จันทน์เทศ สมุนไพร เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องเทศ สรรพคุณขับพิษ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม  บำรุงผิวพรรณ ต้นจันทน์เทศเป็นอย่างไร สรรพและโทษของจันทน์เทศมีอะไรบ้างจันทน์เทศ จันทน์หอม สมุนไพร สรรพคุณของจันทน์เทศ

ต้นจันทน์เทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Nutmeg ชื่อวิทยาศาสตร์ของจันทน์เทศ คือ Myristica fragrans Houtt. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของจันทน์เทศ เช่น เงี้ยว โร่วโต้วโค่ว ปาลา เป็นต้น ต้นจันทน์เทศ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะบันดาในหมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย เป็นแหล่งผลิตจันทน์เทศแหล่งเดียวในโลก

ประโยชน์ของจันทน์เทศ

ต้นจันทน์เทศ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเทศ เม็ดจันทน์เทศแห้ง และ ดอกจันทน์เทศ ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร ดับคาวจากเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูง น้ำมันจันทน์เทศ นำมาเป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้แต่งกลิ่นสบู่ ผงซักฟอก น้ำหอม ทำแยม เยลลี่ ลูกกวาด  รวมถึงในทางการแพทย์น้ำมันจันทน์เทศ หรือ น้ำมันจันทน์หอม เป็นสมุนไพรยารักษาโรค เช่น แก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง เป็นยาขับลม เป็นต้น

ตำรายาที่มีจันทน์เทศเป็นส่วนประกอบ

  • ตำรับยาพิกัดตรีพิษจักร ประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ผลจันทน์เทศ กานพลู และผลผักชีล้อม ช่วยบำรุงโลหิต แก้ธาตุพิการ แก้พิษเลือด แก้ลม
  • ตำรับยาพิกัดตรีคันธวาต ประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ผลจันทน์เทศ กานพลู และผลเร่วใหญ่ แก้ธาตุพิการ แก้ไข้อันเกิดแต่ดี แต่แก้อาการจุกเสียด
  • ตำรับยาหอมเทพจิตร ประกอบด้วย รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ กับสมุนไพรอื่นๆ แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย
  • ตำรับยาหอมนวโกฐ ประกอบด้วย รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ กับสมุนไพรอื่นๆ แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย
  • ตำรับยาธาตุบรรจบ ประกอบด้วยรกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ตำรับยาพิกัดจันทน์ทั้งห้า ประกอบด้วย แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ทนา และ แก่นจันทน์ชะมด แก้ไข้ แก้อาการร้อนใน บำรุงหัวใจ

ลักษณะของต้นจันทน์เทศ

ต้นจันทน์เทศ เป็นไม้พุ่มยืน ต้นขนาดกลาง สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง จะเจริญเติบโตได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยสามารถปลูกได้ในทางภาคใต้ ลักษณะของต้นจันทน์เทศ มีดังนี้

  • ลำต้นจันทน์เทศ มีความสูงของต้นประมาณ 5 – 18 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีเทาอมดำ เนื้อไม้สีนวล มีกลิ่นหอม เนื่องจากเนื้อไม้จันทน์เทศมีน้ำมันหอมระเหย
  • ใบจันทน์เทศ เป็นใบเดี่ยว เป็นรูปรีปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็ง หลังใบเรียบเป็นมัน สีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ท้องใบเรียบสีเขียวอ่อน
  • ดอกจันทน์เทศ ลักษณะดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งจะมีประมาณ 2-3 ดอก ออกดอกตามซอกใบ ดอกสีเหลืองอ่อน
  • ผลจันทน์เทศ ลักษณะเป็นผลสด ผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ ผลทรงกลม คล้ายกับลูกสาลี่ เปลือกผลเรียบ สีเหลืองนวล ส่วนผลแก่จะแตกและอ้าออกเป็น 2 ซีก ซึ่งภายในผลจะมีเมล็ด ลักษณะกลม สีน้ำตาล เนื้อและเปลือกแข็ง หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด
  • เมล็ดจันทน์เทศ เรียกอีกชื่อว่า ลูกจันทน์ มีกลิ่นหอม ลักษณะเป็นริ้วสีแดง รูปร่างคล้ายร่างแห เมลูดจะมีแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ดอยู่ เรียกว่า รกหุ้มเมล็ด

สรรพคุณของจันทน์เทศ

สำหรับการนำจันทน์เทศมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก รกเมล็ด เมล็ด แก่นไม้ ดอก และ ผล สมุนไพร สรรพคุณของจันทน์เทศ มีดังนี้

  • เมล็ดจันทน์เทศ สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยให้หลับสบาย แก้หอบหืด แก้ปวดหัว แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้คลื้นไส้ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ปวดมดลูก ช่วยคุมกำเนิด ช่วยสมานแผล แก้คัน
  • รกหุ้มเมล็ดจัทน์เทศ สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้หอบหืด แก้ปวดหัว  ลดไข้ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้คลื้นไส้ ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้ปวดมดลูก แก้คัน บำรุงผิวพรรณ
  • แก่ไม้จันทน์เทศ สรรพคุรลดไข้
  • ผลจันทน์เทศ สรรพคุณช่วยคุมกำเนิด
  • น้ำมันจันทน์เทศ สรรพคุณแก้ปวด ช่วยขับประจำเดือน แก้ปวดกระดูก

โทษของจันทน์เทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากจันทน์เทศ มีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย ซึ่งข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากจันทน์เทศ มีดังนี้

  • เนื้อในเม็ดจันทน์เทศ ถึงแม้จะมีสรรพคุณเป็นยา แต่การรับประทานมากเกินอาจมีความเป็นพิษอันตรายต่อชีวิตได้
  • สารจากลูกจันทน์เทศ มีสรรพคุณยับยั้งการสร้างน้ำย่อยของกระเพาะอาการ และ ยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้หมดสติได้
  • ผู้ป่วยริดสีดวงทวาร ที่มีอาการปวดฟันและท้องเสียจากความร้อน ไม่ควรใช้แก่นจันทน์เทศเป็นยา

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

หญ้าแพะหงี่ พืชมหรรศจรรย์ สมุนไพรบำรุงร่างกาย สำหรับผู้สูงวัย ลักษณะของต้นหญ้าแพะหงี่เป็นอย่างไร ข้อควรระวังในการใช้หญ้าแพะหงี่หญ้าแพะหงี่ สมุนไพร สมุนไพรเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สมุนไพรบำรุงกำลัง

หญ้าแพะหงี่ ภาษาอังกฤษ เรียก Horny Goat Weed ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าแพะหงี่ คือ Epimedium เป็นสมุนไพร พืชล้มลุก  ค้นพบโดยคนเลี้ยงแกะชาวจีน ซึ่งสังเกตกิจกรรมการผสมพันธ์ของฝูงแพะที่กินหญ้าแพะหงี่ที่เลี้ยงไว้ พบว่าแพะที่เลี้ยงมีการผสมพันธ์บ่อย แต่หญ้าแพะหงี่หากมนุษย์เมื่อรับประทานแบบสดๆอาจทำให้มึนเมาได้

หญ้าแพะหงี่ นิยมนำใบมาทำยา สมุนไพร ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ เช่น บรรเทาอาการข้อเสื่อม รักษาโรคความดัน บำรุงเลือด  ซึ่งหญ้าแพาะหงี่จะมีสารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนสตรี ( phytoestrogens ) ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น

ลักษณะของต้นหญ้าแพะหงี่

ต้นหญ้าแพะหงี่เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีก้านใบขึ้นมาจากลำต้นก้านใบยาว ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ สีเขียว มีขนอ่อนๆ ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกเป็นสีม่วงอมขาว

สารสำคัญที่พบในหญ้าแพะหงี่

สารสำคัญต่างๆจากหญ้าแพะหงี่ พบว่ามีสารสำคัญ เช่น สารสเตอรอล ( sterols ) สารฟลาโวนอยด์ ( flavonoids )  และ อัลคาลอยด์ชนิด ( Magnaflorine ) สารโพลิแซ็กคาไรด์ ( polysaccharide )

ซึ่งสารฟลาโวนอยด์ ชนิด Icariin มีบทบาทต่อสุขภาพของชายหญิง กระตุ้นความต้องการ ช่วยกระตุ้นอวัยวะชาย บรรเทาอาการเหนื่อย อ่อนล้า อ่อนเพลีย บรรเทาอาการไม่สบายตัวระหว่างมีประจำเดือน

สรรพคุณของหญ้าแพะหงี่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าแพะหงี่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากใบแห้งของหญ้าแพะ ซึ่งสรรพคุณต่างๆ ดังนี้

  • บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดี
  • บำรุงร่างกาย ช่วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำให้สบายตัว ลดอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอารมณ์หงุดหงิด ลดความเครียด
  • บำรุงระบบสืบพันธุ์ ช่วยกระตุ้นความต้องการ ช่วยให้น้ำหล่อลื่นมีมากขึ้น
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีวัยทอง ช่วนปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย

โทษของหญ้าแพะหงี่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าแพะหงี่ ถึงแม้ว่าจะช่วยบำรุงเลือดแต่ก็มีผลข้างเคียงจากการใช้หญ้าแพะหงี่ ซึ่งผลข้างเคียงของหญ้าแพะหงี่ที่ผู้บริโภคจะต้องระมัดระวังการใช้ มีดังนี้

  • หญ้าแพะหงี่ช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว ในขณะเดียวกันทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายนอนได้น้อยลง
  • หญ้าแพะหงี่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต แต่ในขระเดียวกันก็กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจต้องระวังการใช้หญ้าแพะหงี่ รวมถึงอาจเกิดอาการวิงเวียนศรีษะ เลือดกำเดาไหล
  • หญ้าแพะหงี่จะทำให้มีอาการคึกคักมากผิดปกติ อารมณ์ดีและพูดมากผิดปกติ
  • หญ้าแพะหงี่มีผลต่อการให้น้ำนม ดังนั้น สตรีระหว่างให้นมบุตร ควรงดหญ้าแพะหงี่

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย