เจตมูลเพลิงแดง สมุนไพร ไม้ประดับดอกสวย รากสามารถนำมาทำยาได้ สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยขับเสมหะ ขับพยาธิ ขับประจำเดือน โทษของเจตมูลเพลิงเป็นอย่างไรเจตมูลเพลิงแดง สมุนไพรไทย สรรพคุณเจตมูลเพลิงแดง

ต้นเจตมูลเพลิงแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Rose-colored leadwort ชื่อวิทยาศาสตร์ของเจตมูลเพลิงแดง คือ Plumbago indica L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเจตมูลเพลิงแดง เช่น ปิดปีแดง ปิดปิวแดง ไฟใต้ดิน ตอชูกวอ ตั้งชู้โว้ คุ้ยวู่ อุบ๊ะกูจ๊ะ จื่อเสี่ยฮวา หงฮวาตัน   เจ็ดหมุนเพลิง เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ไม่ชอบน้ำมาก เจริญได้ดี ในที่แสงแดดรำไร ประโยชน์ของเจตมูลเพลิงแดง เช่น เปลือกใช้เป็นยาฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู ยอดอ่อนและใบ ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารหลายเมนู เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด แกงเนื้อ เป็นต้น

ลักษณะของต้นเจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง จัดเป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้พุ่ม อายุหลายปี พบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป ทุกภาคในไทย สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร ลักษณะของต้นเจตมูลเพลิงแดง มีดังนี้

  • ลำต้นเจตมูลเพลิงแดง ความสูงไม่มาก ไม่เกิน 1.5 เมตร แตกกิ่งค่อนข้างมาก ลำต้นกลมเรียบ ยอดอ่อนสีแดง กิ่งสีเขียวปนแดง
  • ใบเจตมูลเพลิงแดง ใบปลายแหลม รูปไข่ โคนใบมน เป็นใบเดี่ยว กว้าง 3-5 ซม. และ ยาว 8-13 ซม. ก้านใบ และ แกนกลางใบอ่อน มีสีแดง
  • ดอกเจตมูลเพลิงแดง ออกดอกเป็นช่อ ประมาณ 10-15 ดอก สีแดงสด มี 5 กลีบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้ง เกสรตัวผู้ และ รังไข่เพศเมีย สามารถผสมภายในดอกเองได้
  • ผลเจตมูลเพลิงแดง เป็นฝักกลม ผลมีรูปทรงรียาว มีขนไม่ยาวมาก ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกออกตามร่อง

สารสำคัญของเจตมูลเพลิงแดง

สำหรับการศีกษาสารสำคัญต่างๆในเจตมูลเพลิงแดง ซึ่งมีฤทธิ์ทางยา ช่วยแก้อาการผิดปกติ และ รักษาโรคต่างๆ พบว่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารสกัดทั้งต้นพบ Plumbagin, D-Naphthaquinone
  • สารสกัด และจำแนกเป็นจำพวกแนฟธาควิโนน (Naphthaquinone) ชื่อว่า Plumbagin, 3-chloroplumbagin, α-naphthaquinone มีฤทธิ์ ทางผิวหนัง หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือ เป็นผื่นแดงไหม้ ไม่ควรใช้ เจตมูลเพลิงแดงมากเกินไป
  • สาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านเชื้อมาลาเรีย ต้านโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ต้านความสามารถในการสืบพันธุ์ ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ และ เซลล์มะเร็งทุกชนิด นอกจากนั้น ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง การสังเคราะห์ Chitin ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เรื่อง การออกดอกของกล้วยไม้ และ สามารถยับยั้งการเจริญของไส้เดือนฝอย
  • สาร Napthoquinone สามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ ฤทธิ์ต่อต้านยีสต์ และ แบคทีเรีย ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา

สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง มีฤทธิ์ตามตำรับยาไทยโบราณ เป็น ยาร้อน มีฤทธิ์ส่งเสริมธาตุไฟ ปรับสมดุล สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เพราะ มีสารสำคัญ มีฤทธิ์ทางยา กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ต้านเชื้อโรค และ กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก สรรพคุณทางยาสามารถใช้ได้จาก ราก ทั้งต้น ดอกและใบ สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง มีดังนี้

  • รากเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง เป็นยาขับเลือด ช่วยฟอกเลือด บำรุงเลือด ทำให้ร่างกายอบอุ่น รักษาปอดบวม แก้ปวดฟัน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาทางเดิกปัสสาวะอักเสบ รักษากามโรค รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการตกขาว บำรุงสำหรับสตรีหลังคลอด แก้ปวดเมื่อย
  • ใบเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณช่วยขับลม ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร
  • ทั้งต้นเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ช่วยฟอกเลือด แก้ปวดท้อง รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง แก้ฟกช้ำ
  • ดอกเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณรักษาโรคตา ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ผลเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณรักษาแผลฝี ถ่ายพยาธิผิวหนัง

ตำรับยาที่เกี่ยวข้องกับเจตมูลเพลิงแดง 

เจตมูลเพลิงแดง เป็นยาร้อน มีฤทธิ์บำรุงธาตุไฟ การนำมาใช้เดี่ยวๆ จะรักษาได้บางโรค บางอาการ เท่านั้น และ ใช้ได้เป็นครั้งคราว การเข้ายากับ สมุนไพร ชนิดอื่น ตามตำรายาโบราณ จะช่วยลดทอน ฤทธิ์ซึ่งกันและกัน สามารถใช้เป็นยาบำรุง ใช้ได้เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน ตำรับยาที่เกี่ยวข้องกับเจตมูลเพลิงแดง ได้แก่

  • ตำรับยาเบญจกูล ประกอบด้วย รากเจตมูลเพลิงแดง รากชะพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน และผลดีปลี สัดส่วนที่ใช้ คือ ใช้รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน กองวาโยธาตุ ใช้รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน และ กองอากาศธาตุ ใช้รากเจตมูลเพลิง 2 ส่วน สามารถช่วยต้านเซลล์มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม ได้ดี เป็นยาบำรุงช่วยชะลอความแก่ เพราะ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ตำรับยามันทธาตุ ประกอบไปด้วย สมุนไพร หลายชนิด ได้แก่ กระเทียม การบูร กานพลู โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐสอ โกฐหัวบัว จันทร์แดง จันทร์เทศ ดีปลี เทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน รากช้าพลู รากเจตมูลเพลิงแดง รากไคร้เครือ เถาสะค้าน ลูกจันทร์ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน พริกไทยล่อน หนักอย่างละ 1 ส่วน ขิง และลูกเบญกานี หนักอย่างละ 3 ส่วน ( ใช้ส่วนราก )
  • ตำรับยาธรณีสัณฑะฆาต เป็น ยาสรรพคุณคลายเส้น ประกอบไปด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ กานพลู โกฐกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า ขิง ชะเอมเทศ ลูกกระวาน ลูกเร่ว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนขาว เทียนดำ รากเจตมูลเพลิงแดง หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง หัวดองดึง หนักอย่างละ 1 ส่วน ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักอย่างละละ 2 ส่วน, รงทอง ( ประสะแล้ว ) หนัก 4 ส่วน, การบูร เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ หนักอย่างละ 6 ส่วน, ยาดำ หนัก 20 ส่วน และพริกไทยล่อน หนัก 96 ส่วน ( ใช้ส่วนราก )
  • ตำรับยาหอมนวโกฐ และ ยาประสะกานพลู เจตมูลเพลิงแดง เป็น ส่วนประกอบสำคัญ ช่วยรักษา กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต หรือ ยาแก้ลม
  • ยาหอมอินทจักร์ แก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้ ตำรับยาแก้โรคเหงื่อออกมาก ยาสมุนไพรแก้โรควิงเวียนหน้ามืดตาลาย ตำรับยาขนานใหญ่ แก้โรคลมอัมพาต ยาสมุนไพรแก้โรคลมต่าง ๆ ยาแก้โรคประสาท ยาสมุนไพรแก้โรคกระเพาะ ยาแก้ธาตุทั้งสี่แปรปรวน

โทษของเจตมูลเพลิงแดง

ถึงแม้เจตมูลเพลิงแดงจะมีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย ที่ใช้ในการนำมาทำยาตามตำราแพทย์แผนไทย แต่หากใช้อย่างไม่ถูกต้องในปริมาณที่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ โทษของเจตมูลเพลิง มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่มีครรภ์ ไม่ควรห้ามรับประทานยาจาเจตมูลเพลิงแดง เนื่องจากเจตมูลเพลิงแดงมีสรรพคุณในการขับเลือด ซึ่งอาจเกิดการกระตุ้นมดลูก เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้
  • เนื่องจากรากของเจตมูลเพลิงแดงมีน้ำยาง มีฤทธิ์ทำลายเยื่ออ่อน เมื่อถูกผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังไหม้ และ พองได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ เจตมูลเพลิงแดง หากต้องการใช้ราก จะต้องสวมถุงมือทุกครั้ง
  • การรับประทานเจตมูลเพลิงแดง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และ อาจเป็นพิษได้
  • ยางจากรากเจตมูลเพลิงแดง หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคือง ไหม้พองที่ผิวได้

เจตมูลเพลิงแดง สมุนไพร ไม้ประดับดอกสวย รากสามารถนำมาทำยาได้ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยขับเสมหะ ขับพยาธิ ขับประจำเดือน โทษของเจตมูลเพลิงแดงเป็นอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ประโยชน์ของมังคดมีหลากหลาย เปลือกมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงสายตา มีฤทธิ์ต้านมะเร็งมังคุด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ภาษาอังกฤษ เรียก mangoteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana L. มังคุด เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีฉายาว่า ราชินีแห่งผลไม้ ( Queen of fruit ) ซึ่งอาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบบนหัวคล้าย ๆ กับมงกุฎของพระราชินี

ประโยชน์ของมังคุด นอกจากการรับประทานเป็นผลไม้ คู่กับการรับประทานทุเรียนแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ต่างๆได้อีกมากมาย มีรายละเอียดดังนี้

  • ทำเป็นน้ำผลไม้ เช่น น้ำมังคุดสด และ น้ำเปลือกมังคุด
  • นำมาทำเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยในการชะลอวัย และ การเกิดริ้วรอย
  • นำมาทำครีมบำรุงผิวพรรณ ให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง ป้องกันการเกิดสิวได้ดี
  • นำมาทำยาบำรุง เสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน ป้องกันโรค ให้แข็งแรงขึ้น
  • ดับกลิ่นปาก ลดอาการปากเหม็น ใช้ลดกลิ่นปากได้ดี
  • มีสารช่วยป้องกันเชื้อรา สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้
  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร สามารถทำได้ ทั้งอาหารคาว และ อาหารหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด
  • สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานได้ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  • มีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้ในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิว และ อาการแพ้สารเคมีต่าง
  • นำมาแปรรูปเป็น สบู่เปลือกมังคุด ซึ่งช่วยดับกลิ่นเต่า กลิ่นอับ รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของ โรคผิวหนัง

มังคุดในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มังคุดจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยประเทศที่นิยมมังคุดไทย เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ มูลค่าการส่งออกของมังคุดในแต่ละปีประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งการส่งออกมีทั้งในรูปของผลมังคุดสดและมังคุดแปรรูป แหล่งปลูกมังคดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ภาคใต้ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมังคุดให้ได้รสชาติที่อร่อย มังคุดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะของต้นมังคุด

ต้นมังคุดเป็นไม้ยืนต้น ชอบสภาพดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูงและระบายน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด การตอนกิน เป็นต้น ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  •  ลำต้นมังคุด ความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นมียางสีเหลือง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบมังคุด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า
  • ดอกมังคุด ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ
  • ผลมังคุด ผลสดค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้

การปลูกมังคุด

ต้นมังคุด นิยมซื้อต้นพันธุ์จากเรือนเพาะชำทั่วไป โดยเลือกต้นที่แข็งแรง สภาพพื้นที่ ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร มี ความเป็นกรดด่างของดิน ประมาณ 5.5-6.5 พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล  ไม่เกิน 650 เมตร ความลาดเอียงประมาณ 1-3% สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนควรมีมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี การ การกระจายตัวของฝนค่อนข้างดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% แหล่งน้ำ ควรมีปริมาณเพียงพอตลอดปี ไม่มีสารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน มี ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ระหว่าง 6.0-7.5 การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างแถว และ ต้น คือ 8×8 เมตร หรือ 10×10 และ ระบบแถวกว้างต้นชิด ระยะปลูกระหว่างแถว 8×3 เมตร หรือ 10×5 เมตร

สรรพคุณของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมังคุดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก เนื้อผลมังคด และ เปลือกผลมังคุด สรรพคุณของมังคุด มีดังนี้

  • ช่วยลดไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงกระดูก ช่วยสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รักษาอาการข้อเข่าอักเสบ อาการข้อบวม ปวดตาข้อ
  • บำรุงกำลัง เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย
  • บำรุงผิวพรรณและใบหน้า ทำให้หน้าใส โดย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ลดสิว ต้านการอักเสบของสิว
  • ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ป้องกันอัลไซเมอร์ ป้องกันพาร์กินสัน
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ทุกชนิด เช่น เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยเพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับ คอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงช่องปาก ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเลือดออกตามลายฟัน รักษาแผลในช่องปาก แผลร้อนใน
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  • แก้ท้องเสียแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง
  • ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงระบบทางเดินปัสสาวะให้อยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีการถ่ายปัสสาวะขัด ป้องกันโรคนิ่วในไต
  • ช่วยสมานแผล ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
  • ยับยั้งการเกิดโรคและรักษาโรคผิวหนัง เช่น กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน รักษาอาการน้ำกัดเท้า รักษาแผลเปื่อย

คุณค่าทางโภชนาของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์และการบริโภคมังคุดนินมรับประทานเนื้อผลมังคุดเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมังคด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง พลังงาน 73 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม โปรตีน 0.41 กรัม วิตามินบี1 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.286 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.032 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.018 มิลลิกรัม วิตามินบี9 31 ไมโครกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.102 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.21 มิลลิกรัม

มีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งและอาการแพ้ต่าง ๆ และยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์

มีสารแทนนิน (Tannin) ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ

โทษของมังคุด

มังคุดมีสารแทนนิน ( Tannin ) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับและไต อาจจะเกิดมะเร็งในร่องแก้มบนใบหน้า ในทางเดินอาหารส่วนบน และ ยังมีฤทธิ์ ลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง จากปกติ ดังนั้น ควรเลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกันนานๆ และ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะดีต่อสุขภาพ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย