แก้วมังกร ผลไม้ สมุนไพร ลักษณะของต้นแก้วมังกร คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณของแก้วมังกร เช่น ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้างแก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ  Hylocereus undatus  นิยมรับประทานผลแก้วมังกร เป็น ผลไม้ เนื่องจากรสชาติอร่อยไม่หวานมากเกินไป ชุ่มฉ่ำ แก้กระหาย รักษาโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย

แก้วมังกร มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกากลาง เป็นพืชตระกูลกระบองเพชร ปัจจุบัน แก้วมังกร สามารถปลูกได้ทั่วในประเทศไทย แหล่งปลูกแก้วมังกรของประเทศไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม ผลผลิตแก้วมังกรจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

สายพันธ์ของแก้วมังกร

สำหรับสายพันแก้วมังกรที่นิยมปลูก มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง สายันีธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ สายพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง รายละเอียด ดังนี้

  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดงอมชมพู มีกลีบผลสีเขียว เนื้อเป็นสีขาว มีรสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus megalanthus ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกผลสีเหลือง ขนาดผลเล็ก เนื้อสีขาว มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus costaricensis เรียกอีกชื่อว่า แก้วมังกรสายพันธุ์คอสตาริกา ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดง ผลมีขนาดเล็ก เนื้อสีแดง รสหวาน

ลักษณะของต้นแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร พืชล้มลุก ตระกูลกระบองเพชร สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการปักชำ ลักษณะของต้นแก้วมังกร มีดังนี้

  • รากแก้วมังกร ลักษณะเป็นรากฝอย รากขนาดเล็ก และ แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นแก้วมังกร คล้ายลำต้นของกระบองเพชร ลำต้นเป็นปล้องๆ เป็นสามเหลี่ยม สีเขียว มีหนาม อวบน้ำ มีขอบรอยหยักเป็นระยะๆ
  • ดอกแก้วมังกร ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายของลำต้น ดอกแก้วมังกรเป็นตุ่มสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และ หุบในตอนเช้า
  • ผลแก้วมังกร ผลแก้วมังกรเจริญเติบโตจากดอก ผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกของผลหนา ผิวของเปลือกจะคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว ภายในแก้วมังกรมีเนื้อ อวบน้ำ และ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรจะใช้ประโยชน์จากการบริโภคผลแก้วมังกร นักโถชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกร ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกร ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม กลูโคส 5.70 กรัม ฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3.0 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในผลแก้วมังกร พบมีหลายสาร ใน เปลือกของผล และ เนื้อของแก้วมังกร ดังนี้

  • เนื้อผลสุก มี mucilage และ สารกลุ่ม betalains , betanin , isobetanin , phyllocactin , isophyllocactin , hylocerenin และ isohylocerenin
  • เปลือกของผล มี betanin , isobetanin และ phyllocactin

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นจะใช้ประโยชน์จากผลแก้วมังกร สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีความสดใสและชุ่มชื่น
  • ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • บำรุงกระดูกและฟัน
  • ลดความอ้วน ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

โทษของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ทำให้เกิดโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคแก้วมังกร  มีดังนี้

  • สรรพคุณของแก้วมังกร ทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย หากกินมากเกินไป อาจทำให้มือเท้าเย็นและท้องเสียง่าย
  • สตรีที่อยู่ในขณะมีประจำเดือน ควรงดการกินแก้วมังกร ความเย็นของแก้วมังกร อาจทำให้เลือดเสียจับตัวเป็นก้อน และ ทำให้ประจำเดือนขัดได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ชะมวง พืชพื้นบ้าน สมุนไพร ใบชะมวงรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นชะมวง สรรพคุณของชะมวงเช่น บำรุงเลือด เป็นยาระบาย ช่วยขับเสมหะ โทษของชะมวง มีอะไรบ้างชะมวง สมุนไพร ใบชะมวง สรรพคุณของชะมวง

ต้นชะมวง ภาษาอังกฤษ เรียก Cowa พืชตระกูลมังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมวง คือ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะมวง เช่น ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง มวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง เป็นต้น

ต้นชะมวง พืชท้องถิ่น ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า มาเลเชีย ลาว เวียดนาม อินโดนีเชีย และไทย ชะมวงสามารถพบได้ทั่วไป แต่มีมากในภาคใต้ ชะมวง ชอบดินชื้น ใกล้แหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำห้วย ลำคลอง ใบชะมวง ในสังคมไทย นิยมใช้นำมาทำอาหาร หลากหลายเมนู เช่น หมูชะมวง ต้มเนื้อชะมวง เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะมวง

ต้นชะมวง ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กและขนาดกลาง ชอบอากาศร้อนชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนสูงตลอดปี ชะมวงจึงเจริญเติบโตได้ดีในภาคตะวันออกและภาคใต้ ของประเทศไทย ชะมวงสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการตอนกิ่ง ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

  • ลำต้นชะมวง เป็นทรงพุ่มรูปกรวย ความสูงของลำต้นประมาณ 10 เมตร ลำต้นผิวเกลี้ยง แตกเป็นสะเก็ด ลำต้นแตกกิ่งก้านทางตอนบนของต้น เปลือกสีน้ำตาลดำ เปลือกด้านในสีชมพูแดง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองขุ่น
  • ใบชะมวง เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเขียวอมม่วง ใบแก่เสีเขียวเข้ม ใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา แค่เปราะ
  • ดอกชะมวง ดอกออกเป็นช่อลักษณะเป็นกระจุก ออกดอกตามซอกใบ และ ออกดอกตามกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกหนาและแข็ง ดอกชะมวงจะออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลชะมวง ผลเจริญเติบโตจากดอก ลักษณะของผลกลม เป็นแฉกๆเหมือนรูปดาว ผิวของผลเรียบและเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง ผลชะมวงสุกรสเปรี้ยว สามารถใช้รับประทาน แต่ผลชะมวงมียางทำให้ติดฟันได้ ผลชะมวงออกผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของชะมวง

สำหรับชะมวงสามารถนำมารับประทานได้ทั้งใบและผล นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะมวงและสารต่างๆในชะมวง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะมวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 51 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม น้ำ 84.1 กรัม วิตามินเอ วิตามินบี1 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 29 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม

สารเคมีที่พบในใบชะมวง พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ชนิดC-glycoside ได้แก่ vitexin , orientin และ สารกลุ่มสเตียรอยด์ ได้แก่ beta-sitosterol ใบชะมวงมีสารชะมวงโอน ( Chamuangone ) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี มีการนำไปทดสอบกับ เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร ช่วยยับยั้งเชื้อโพรโทซัว เป็นต้น

ประโยชน์ของชะมวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง นอกจากด้านอาหารและการรักษาโรค มีดังนี้

  • เนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปได้ ใช้ในงานก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน เครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง
  • ต้นชะมวง นำมาปลูก เพื่อเป็นไม้ประดับ เพื่อให้ร่มเงา สร้างความร่มรื่น
  • เปลือกของต้นชะมวง นำมาทำสีย้อมผ้า
  • ยางของชะมวงนำมาทำสีเหลือง สำหรับนำมาย้อมผ้า และ ยางนำมาผสมน้ำมันใช้ขัดเงาได้

สรรพคุณของชะมวง

สำหรับสรรพคุณของชะมวง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ เปลือก เนื้อไม้ ดอก ราก และ ยาง สรรพคุณของชะมวง มีดังนี้

  • ผลชะมวง สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย
  • ใบชะมวง  สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยขับเลือดเสีย ช่วยขับระดู
  • ดอกชะมวง สรรพคุณช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
  • รากชะมวง สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง
  • เนื้อไม้ชะมวง สรรพคุณขับเสมหะ เป็นยาระบาย

โทษของชะมวง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง ต้องใช้อย่างเหมาะสม และ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากชะมวง มีดังนี้

  • ยางจากผลชะมวง ทำให้เกิดการฝืดในช่องปาก ทำให้ติดฟัน
  • ใบชะมวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับระดูของสตรี สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานชะมวง อาจทำให้แท้งได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย