กระวาน สมุนไพร นิยมทำนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องเทศ และนำมาทำยารักษาโรค สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ  ประโยชน์และโทษของกระวานเป็นอย่างไร

กระวาน สมุนไพร เครื่องเทศ

กระวาน ภาษาอังกฤษ เรียก Camphor ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระวาน คือ Amomum verum Blackw. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระวาน เช่น ปล้าก้อ กระวานขาว มะอี้ ข่าโคก ข่าโค่ม หมากเนิ้ง กระวานแดง กระวานไทย กระวานจันทร์ กระวานดำ กระวานโพธิสัตว์ เป็นต้น กระวานมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย และ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก เมล็ดกระวาน เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสมุนไพรโบราณในตำรับยา พิกัดตรีธาตุ ที่ประกอบด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และ อบเชย ซึ่งสูตรยาสมุนไพรโบราณนี้มีสรรพคุณ แก้ธาตุพิการ รักษาไข้ ช่วยขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ รักษาพิษตานซาง และ ช่วยบำรุงระบบน้ำดี นอกจากนั้นน้ำมันหอมระเหยของกระวานมีสรรพคุณ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ดี

กระวานในประเทศไทย

สำหรับกระวานจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีการส่งออกกระวานเพื่อทำเป็นเคร่ื่องเทศในการประกอบอาหาร ส่งออกไปประเทศจีนและฮ่องกง โดยแหล่งปลูกกระวานที่สำคัญของประเทศไทย คือ จังหวัดจันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฐธานี สงขลา แต่กระวานคุณภาพดีที่สุดที่ได้รับความนิยมและราคาสูง คือ กระวานจันทบุรี ที่ผลิตได้จากป่าบริเวณเขาสอยดาว ในจังหวัดจันทบุรี ผลผลิตของกระวานจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี

ชนิดของกระวาน

สำหรับกระวานที่มีการซื้อขายในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กระวานไทย และ กระวานเทศ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • กระวานเทศ ( Elettaria cardamomum ) ลักษณะผลแบนรี เป็นกระวานที่ปลูกมากในประเทศอินเดีย ศรีลังกา
  • กระวานไทย ( Amomum krevanh ) ลักษณะผลค่อนข้างกลม เป็นกระวานที่ปลูกมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก

ประโยชน์ของกระวาน เมล็ดของกระวานมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวของอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เหง้าอ่อนของกระวานใช้รับประทานได้มีกลิ่นหอมรสเผ็ดเล็กน้อย ผลแก่ของกระวาน นำมาตากแห้งทำเป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร ผลกระวานมาทำน้ำมันหอมระเหยใช้แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม

ลักษณะของต้นกระวาน 

ต้นกระวานจัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800 ฟุตขึ้นไป เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ใต้ร่มไม้ที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะในบริเวณป่าดงดิบของประเทศไทย โดยลักษณะของต้นกระวาน มีดังนี้

  • ลำต้นกระวาน มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นความสูงประมาณ 2 เมตร มีสีเขียว ลักษณะอวบน้ำ
  • ใบกระวาน เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบยาว ปลายใบแหลม ใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกกระวาน ออกดอกเป็นช่อ โดยช่อดอกกระวานจะออกมาจากเหง้า และชูขึ้น กลีบดอกกระวานมีสีเหลือง
  • ผลกระวาน ลักษณะกลม ติดกันเป็นพวง ผลมีสีขาวนวล ผิวของเปลือกผลกระวานเกลี้ยง ผลอ่อนมีขน ผลแก่จะร่วง มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดกระวาน มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร รสเผ็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว เมล็ดแก่เป็นสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระวาน

สำหรับด้านโภชนาการของกระวาน มีนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดกระวาน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 254 กิโลแคลอรีและมีสารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย โปรตีน 9.5 กรัม ไขมัน 6.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 39.7 กรัม แคลเซียม 16.0 กรัม ฟอสฟอรัส 23.0 มิลลิกรัม และ เหล็ก 12.6 มิลลิกรัม น้ำมันหอมระเหยจากกระวานมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa

สรรพคุณของกระวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระวานนิยมใช้ใบกระวาน ผลกระวานและเมล็ดกระวาน ซึ่งสรรพคุณของกระวาน มีดังนี้

  • ผลแก่กระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับเลือด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • ใบกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับลม ขับเสมหะ ทำให้สดชื่น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือกกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้ไข้ ทำให้สดชื่น รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย
  • แก่นกระวาน สรรพคุณรักษาโรคโลหิตเป็นพิษ
  • รากกระวาน สรรพคุณช่วยฟอกเลือด แก้โลหิตเน่าเสีย ขับเสมหะ
  • กระพี้กระวาน สรรพคุณบำรุงเลือด รักษาโรคผิวหนัง
  • หน่อกระวาน สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ

วิธีทำน้ำกระวาน

น้ำกระวาน ใช้ในการรักษาโรคท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ช่วยให้ระบบทำงานของลำไส้ ให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยมีวิธีเตรียมน้ำกระวาย คือ เตรียมผลกระวานแก่จัด ประมาณ 6-10 ลูก ตากแห้ง โดยใช้แสงแดด แล้วบดละเอียด ให้เป็นผง เวลาชง ให้ใช้ผงกระวานแห้งบดละเอียด ที่เตรียมไว้ ประมาณ 1-3 ช้อนชา นำผงมาต้มกับน้ำสะอาด 1 แก้ว เคี่ยวจน น้ำต้มลดเหลือครึ่งแก้ว ดื่มครั้งเดียวจนหมด

โทษของกระวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์กระวาน ก็เหมือนสมุนไพรทั่วไป ที่ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่เกิดโทษต่อร่างกาย แต่ยังไม่พบว่ามีรายงานถึงความเป็นพิษจากการใช้กระวาน ดังนั้นการใช้กระวานจึงน่าจะมีความปลอดภัยสูง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะขาม สมุนไพร ไม้ยืนต้น นิยมรรับประทานผลมะขามเป็นผลไม้ ปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์ สรรพคุณของมะขาม กากใยอาหารสูง วิตามินสูง บำรุงทางเดินอาหาร ขับเสมหะ บำรุงผิวมะขาม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้

ต้นมะขาม ภาษาอังกฤษ เรียก Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ Tamarindus indica L. เป็นพืชตระกูลถั่วมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชียในเวลาต่อมา ต้นมะขามปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

มะขามในประเทศไทย

เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อในสังคมไทย มองว่ามะขามเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน เชื่อว่าสามารถป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย ด้านของชื่อมะขาม พ้องกับคำว่าเกรงขาม ชื่อเป็นมงคลจึงนิยมปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลกับคนภายในประเทศ มะขามจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สำหรับจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องมะขาม คือ เพชรบูรณ์ มีฉายาว่า เมืองมะขามหวาน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะขาม มะขามในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม คือ มะขามเปรี้ยว ( sour tamarind ) และ มะขามหวาน ( sweet tamarind )

มะขามสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย นิยมนำมาทำอาหารทั้งใบอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่ และเมล็ด เนื้อมะขามแก่ หรือ มะขามเปียก มีรสเปรี้ยวใช้ปรุงรสอาหารทั้งใช้เป็นส่วนผสมของแกงส้ม ต้มส้ม ไข่ลูกเขย น้ำปลาหวาน ยอดและใบอ่อนมะขาม นำมาต้มเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว รวมถึงผลมะขามนำมาแปรรูปทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามแก้ว มะขามคลุก มะขามกวน เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม คือ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะแตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีหนาม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะขาม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขาม ตั้งตรง สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกขรุขระ หนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม มีขนาดเล็ด จำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีจุดประสีม่วงแดง
  • ผลมะขาม ออกเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา หรือ สีน้ำตาลเกรียม มีเนื้อในติดกับเปลือก ส่วนฝักแก่ฝัก เปลือกแข็งกรอบ และ หักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีน้ำตาล เนื้อมะขามแก่มีรสเปรี้ยว มีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม 

การรับประทานมะขามนิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบขนาด  100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาการต่างๆประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะขามด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากใบ ผล ราก โดยสรรพคุณของมะขาม มีดังนีเ

  • ผลมะขาม สรรพคุณเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย ลดการเกิดริ้วรอย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงเลือด ช่วยลดรอยคล้ำ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย ช่วยขจัดคราบสกปรกบริเวณฟัน บำรุงรากผม ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ บำรุงสายตา แก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน ช่วยถ่ายพยาธิตัวกลมในลำไส้และพยาธิไส้เดือน  ช่วยขับเสมหะ ละลายเสมหะ
  • รากมะขาม สรรพคุณช่วยในการรักษาโรคเริม รักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกลำต้นมะขาม สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยรักษาแผลสด รักษาแผลไฟลวก แผลเบาหวาน
  • แก่นไม้มะขาม สรรพคุณช่วยรักษาฝีในมดลูก ช่วยขับโลหิต ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ใช้สำหรับสตรหลังคลอด
  • ใบมะขาม สรรพคุรเป็นยาระบาย ช่วยขับลมในลำไส้ รักษาไข้หวัด อาการไอ รักษาโรคบิด ใช้เป็นยาหยอดตา รักษาเยื่อตาอักเสบ แก้อาการตามัว
  • เนื้อหุ้มเมล็ดของมะขาม สรรพคุณเป็นยาสวนล้างท้อง
  • ผลดิบมะขาม สรรพคุณลดความอ้วน เป็นยาระบาย ลดไข้
  • เปลือกเมล็ดมะขาม สรรพคุณช่วยสมานแผลที่ช่องปาก คอ ลิ้น และตามร่างกาย
  • ดอกมะขาม สรรพคุณเป็นยาลดความดันโลหิตสูง

โทษของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะขาม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ดังนี้

  • มะขามเปียก ที่ซื้อในตลาดอาจมีสิ่งสกปรกเจือปน หากนำมาทำอาหาร หรือ รับประทานแบบไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสียอย่างหนัก ซึ่งมะขามมีสรรพคุณเป็นยาระบายอยู่แล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากเกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และ ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย