มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ประโยชน์ของมังคดมีหลากหลาย เปลือกมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงสายตา มีฤทธิ์ต้านมะเร็งมังคุด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ภาษาอังกฤษ เรียก mangoteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana L. มังคุด เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีฉายาว่า ราชินีแห่งผลไม้ ( Queen of fruit ) ซึ่งอาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบบนหัวคล้าย ๆ กับมงกุฎของพระราชินี

ประโยชน์ของมังคุด นอกจากการรับประทานเป็นผลไม้ คู่กับการรับประทานทุเรียนแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ต่างๆได้อีกมากมาย มีรายละเอียดดังนี้

  • ทำเป็นน้ำผลไม้ เช่น น้ำมังคุดสด และ น้ำเปลือกมังคุด
  • นำมาทำเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยในการชะลอวัย และ การเกิดริ้วรอย
  • นำมาทำครีมบำรุงผิวพรรณ ให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง ป้องกันการเกิดสิวได้ดี
  • นำมาทำยาบำรุง เสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน ป้องกันโรค ให้แข็งแรงขึ้น
  • ดับกลิ่นปาก ลดอาการปากเหม็น ใช้ลดกลิ่นปากได้ดี
  • มีสารช่วยป้องกันเชื้อรา สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้
  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร สามารถทำได้ ทั้งอาหารคาว และ อาหารหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด
  • สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานได้ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  • มีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้ในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิว และ อาการแพ้สารเคมีต่าง
  • นำมาแปรรูปเป็น สบู่เปลือกมังคุด ซึ่งช่วยดับกลิ่นเต่า กลิ่นอับ รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของ โรคผิวหนัง

มังคุดในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มังคุดจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยประเทศที่นิยมมังคุดไทย เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ มูลค่าการส่งออกของมังคุดในแต่ละปีประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งการส่งออกมีทั้งในรูปของผลมังคุดสดและมังคุดแปรรูป แหล่งปลูกมังคดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ภาคใต้ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมังคุดให้ได้รสชาติที่อร่อย มังคุดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะของต้นมังคุด

ต้นมังคุดเป็นไม้ยืนต้น ชอบสภาพดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูงและระบายน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด การตอนกิน เป็นต้น ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  •  ลำต้นมังคุด ความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นมียางสีเหลือง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบมังคุด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า
  • ดอกมังคุด ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ
  • ผลมังคุด ผลสดค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้

การปลูกมังคุด

ต้นมังคุด นิยมซื้อต้นพันธุ์จากเรือนเพาะชำทั่วไป โดยเลือกต้นที่แข็งแรง สภาพพื้นที่ ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร มี ความเป็นกรดด่างของดิน ประมาณ 5.5-6.5 พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล  ไม่เกิน 650 เมตร ความลาดเอียงประมาณ 1-3% สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนควรมีมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี การ การกระจายตัวของฝนค่อนข้างดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% แหล่งน้ำ ควรมีปริมาณเพียงพอตลอดปี ไม่มีสารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน มี ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ระหว่าง 6.0-7.5 การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างแถว และ ต้น คือ 8×8 เมตร หรือ 10×10 และ ระบบแถวกว้างต้นชิด ระยะปลูกระหว่างแถว 8×3 เมตร หรือ 10×5 เมตร

สรรพคุณของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมังคุดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก เนื้อผลมังคด และ เปลือกผลมังคุด สรรพคุณของมังคุด มีดังนี้

  • ช่วยลดไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงกระดูก ช่วยสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รักษาอาการข้อเข่าอักเสบ อาการข้อบวม ปวดตาข้อ
  • บำรุงกำลัง เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย
  • บำรุงผิวพรรณและใบหน้า ทำให้หน้าใส โดย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ลดสิว ต้านการอักเสบของสิว
  • ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ป้องกันอัลไซเมอร์ ป้องกันพาร์กินสัน
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ทุกชนิด เช่น เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยเพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับ คอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงช่องปาก ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเลือดออกตามลายฟัน รักษาแผลในช่องปาก แผลร้อนใน
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  • แก้ท้องเสียแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง
  • ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงระบบทางเดินปัสสาวะให้อยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีการถ่ายปัสสาวะขัด ป้องกันโรคนิ่วในไต
  • ช่วยสมานแผล ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
  • ยับยั้งการเกิดโรคและรักษาโรคผิวหนัง เช่น กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน รักษาอาการน้ำกัดเท้า รักษาแผลเปื่อย

คุณค่าทางโภชนาของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์และการบริโภคมังคุดนินมรับประทานเนื้อผลมังคุดเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมังคด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง พลังงาน 73 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม โปรตีน 0.41 กรัม วิตามินบี1 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.286 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.032 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.018 มิลลิกรัม วิตามินบี9 31 ไมโครกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.102 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.21 มิลลิกรัม

มีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งและอาการแพ้ต่าง ๆ และยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์

มีสารแทนนิน (Tannin) ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ

โทษของมังคุด

มังคุดมีสารแทนนิน ( Tannin ) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับและไต อาจจะเกิดมะเร็งในร่องแก้มบนใบหน้า ในทางเดินอาหารส่วนบน และ ยังมีฤทธิ์ ลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง จากปกติ ดังนั้น ควรเลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกันนานๆ และ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะดีต่อสุขภาพ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

หญ้าหวาน แทนน้ำตาล ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานต่ำเหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนักขาดหวานไม่ได้หญ้าหวาน สมุนไพร ลดความอ้วน สรรพคุณของหญ้าหวาน

ต้นหญ้าหวาน ( Stevia ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าหวาน คือ Stevia rebaudiana (Bertoni) Bertoni มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัย และมีการปลูกทั่วโลกบริเวณเขตอบอุ่น ในประเทศไทยมีการปลูกมากในภาคเหนือตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา หญ้าหวานชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็น แต่ไม่หนาวจัด ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร โดยในใบหญ้าหวาน มีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า เรียกว่า สตีวิโอไซด์ ( Stevioside ) แต่ไม่ได้ให้พลังงาน ทำให้เหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนัก ที่ขาดการกินหวานไม่ได้

ประโยชน์ของหญ้าหวาน มีการนำหญ้าหวานมาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่โบราณ โดยในปัจจุบันมีการนำมาใช้ทดแทนน้ำตาลในอุตสหกรรมต่างๆ ได้แก่ ใช้แทนน้ำตาลในการประกอบอาหาร เป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารคนที่ต้องการลดน้ำหนัก นำมาสกัดเป็นสารให้ความหวาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม น้ำอัดลม เครื่องดื่มชาเขียว ขนมปังเบเกอรี แยม เยลลี ไอศกรีม ลูกอมหวาน หมากฝรั่ง ซอสปรุงรสต่างๆ ใช้แทนน้ำตาลในกระบวนการผลิตยาสีฟันที่มีรสหวานสำหรับเด็ก

หญ้าหวานในประเทศไทย

หญ้าหวาน มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ครั้งแรกปี พ.ศ. 2518 ปลูกที่ภาคเหนือของประเทศ  สารสักัดจากหญ้าหวาน ยังเป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ความหวาน หญ้าหวาน ราคาสูง ประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจุบันประเทศไทย สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้แล้ว มีหลายบริษัท ที่สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้ อนาคตคาดว่าจะมีการตั้งโรงงานรับซื้อหญ้าหวานในทุกภาค แหล่งปลูกหญ้าหวานในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และ ลำพูน

ลักษณะของต้นหญ้าหวาน

หญ้าหวาน ชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็น แต่ไม่หนาวจัด ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร เป็น สมุนไพรไม้พุ่ม มีอายุประมาณ 3 ปี เป็นพืชล้มลุก ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและชำกิ่ง ลักษณะของต้นหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าหวาน มีความสูงไม่มาก ประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีลำต้นสีเขียวอ่อน ตรงและค่อนข้างแข็ง แตกยอดชี้ขึ้น
  • ใบหญ้าหวาน ลักษณะใบ เป็นประเภทใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแต่หัวกลับ ขอบใบมีหยักคล้ายกับฟันเลื่อย โดยมีรสหวานมาก ใช้ทดแทนน้ำตาลได้ มีความหวานมากกว่าน้ำตาล
  • ดอกหญ้าหวาน ลักษณะดอก เป็นช่อที่ออกปลายกิ่ง สีของดอกมีสีขาว ขนาดดอกเล็ก กลีบเป็นรูปคล้ายไข่ มีสีขาวเล็กมาก มีเกสรเพศผู้ เป็นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาจากกลีบดอกเล็กน้อย

สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ ( stevioside ) ลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี สีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ละลายได้ดีในสารละลายกรด สรรพคุณของสตีวิโอไซด์ ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล ถึง 200 เท่า นอกจากนี้ สามารถพบสารอ่ื่นๆในหญ้าหวาน เช่น สารประกอบพวก ไดเทอร์พีนกลัยโคไซด์ ( diterpene glycoside ) ประกอบด้วย Stevioside ,  Rebaudioside A ถึง F  , Steviol , Steviolbioside และ Dulcoside A

สรรพคุณของหญ้าหวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าหวานด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีการนำหญ้าหวานมีใช้เป็นสมุนไพร สรรพคุณของหญ้าหวาน  มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลังวังชา ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี่กระเปร่า
  • บำรุงช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ สมองแล่นทำงานได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี นิยมใช้ในผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยสามารถบริโภคหวานได้แต่ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในร่างกาย
  • ช่วยลดไขมันในเลือด ให้มีระดับปกติ โดยลดระดับไขมันเลว ( LDL ) และช่วยเพิ่มไขมันดี ( HDL )  ทำให้ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัมพฤกอัมพาต
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงระบบการขับสารพิษออกจากร่างกายที่ตับ
  • ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ทั้งแผลสดและแผลแห้ง ให้หายได้เร็วขึ้น

โทษของหญ้าหวาน

การกินสารสกัดจากหญ้าหวาน อย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ต้องกินอย่างถูกต้อง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการกินสารกสัดจากหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรกินสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • สารสกัดจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบหวาน ต้องหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อไม่ให้ระดัยน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป

หญ้าหวาน พืชให้ความหวานแทนน้ำตาล ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานต่ำเหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนักที่ขาดการกินหวานไม่ได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย