ลำไย ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไรลำไย ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของลำไย

ต้นลำไย ภาษาอังกฤษ เรียก Longan ชื่อวิทยาศาสตร์ของลำไย คือ Dimocarpus longan Lour. มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งแหล่งปลูกลำไยในประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน สำหรับชื่ออื่นๆของลำไย เช่น บ่าลำไย กุ้ยหยวน กุ้ยอี้  เป็นต้น

สายพันธุ์ของลำไย

ต้นลำไยมีหลายสายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อบริโภค ซึ่งสายพันธ์ลำไยมีมากถึง 26 สายพันธุ์ แต่สายพันธ์ที่นิยมปลูกในปะเทศไทย มี 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ลำไยกะโหลก ลำไยกระดก ลำไยกะลา ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา และ ลำไยขาว โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไยกะโหลก ( ลำไยพันธุ์ดี ) เป็น สายพันธุ์ลำไย มีผลขนาดใหญ่ มีเนื้อหนารสหวาน แบ่งย่อยได้เป็น ลำไยสีชมพู ลำไยตลับนาค ลำไยเบี้ยวเขียว ลำไยอีแดง ลำไยอีดอ ลำไยอีดำ ลำไยอีแห้ว ลำไยอีเหลือง ลำไยพวงทอง ลำไยเพชรสาครทวาย ลำไยปู่มาตีนโค้ง เป็นต้น
  • ลำไยกระดูก หรือ ลำไยพื้นเมือง ( ลำไยป่า ) เป็นพันธุ์พื้นเมือง มีการอนุรักษ์ไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่นิยมปลูก ลักษณะะ ทรงพุ่มออกกว้างใบหนาทึบ ผลขนาดเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยรสไม่หวาน มีน้ำตาลแค่ประมาณ 13.75% ขึ้นทั่วไปปลูกง่าย แต่เหลือให้เห็นน้อย เพราะ ไม่นิยมปลูก เนื่องจาก ไม่ได้ราคา มีหลายพันธุ์ย่อยแต่มักเรียกรวมกันว่าลำไยพื้นเมือง
  • ลำไยกะลา หรือ ลำไยธรรมดา ผลขนาดปานกลาง เนื้อหนาค่อนข้างกว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีปริมาณน้ำมาก ให้ผลค่อนข้างดก
  • ลำไยสายน้ำผึ้ง มีลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่มีเนื้อสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดีอร่อย กลิ่นหอมกรอบ เมล็ดขนาดเล็ก
  • ลำไยเถา หรือ ลำไยเครือ ( ลำไยชลบุรี ) เป็นลำไยไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นแข็งจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลักยึด ผลขนาดเล็ก เมล็ดขนาดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อหุ้มเมล็ดค่อนข้างบางมีเนื้อน้อย รสชาติมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถัน จึงนิยมปลูกไว้ประดับมากกว่ารับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขาที่มีไม้ใหญ่
  • ลำไยขาว เป็นลำไยสายพันธุ์โบราณที่หายาก เชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการตามหาและ ตอนกิ่งเพื่อขยายพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง มีผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบขาว เนื้อมีสีขาวใส เมล็ดลักษณะลีบ รสค่อนข้างหวาน

ประโยชน์ของลำไย

ลำไยนิยมใช้ประโยชน์จากผลลำไย นำมารับประทานเป็นอาหาร มีกากใยอาหารและมีรสหวาน นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาลำไย บ่งชี้ว่าลำไยสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เพิ่มวิตามินซี ประโยชน์ช่วยในการบำรุงผิว ให้สดใส อ่อนกว่าวัย และ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการแก่ก่อนวัย นอกจากใช้รับประทานผลสดเป็นผลไม้ รสชาติอร่อย ทำเป็นน้ำลำไย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ดับกระหาย คลายร้อยได้ดี แปรรูปทำเป็นอาหารได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอยแก้ว วุ้นลำไย แยมลำไย เป็นต้น นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้หลากหลาย เช่น ลำไยกระป๋อง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย แยมลำไย เป็นต้น ส่วนเนื้อไม้สีแดงของต้นลำไย สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ

ลักษณะของต้นลำไย

ต้นลำไย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สามารถปลูกได้ในพื้นที่มีความสูง 300 ถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นลำไย มีดังนี้

  • ลำต้นลำไย ลำต้นความสูงประมาณ 30–40 ฟุต เปลือกลำต้นขรุขระมีสีน้ำตาลหรือสีเทา
  • ใบลำไย เป็นใบประกอบ ใบเรียงตัวสลับตามกิ่งก้าน ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ฐานใบค่อนข้างป้าน สีเขียวเข้ม เรียบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกลำไย ต้นลำไยออกดอกเป็นช่อ มีก้านดอกยาวมักพบช่อดอกตรงปลายกิ่ง ดอกลำไยมีสีขาว หรือ สีขาวออกเหลือง
  • ผลลำไย ลักษณะกลม เปลือกผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีน้ำตาล เปลือกผลค่อนข้างเรียบ มีเนื้อผลสีขาวใส ฉ่ำน้ำ รสหวาน
  • เมล็ดลำไย ลักษณะกลม อยู่แกนกลางของผลลำไย สีดำมัน แข็งมาก สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

การปลูกลำไย

ต้นลำไย สายพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาด คือ สายพันธุ์ดอ หรือ พันธุ์สีชมพู เบี้ยวเขียวและแห้ว ปราศจากโรค ได้จากการตอนกิ่ง พื้นที่เหมาะสำหรับปลูกลำไย เป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีระบบการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง คือ 5.5-6.5 มีการกระจายตัวของฝนดี ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 1,000 เมตร ระยะปลูก 8×8 เมตร หรือ 10×10 เมตร โรคของลำไย ที่ต้องระวัง ได้แก่ โรคราน้ำฝน หรือ โรคผลเน่า โรคใบไหม้ โรครากเน่าและโคนเน่า และโรคพุ่มไม้กวาด

คุณค่าทางอาหารของลำไย

สำหรับการรับประทานลำไยเป็นอาหารสามารถรับประทานผลลำไยเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลำไยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 60 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15.14 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 1.31 กรัม วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.13 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.052 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.05 มิลลิกรัม

สรรพคุณของลำไย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลำไยในการรักษาโรค และ บำรุงร่างกาย นิยมใช้ประโยชน์จากราก เปลือกลำต้น ใบ เมล็ด ดอกและผลของลำไย โดยสรรพคุณของลำไย สมุนไพร มีดังนี้

  • ใบลำไย สรรพคุณบรรเทาอาการไข้หวัด รักษาโรคมาลาเรีย รักษาโรคริดสีดวงทวาร รักษาแผลหนอง
  • เมล็ดลำไย สรรพคุณใช้รักษาแผลเน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวด รักษาแผลอักเสบ รักษาแผลหนอง ช่วยสมานแผล รักษากลากเกลื้อน
  • เปลือกของลำต้นสรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง แก้อ่อนเพลีย รักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • รากลำไย สรรพคุณรักษาอาการตกขาว ช่วยขับพยาธิ
  • ดอกลำไย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต
  • ผลลำไย สรรพคุณบำรุงม้าม บำรุงเลือดลม บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย รักษาอาการนอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า บำรุงประสาทและสมอง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดอาการปวดจากข้ออักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย และ ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ร่างกายซูบผอม ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว

โทษของลำไย 

การรับประทานลำไยมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการร้อนใน หรือ แผลในช่องปาก และ ตาแฉะน้ำตาไหล ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดีพอเหมาะ และ ผู้ที่มีอาการเจ็บคออยู่แล้ว มีอาการไอมีเสมหะ มีหนองเป็นแผลอักเสบ ไม่ควรรับประทานลำไย เพราะ การปลอกลำไยรับประทาน จะทำให้เนื้อลำไยด้านใน สัมพัสกับเปลือกด้านนอก ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคต่างๆอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ และ ทางเดินอาหาร

ลำไย สมุนไพร ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ลักษณะของต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณของลำไย เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

เจตมูลเพลิงแดง สมุนไพร ไม้ประดับดอกสวย รากสามารถนำมาทำยาได้ สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยขับเสมหะ ขับพยาธิ ขับประจำเดือน โทษของเจตมูลเพลิงเป็นอย่างไรเจตมูลเพลิงแดง สมุนไพรไทย สรรพคุณเจตมูลเพลิงแดง

ต้นเจตมูลเพลิงแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Rose-colored leadwort ชื่อวิทยาศาสตร์ของเจตมูลเพลิงแดง คือ Plumbago indica L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเจตมูลเพลิงแดง เช่น ปิดปีแดง ปิดปิวแดง ไฟใต้ดิน ตอชูกวอ ตั้งชู้โว้ คุ้ยวู่ อุบ๊ะกูจ๊ะ จื่อเสี่ยฮวา หงฮวาตัน   เจ็ดหมุนเพลิง เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ไม่ชอบน้ำมาก เจริญได้ดี ในที่แสงแดดรำไร ประโยชน์ของเจตมูลเพลิงแดง เช่น เปลือกใช้เป็นยาฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู ยอดอ่อนและใบ ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารหลายเมนู เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด แกงเนื้อ เป็นต้น

ลักษณะของต้นเจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง จัดเป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้พุ่ม อายุหลายปี พบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป ทุกภาคในไทย สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร ลักษณะของต้นเจตมูลเพลิงแดง มีดังนี้

  • ลำต้นเจตมูลเพลิงแดง ความสูงไม่มาก ไม่เกิน 1.5 เมตร แตกกิ่งค่อนข้างมาก ลำต้นกลมเรียบ ยอดอ่อนสีแดง กิ่งสีเขียวปนแดง
  • ใบเจตมูลเพลิงแดง ใบปลายแหลม รูปไข่ โคนใบมน เป็นใบเดี่ยว กว้าง 3-5 ซม. และ ยาว 8-13 ซม. ก้านใบ และ แกนกลางใบอ่อน มีสีแดง
  • ดอกเจตมูลเพลิงแดง ออกดอกเป็นช่อ ประมาณ 10-15 ดอก สีแดงสด มี 5 กลีบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้ง เกสรตัวผู้ และ รังไข่เพศเมีย สามารถผสมภายในดอกเองได้
  • ผลเจตมูลเพลิงแดง เป็นฝักกลม ผลมีรูปทรงรียาว มีขนไม่ยาวมาก ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกออกตามร่อง

สารสำคัญของเจตมูลเพลิงแดง

สำหรับการศีกษาสารสำคัญต่างๆในเจตมูลเพลิงแดง ซึ่งมีฤทธิ์ทางยา ช่วยแก้อาการผิดปกติ และ รักษาโรคต่างๆ พบว่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารสกัดทั้งต้นพบ Plumbagin, D-Naphthaquinone
  • สารสกัด และจำแนกเป็นจำพวกแนฟธาควิโนน (Naphthaquinone) ชื่อว่า Plumbagin, 3-chloroplumbagin, α-naphthaquinone มีฤทธิ์ ทางผิวหนัง หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือ เป็นผื่นแดงไหม้ ไม่ควรใช้ เจตมูลเพลิงแดงมากเกินไป
  • สาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านเชื้อมาลาเรีย ต้านโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ต้านความสามารถในการสืบพันธุ์ ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ และ เซลล์มะเร็งทุกชนิด นอกจากนั้น ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง การสังเคราะห์ Chitin ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เรื่อง การออกดอกของกล้วยไม้ และ สามารถยับยั้งการเจริญของไส้เดือนฝอย
  • สาร Napthoquinone สามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ ฤทธิ์ต่อต้านยีสต์ และ แบคทีเรีย ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา

สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง มีฤทธิ์ตามตำรับยาไทยโบราณ เป็น ยาร้อน มีฤทธิ์ส่งเสริมธาตุไฟ ปรับสมดุล สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เพราะ มีสารสำคัญ มีฤทธิ์ทางยา กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ต้านเชื้อโรค และ กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก สรรพคุณทางยาสามารถใช้ได้จาก ราก ทั้งต้น ดอกและใบ สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง มีดังนี้

  • รากเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง เป็นยาขับเลือด ช่วยฟอกเลือด บำรุงเลือด ทำให้ร่างกายอบอุ่น รักษาปอดบวม แก้ปวดฟัน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาทางเดิกปัสสาวะอักเสบ รักษากามโรค รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการตกขาว บำรุงสำหรับสตรีหลังคลอด แก้ปวดเมื่อย
  • ใบเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณช่วยขับลม ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร
  • ทั้งต้นเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ช่วยฟอกเลือด แก้ปวดท้อง รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง แก้ฟกช้ำ
  • ดอกเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณรักษาโรคตา ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ผลเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณรักษาแผลฝี ถ่ายพยาธิผิวหนัง

ตำรับยาที่เกี่ยวข้องกับเจตมูลเพลิงแดง 

เจตมูลเพลิงแดง เป็นยาร้อน มีฤทธิ์บำรุงธาตุไฟ การนำมาใช้เดี่ยวๆ จะรักษาได้บางโรค บางอาการ เท่านั้น และ ใช้ได้เป็นครั้งคราว การเข้ายากับ สมุนไพร ชนิดอื่น ตามตำรายาโบราณ จะช่วยลดทอน ฤทธิ์ซึ่งกันและกัน สามารถใช้เป็นยาบำรุง ใช้ได้เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน ตำรับยาที่เกี่ยวข้องกับเจตมูลเพลิงแดง ได้แก่

  • ตำรับยาเบญจกูล ประกอบด้วย รากเจตมูลเพลิงแดง รากชะพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน และผลดีปลี สัดส่วนที่ใช้ คือ ใช้รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน กองวาโยธาตุ ใช้รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน และ กองอากาศธาตุ ใช้รากเจตมูลเพลิง 2 ส่วน สามารถช่วยต้านเซลล์มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม ได้ดี เป็นยาบำรุงช่วยชะลอความแก่ เพราะ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ตำรับยามันทธาตุ ประกอบไปด้วย สมุนไพร หลายชนิด ได้แก่ กระเทียม การบูร กานพลู โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐสอ โกฐหัวบัว จันทร์แดง จันทร์เทศ ดีปลี เทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน รากช้าพลู รากเจตมูลเพลิงแดง รากไคร้เครือ เถาสะค้าน ลูกจันทร์ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน พริกไทยล่อน หนักอย่างละ 1 ส่วน ขิง และลูกเบญกานี หนักอย่างละ 3 ส่วน ( ใช้ส่วนราก )
  • ตำรับยาธรณีสัณฑะฆาต เป็น ยาสรรพคุณคลายเส้น ประกอบไปด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ กานพลู โกฐกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า ขิง ชะเอมเทศ ลูกกระวาน ลูกเร่ว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนขาว เทียนดำ รากเจตมูลเพลิงแดง หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง หัวดองดึง หนักอย่างละ 1 ส่วน ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักอย่างละละ 2 ส่วน, รงทอง ( ประสะแล้ว ) หนัก 4 ส่วน, การบูร เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ หนักอย่างละ 6 ส่วน, ยาดำ หนัก 20 ส่วน และพริกไทยล่อน หนัก 96 ส่วน ( ใช้ส่วนราก )
  • ตำรับยาหอมนวโกฐ และ ยาประสะกานพลู เจตมูลเพลิงแดง เป็น ส่วนประกอบสำคัญ ช่วยรักษา กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต หรือ ยาแก้ลม
  • ยาหอมอินทจักร์ แก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้ ตำรับยาแก้โรคเหงื่อออกมาก ยาสมุนไพรแก้โรควิงเวียนหน้ามืดตาลาย ตำรับยาขนานใหญ่ แก้โรคลมอัมพาต ยาสมุนไพรแก้โรคลมต่าง ๆ ยาแก้โรคประสาท ยาสมุนไพรแก้โรคกระเพาะ ยาแก้ธาตุทั้งสี่แปรปรวน

โทษของเจตมูลเพลิงแดง

ถึงแม้เจตมูลเพลิงแดงจะมีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย ที่ใช้ในการนำมาทำยาตามตำราแพทย์แผนไทย แต่หากใช้อย่างไม่ถูกต้องในปริมาณที่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ โทษของเจตมูลเพลิง มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่มีครรภ์ ไม่ควรห้ามรับประทานยาจาเจตมูลเพลิงแดง เนื่องจากเจตมูลเพลิงแดงมีสรรพคุณในการขับเลือด ซึ่งอาจเกิดการกระตุ้นมดลูก เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้
  • เนื่องจากรากของเจตมูลเพลิงแดงมีน้ำยาง มีฤทธิ์ทำลายเยื่ออ่อน เมื่อถูกผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังไหม้ และ พองได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ เจตมูลเพลิงแดง หากต้องการใช้ราก จะต้องสวมถุงมือทุกครั้ง
  • การรับประทานเจตมูลเพลิงแดง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และ อาจเป็นพิษได้
  • ยางจากรากเจตมูลเพลิงแดง หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคือง ไหม้พองที่ผิวได้

เจตมูลเพลิงแดง สมุนไพร ไม้ประดับดอกสวย รากสามารถนำมาทำยาได้ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยขับเสมหะ ขับพยาธิ ขับประจำเดือน โทษของเจตมูลเพลิงแดงเป็นอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย