หม่อน หรือ มัลเบอร์รี ใบหม่อนใช้เลี้ยงตัวไหม ต้นหม่อนอายุยาวนานถึง 100 ปี ผลหม่อน คุณค่าทางโภชนาการสูง ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร สรรพคุณของหม่อน โทษของหม่อนหม่อน มัลเบอร์รี่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สำหรับการเลี้ยงไหม ใบหม่อมมีความสำคัญ ใบหม่อนเป็นอาหารของหนอนไหม หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ( Mulberry ) ยังเป็นผลไม้ คุณค่าทางโภชนาการสูงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ชาใบหม่อนเป็นสมุนไพรชั้นยอด

ต้นหม่อน หรือ ต้นมัลเบอร์รี่ ( Mulberry ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหม่อน คือ Morus alba Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของหม่อน เช่น มอน ( อีสาน ) ซึงเฮียะ ซึงเอียะ (แต้จิ๋ว) ซางเย่ (จีน) เป็นต้น

ชนิดของต้นหม่อน

สำหรับต้นหม่อนมี 2 ชนิด คือ หม่อนกินผล เรียก Black Mulberry ผลโต ผลสุกสีดำ รสเปรี้ยวอมหวาน และ หม่อนเลี้ยงไหม เรียก ( White Mulberry ) เป็นหม่อนใบใหญ่ ใบหม่อนนำมาให้หนอนไหมรับประทาน เพื่อนำเส้นใยไหมมาใช้ประโยชน์นำมาทำสิ่งทอ

ลักษณะของหม่อน

ต้นหม่อน ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีนตอนใต้ และ เทือกเขาหิมาลัย เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในป่าดิบในประเทศไทย และ ต้หม่อนกินใบปลูกมาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของต้นหม่อน มีดังนี้

  • ลำต้นหม่อน ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 2 เมตร แตกกิ่งก้านไม่มาก เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลแดง มีเส้นแตกที่เปลือกผิว
    ต้นหม่อน
  • ใบหม่อน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมยาว สีเขียว ขอบใบหยักเว้าเป็นพู ใบค่อนข้างหนา หลังใบสากระคายมือ
  • ดอกหม่อน ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกสีขาว
  • ผลหม่อน เจริญเติบโตจากดอก ผลออกเป็นกระจุก ตามซอกใบ ลักษณะผลเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีม่วงแดง เนื้อผลนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน

สำหรับประโยชน์ของหม่อนด้านการบริโภค นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบหม่อนและผลหม่อน โดยคุณค่าทางโภชนาการของหม่อน มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบหม่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 22.60 % คาร์โบไฮเดรต 42.25 % และ ไขมัน 4.57 %  มี กรดอะมิโน 18 ชนิด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงเป็นพิเศษ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีพีนอลรวม เควอซิติน เคม-เฟอรอล และรูติน

คุณค่าทางโภชนาการของผลวหม่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.68 กรัม คาร์โบไฮเดรต 21.35 กรัม ไขมัน 0.47 กรัม กากใยอาหาร 2.03 กรัม แคลเซียม 0.21 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 0.07 มิลลิกรัม เหล็ก 43.48 มิลลิกรัม วิตามินซี 25 มิลลิกรัม วิตามินเอ 50.65 มิลลิกรัม วิตามินบี1 3.66 มิลลิกรัม วิตามินบี2 930.10 มิลลิกรัม วิตามินบี6 6.87 มิลลิกรัม กรดโฟลิก 3.42 มิลลิกรัม

สารสำคัญต่างในหม่อน มีมากมาย ดังนี้

  • ผลหม่อน มีสารanthocyanin
  • ใบหม่อน มีสารต่างๆ เช่น flonoid phytoestrogen , triterpene , ceramide , mulberroside , kuwanon L , ulberrofuran A , sangenone C
  • กิ่งและลำต้นหม่อน มีสารต่างๆ เช่น 2-oxyresveratrol , mulberroside F

สรรพคุณหม่อน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหม่อน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ กิ่งและลำต้น สรรพคุณของหม่อน มีดังนี้

  • ผลหม่อน สรรพคุณช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน แก้กระหายน้ำ ป้องกันมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหาร
  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ รักษาไข้หวัด แก้ปวดหัว แก้เวียนศรีษะ แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้คอแห้ง ป้องกันมะเร็ง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องเสีย
  • กิ่งและลำต้นของหม่อน สรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ ลดอาการมือเท้าเป็นตะคริว

โทษของหม่อน

สำหรับหารใช้ประโยชน์จากหม่อน มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โทษของหม่อน มีดังนี้

  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ ไม่ควรบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากใบหม่อน
  • ใบหม่อนสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัด ควรงดการกินใบหม่อน เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลเสียต่อการห้ามเลือด

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี พืชพื้นเมือง ใบหม่อนใช้เลี้ยงตัวไหม ต้นหม่อนอายุยาวนานถึง 100 ปี ผลหม่อน ก็มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร สรรพคุณของหม่อน โทษของหม่อน

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะลิ สุมนไพร พืชท้องถิ่น ดอกมะลิมีกลิ่นหอม นำดอกมาร้อยมาลัย ลักษณะของต้นมะลิ เป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะลิ ( jasmine) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะลิ คือ Jasminum sambac (L.) Aiton สำหรับมะลิมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หม้อลี่ฮวา มะลิหลวง มะลิขี้ไก่  มะลิป้อม มะลิมะลิลา มะลิซ้อน เตียมูน บักหลี่ฮวย ข้าวแตก เซียวหน่ำเคี้ยง เป็นต้น

มะลิในประเทศไทย

ดอกมะลิ ในสังคมไทย เป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาร้อยมาลัย ดอกมะลิ เป็นพืชเศรษฐกิจ อยู่คู่สังคมมาช้านาน ความหอมของดอกมะลินำมาแต่งกลิ่นอาหาร ร้อยมาลัยสำหรับบุชาพระ ไหว้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ต้นมะลิ ยังเป็น ไม้มงคล คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์

ลักษณะของต้นมะลิ

ต้นมะลิ มีถิ่นกำเนิดของต้นมะลิอยู่ในประเทศอินเดีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการตอนกิ่งและการปักชำ ชอบดินร่วนซุย แสงแดดจัด ลักษณะของต้นมะลิ มีดังนี้

  • ลำต้นมะลิ ความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลักษณะลำต้นกลม แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ดอกมะลิ ลักษณะดอกออกเป็นกระจุก ในหนึ่งกระจุกมีหลายดอก มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง
  • ใบมะลิ ใบสีเขียว ลักษณะเหมือนขนนก รูปไข่รี ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน เป็นใบประกอบ ออกเรียกสลับกันตามกิ่งก้าน

สรรพคุณของมะลิ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นมะลิ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ สรรพคุณของมะลิ มีดังนี้

  • ดอกมะลิ สรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้ปวดหัว ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • รากมะลิ สรรพคุณช่วยขับลม ขับประจำเดือน  แก้ร้อนใน แก้เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก
  • ใบมะลิ สรรพคุณรักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลฟกชำ ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้แน่นท้อง รักษาอาการท้องเสีย บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง

โทษของมะลิ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นมะลิ ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์จากมะลิ ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือ ใส่ในอาหาร หรือ ขนม เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์
  • รากของมะลิ มีความเป็นพิษ หากกินรากมะลิ อาจทำให้สลบได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย