับกระหาย คลายร้อยได้ดี แปรรูปทำเป็นอาหารได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอยแก้ว วุ้นลำไย แยมลำไย เป็นต้น นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้หลากหลาย เช่น ลำไยกระป๋อง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย แยมลำไย เป็นต้น ส่วนเนื้อไม้สีแดงของต้นลำไย สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ

ลักษณะของต้นลำไย

ต้นลำไย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สามารถปลูกได้ในพื้นที่มีความสูง 300 ถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นลำไย มีดังนี้

  • ลำต้นลำไย ลำต้นความสูงประมาณ 30–40 ฟุต เปลือกลำต้นขรุขระมีสีน้ำตาลหรือสีเทา
  • ใบลำไย เป็นใบประกอบ ใบเรียงตัวสลับตามกิ่งก้าน ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ฐานใบค่อนข้างป้าน สีเขียวเข้ม เรียบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกลำไย ต้นลำไยออกดอกเป็นช่อ มีก้านดอกยาวมักพบช่อดอกตรงปลายกิ่ง ดอกลำไยมีสีขาว หรือ สีขาวออกเหลือง
  • ผลลำไย ลักษณะกลม เปลือกผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีน้ำตาล เปลือกผลค่อนข้างเรียบ มีเนื้อผลสีขาวใส ฉ่ำน้ำ รสหวาน
  • เมล็ดลำไย ลักษณะกลม อยู่แกนกลางของผลลำไย สีดำมัน แข็งมาก สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

การปลูกลำไย

ต้นลำไย สายพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาด คือ สายพันธุ์ดอ หรือ พันธุ์สีชมพู เบี้ยวเขียวและแห้ว ปราศจากโรค ได้จากการตอนกิ่ง พื้นที่เหมาะสำหรับปลูกลำไย เป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีระบบการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง คือ 5.5-6.5 มีการกระจายตัวของฝนดี ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 1,000 เมตร ระยะปลูก 8×8 เมตร หรือ 10×10 เมตร โรคของลำไย ที่ต้องระวัง ได้แก่ โรคราน้ำฝน หรือ โรคผลเน่า โรคใบไหม้ โรครากเน่าและโคนเน่า และโรคพุ่มไม้กวาด

คุณค่าทางอาหารของลำไย

สำหรับการรับประทานลำไยเป็นอาหารสามารถรับประทานผลลำไยเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลำไยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 60 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15.14 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 1.31 กรัม วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.13 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.052 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.05 มิลลิกรัม

สรรพคุณของลำไย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลำไยในการรักษาโรค และ บำรุงร่างกาย นิยมใช้ประโยชน์จากราก เปลือกลำต้น ใบ เมล็ด ดอกและผลของลำไย โดยสรรพคุณของลำไย สมุนไพร มีดังนี้

  • ใบลำไย สรรพคุณบรรเทาอาการไข้หวัด รักษาโรคมาลาเรีย รักษาโรคริดสีดวงทวาร รักษาแผลหนอง
  • เมล็ดลำไย สรรพคุณใช้รักษาแผลเน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวด รักษาแผลอักเสบ รักษาแผลหนอง ช่วยสมานแผล รักษากลากเกลื้อน
  • เปลือกของลำต้นสรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง แก้อ่อนเพลีย รักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • รากลำไย สรรพคุณรักษาอาการตกขาว ช่วยขับพยาธิ
  • ดอกลำไย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต
  • ผลลำไย สรรพคุณบำรุงม้าม บำรุงเลือดลม บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย รักษาอาการนอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า บำรุงประสาทและสมอง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดอาการปวดจากข้ออักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย และ ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ร่างกายซูบผอม ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว

โทษของลำไย 

การรับประทานลำไยมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการร้อนใน หรือ แผลในช่องปาก และ ตาแฉะน้ำตาไหล ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดีพอเหมาะ และ ผู้ที่มีอาการเจ็บคออยู่แล้ว มีอาการไอมีเสมหะ มีหนองเป็นแผลอักเสบ ไม่ควรรับประทานลำไย เพราะ การปลอกลำไยรับประทาน จะทำให้เนื้อลำไยด้านใน สัมพัสกับเปลือกด้านนอก ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคต่างๆอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ และ ทางเดินอาหาร

ลำไย สมุนไพร ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ลักษณะของต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณของลำไย เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย