สะเดา นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้างสะเดา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นสะเดา ( Neem ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A.Juss. ชื่อเรียกอื่นๆของต้นสะเดา เช่น สะเลียม สะเดาบ้าน เดา กระเดา ลำต๋าว กะเดา จะตัง จะดัง ผักสะเลม สะเรียม ตะหม่าเหมาะ สะเดาอินเดีย ควินิน กาเดา ไม้เดา เป็นต้น ต้นสะเดา เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถพบได้ตามป่าประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย  และ ประเทศไทย

ชนิดของสะเดา

ต้นสะเดา สามารถแบ่งได้ 3 สายพันธ์ คือ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง โดยรายละเอียดของสะเดาแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน โดย สะเดาไทย แบ่งได้ 2 ชนิด คือ สะเดาชนิดขม และ สะเดาชนิดมัน โดยสามารถสังเกตได้จากยอดอ่อน ซึ่ง ยอดอ่อนสะเดาขมจะมีสีแดง ส่วน ยอดอ่อนของสะเดามันจะมีสีขาว
  • สะเดาอินเดีย เป็นต้นสะเดาที่มีลักษณะใบขอบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายใบแหลม
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ

ลักษณะของสะเดา

ต้นสะเดา จัดเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสะเดา คือ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ลักษณะของต้นสะเดา มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นสะเดา ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล เปลือกค่อนข้างหนา ผิวเปลือกแตกเป็นร่องส่วนเปลือกของกิ่งจะค่อนข้างเรียบ แกนไม้สีน้ำตาลแดง เนื้อไม้แข็งและทนทานมาก
  • ใบสะเดา ลักษณะเป็นใบเดียว เกาะตามกิ่งก้านจนเป็นทรงพุ่ม ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบคล้ายปลายหอก
  • ดอกสะเดา ออกดอกเป็นช่อโดย การดอกออกตามง่ามใบ ความยาวด้านดอกประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลสะเดา เจริญเติบโตมาจากดอกสะเดา ลักษณะของผลสะเดา กลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ผลมีรสหวานเล็กน้อย
  • เมล็ดสะเดา อยู่ภายในผลสะเดา ลักษณะกลมรี ผิวของเมล็ดสะเดาเรียบ สีเหลือง ภายในเมล็ดสะเดามีน้ำมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับสะเดา นิยมนำยอดอ่อนของสะเดามารับประทานเป็นอาหาร โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี โดยพบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำ 77.9 กรัม เบตาแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 354 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

ช่อดอกสะเดา มีสารจำพวกไกลโคไซด์ Nimbasterin และ มีน้ำมันหอมระเหย 0.5% นอกจากนั้นยังมีสารต่างๆ เช่น Nimbecetin , Nimbesterol , กรดไขมัน และ สารที่มีรสขม

เมล็ดของสะเดา มีน้ำมัน เรียกว่า Nim oil มีสาร Margosic acid ถึง 45% หรือ สารให้รสขม Nimbin

สรรพคุณของสะเดา

การใช้ประโยชน์จากสะเดาด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก เปลือก กระพี้ แก่น ใบ ดอก ผลอ่อน ผลสุก และ ยาง โดย สรรพคุณของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากสะเดา สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้จุกคอและแน่นในอกหายใจไม่สะดวก
  • เปลือกต้นสะเดา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย
  • กระพี้สะเดา สรรพคุณแก้น้ำดีพิการ บำรุงน้ำดี
  • แก่นสะเดา สรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม ข่วยลดไข้ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเลือด
  • ใบสะเดา สรรพคุณช่วยน้ำย่อยอาหาร บำรุงเลือด รักษาฝี ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกสะเดา สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ
  • ผลอ่อนสะเดา สรรพคุณช่วยขับพยาธิ รักษาริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลสุกสะเดา สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย บำรุงหัวใจ
  • ยางสะเดา สรรพคุณช่วยลดไข้
  • น้ำมันจากเมล็ดสะเดา สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ปรโยชน์จากสะเดา ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธี โดยหากใช้ผิดวิธีำหรือในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดย โทษของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดามีรสขม ทำให้ความดันต่ำลง สำหรับผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรรับประทาน
  • การกินสะเดา ทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องอืดท้องเฟ้อ ควรหลีกเลี่ยงการกินสะเดา
  • สำหรับนสตรีหลังคลอด การกินสะเดาทำให้น้ำนมแห้ง ได้ เนื่องจากสพเดาทำให้ร่างกายเย็นลง ส่งผลต่อระบบการผลิตน้ำนมของสตรีหลังคลอด

สะเดา สมุนไพรรสขม นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา สรรพคุณของสะเดา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ข่อย กิ่งข่อยในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ต้นข่อยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้างข่อย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นข่อย ( Tooth brush tree ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่อย คือ Streblus asper Lour. ชื่อเรียกอื่นๆของข่อย เช่น ตองขะแหน่  , ส้มพอ  , ซะโยเส่ , กักไม้ฝอย , สะนาย , สมนาย เป็นต้น ต้นข่อย เป็น พืชตระกูลเดียวกับขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น นำมาใช้เป็นไม้ประดับ ยารักษาโรค และ ของใช้ต่างๆ ปัจจุบันข่อยนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ

ลักษณะของต้นข่อย

ต้นข่อย มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนาม และ ไทย การขยายพันธ์ข่อยใช้การปักชำ การทาบกิ่ง ลักษณะของต้นข่อย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นข่อย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 5 ถึง 15 เมตร เปลือกข่อยสีเทานวล ต้นข่อยเป็นทรงพุ่ม มีกิ่งอ่อน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลำต้นข่อยมีน้ำยาง น้ำยางสีขาว
  • ใบข่อย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งอ่อน ลักษณะของใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน ใบมีขนอ่อนปกคลุม ขอบใบเป็นรอยหยัก
  • ดอกข่อย ดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกลักษณะกลม สีเหลืองแกมเขียว
  • ผลข่อย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลข่อยเหมือนไข่ สีเขียวอ่อนออกขาว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อด้านในผลมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะคล้ายพริกไทย

สรรพคุณของข่อย

ต้นข่อย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตั้งแต่ เปลือกข่อย กิ่งข่อย ผลข่อย เมล็ดข่อย และ รากข่อย สรรพคุณของข่อยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกข่อย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง รักษาไซนัส มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ใช้รักษาแผล รักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง เป็นยาสีฟัน รักษาโรคเหงือกอักเสบ
  • เนื้อไม้ข่อย มีฤทธิ์ต้านเชื้อเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส รักษาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเหงือกอักเสบ รักษาแผลสด แผลติดเชื้อ
  • ใบข่อย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ดอกข่อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ผลข่อย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร
  • เมล็ดข่อย สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร
  • รากข่อย สรรพคุณรักษาโรคบ้าหมู รักษาบาดแผล แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง

โทษของข่อย

สำหรับ โทษของข่อย การนำข่อยมาปรุงยาเพื่อรับประทาน ไม่ควรรับประทานมากเกินไป และ ไม่ควรรับประทานอย่างต่อนเนื่อง เพราะ ข่อยความเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ และ ความดันโลหิต

ข่อย คือ พืชพื้นเมือง กิ่งข่อย ในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ลักษณะของต้นข่อย ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย เช่น บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย