มะเขือพวง ผลมะเขือพวงนำมารับประทานเป็นผักสด ต้นมะเขือพวงเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยขับปัสสาวะ โทษของมะเขือพวงมีอะไรบ้างมะเขือพวง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะเขือพวง ภาษาอังกฤษ Pea aubergine พืชตระกูลมะเขือ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือพวง คือ Solanum torvum Sw. มะเขือเรียกอื่นๆ เช่น มะแว้งช้าง (สงขลา) มะเขือละคร (นครราชสีมา)  หมากง (ภาคอีสาน) เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง (ภาคใต้) มะแคว้งกุลา (ภาคเหนือ)  เป็นต้น

มะเขือพวง เป็นพืชเขตร้อน ถิ่นกำเนิดของมะเขือพวง คือ ทวีปอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ สำหรับในประเทศไทย มะเขือพวงนิยมรับประทานผลสด โดยนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู เช่น แกงป่า แกงคั่ว แกงอ่อม แกงเขียวหวาน แกงเนื้อ น้ำพริก ผัดเผ็ด เป็นต้น

ผลมะเขือพวง มีสารสำคัญอยู่ 2 กลุ่ม คือ สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และ สารกลุ่มอัลคาลอยด์ เป็นสารที่มีประโยชนืต่อสุขภาพ รายละเอียดของสารดังกล่าว มีดังนี้

  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ( Alkaloids ) ลักษณะเด่น คือ รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นด่าง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและอวัยวะต่างๆ ซึ่งสารชนิดนี้จะสลายตัวเมื่อโดนความร้อน สรรพคุณช่วยต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytonutrient ) สรรพคุณช่วยฟื้นฟูร่างกาย ช่วยคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ช่วยขับเสมหะ

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็นพืชล้มลุก ทนต่อสภาพอากาศร้อน และ ไม่มีแมลงศัตรูพืช สามารถขยายพันธ์โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของมะเขือพวง มีดังนี้

  • ลำต้นมะเขือพวง ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นและกิ่งแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ปกคลุมด้วยหนามและในบางสายพันธ์ไม่มีหนาม
  • ใบมะเขือพวง ลักษณะใบเป็นรูปไข่ สีเขียว ใบกว้าง เรียบ ขอบใบเว้า
  • ดอกมะเขือพวง ลักษณะดอกเป็นช่อ รูปทรงกรวยแตร กลีบดอกสีเขียว ขาว และ ม่วง เกสรตัวผู้มีสีเหลือง
  • ผลมะเขือพวง ลักษณะกลม สีเขียว ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนรสขม ผลสุกสีเหลือง รสฝื่นและเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

สำหรับการศึกษาสารเคมีและสารอาหารต่างๆในมะเขือพวง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.16 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.649 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.84 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 22 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในมะเขือพวก มีหลายชนิด ประกอบด้วย  ทอร์โวไซด์ เอ (torvoside A ) ทอร์โวไซด์ เอช (torvoside H)  ทอร์โวนิน บี (torvonin B) โซลานีน (solanine) โซลาโซนีนและโซลามาจีน (solasonine and solamagine)  โซลาโซดีน (solasodine) และ เพกติน รายละเอียด ดังนี้

  • ทอร์โวไซด์ เอ (torvoside A) ทอร์โวไซด์ เอช (torvoside H)  คือ สารสตีรอยด์ไกลไซด์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริม
  • เพกติน คือ สารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเคลือบที่ผิวของลำไส้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ทอร์โวนิน บี ( torvonin B ) คือ สารซาโพนิน มีฤทธิ์ขับเสมหะ
  • โซลาโซนีนและโซลามาจีน (solasonine and solamagine) คือ ไกลโคซิเลตอัลคาลอยด์
  • โซลานีน ( solanine ) คือ สารทำให้แคลเซียมในร่างกายไม่สมดุลย์ ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับไขข้อกระดูก ควรหลีกเลี่ยง
  • โซลาโซดีน ( solasodine ) คือ สารที่สรรพคุณต้านโรคมะเร็ง

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือพวง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน เช่น ใบ ลำต้น ผล และ ราก สรรพคุณของมะเขือพวง มีดังนี้

  • ผลมะเขือพวง สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง รักษาโรคเริม ช่วยขับเสมหะ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบ ช่วยชะลอวัย ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดความเครียด ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด บำรุงสายตา แก้ไอ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้อาการฟกช้ำ รักษาแผลฝีมีหนอง
  • ใบมะเขือพวง สรรพคุณช่วยรักษาโรคซิฟิลิส เป็นยาระงับประสาท ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการชัก ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อ รักษาฝี รักษาแผลติดเชื้อ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยห้ามเลือด
  • ทั้งต้นมะเขือพวง สรรพคุณแก้อาการหืด
  • รากมะเขือพวง สรรพคุณช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยรักษารอยเท้าแตก ช่วยแก้โรคตาปลา
  • เมล็ดมะเขือพวง สรรพคถณแก้ปวดฟัน
  • ลำต้นมะเขือพวง สรรพคุณช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคกลากเกลื้อน

โทษของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะเขือพวงมีข้อควรระวังดังนี้

  • ผลมะเขือพวงมีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแข็งตัวของเลือด สำหรับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด ควรงดกินมะเขือพวง อาจส่งผลต่อการเลือดไม่หยุดไหลได้
  • มะเขือพวงมีสารโซลานีน ( Solanine ) ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

มะเขือพวง พืชพื้นบ้าน ผลมะเขือพวงนำมารับประทานเป็นผักสด ลักษณะของต้นมะเขือพวงเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเขือพวง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ โทษของมะเขือพวง มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถั่งเช่า ตังถั่งเช่า ตังถั่งแห่เช่า หญ้าหนอน สมุนไพรจีน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาอายุวัฒนะ ต้นถั่งเช่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ และ โทษมีอะไรบ้างถั่งเช่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ถั่งเช่า ( chóng cǎo) ตังถั่งเช่า ( dōng chóng cǎo ) ตังถั่งแห่เช่า ( dōng chóng xià cǎo ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่งเช่า คือ Ophiocordyceps sinensis พืชที่พบในทิเบต แถบเทือกเขาหิมาลัย ตามตำราแพทย์แผนจีน นำมาทำยาบำรุงร่างกาย ถั่งเช่า เป็นเห็ดราชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นในช่วงฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนเห็ดราก็จะงอกออกมา เป็นเส้นตรง เราจะเรียกว่า ถั่งเช่า หรือ เห็ดถั่งเช่า

สรรพคุณเด่นของถั่งเช่า คือ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาอาการนกเขาไม่ขัน รักษาโรคมะเร็ง เห็ดถั่งเช่า มีความต้องการสูง และ ราคาแพงมาก นำมาเป็นส่วนผสมของยาจีนหลากหลาย เป็นยาบำรุงร่างกาย

สายพันธ์ถั่งเช่า

สำหรับสายพันธ์ของถั่งเช่าที่นิยมนำมาทำสมุนไพร มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธ์สีทอง และ สายพันธ์ทิเบต โดยคำแนะนำในการบริโภค ถั่งเช่า มีดังนี้

  • ถั่งเช่าทิเบต เป็นถั่งเช่าแท้ๆ จากแหล่งธรรมชาติ ควรบริโภคไม่เกินวันละ 8 กรัมต่อวัน
  • ถั่งเช่าสีทอง เป็นถั่งเช่าจากการเพาะเลี้ยง ควรบริโภคไม่เกินวันละ 3 กรัมต่อวัน

ลักษณะของต้นถั่งเช่า

ถั่งเช่า ในช่วงฤดูหนาวจะเป็นหนอน และช่วยฤดูร้อนเป็นหญ้า ลักษณะของตัวหนอน เป็น ตัวหนอนผีเสื้อ ที่มีเห็ดชนิดหนึ่ง ชื่อ วิทยาศาสตร์ Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. โดยหนอนชนิดในฤดูหนาวจะฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินที่ภูเขาหิมะ และ เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน น้ำแข็งละลาย สปอร์ก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใย งอกออกจากตัวหนอน เห็ดเหล่านี้จะงอกขึ้นสู่พื้นดิน โดยลักษณะคล้ายไม้กระบอก ถั่งเช่า ก็คือ ตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง

ถั่งเช่าที่มีคุณภาพดี ลักษณะของตัวหนอนต้องมีสีเหลืองสดใส และ ยาว ขนาดสมบูรณ์ ส่วนที่เป็นเห็ด ต้องมีสีน้ำตาลเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของถั่งเช่า

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่งเช่า พบว่าในถั่งเช่า มีสารสำคัญ คือ Cordycepin เป็นสารที่มีสรรพคุณหลากหลาย เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการควบคุมการใช้พลังงานและปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำงานของไต และ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบทางเดินหายใจ

สรรพคุณของถั่งเช่า

สำหรับการนำเอาถั่งเช่ามาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร บำรุงร่างกายและยารักษาโรค พบว่า สรรพคุณของถั่งเช่า มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย
  • ช่วนบำรุงผิวพรรณ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย
  • บำรุงประสาทและสมอล ช่วยระงับประสาท ทำให้ผ่อนคลาย ช่วยเพิ่มความจำ ป้องกันสมองเสื่อม
  • บำรุงหลอดเลือด ลดความดันโลหิต รักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว ลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรัล กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ บำรุงปอด ลดอาการเจ็บหน้าอก แก้ไอเรื้อรัง รักษาถุงลมโป่งพอง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด รักษาวัณโรค ช่วยละลายเสมหะ
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
  • บำรุงตับ บำรุงไต
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • ลดอาการอักเสบ ช่วยห้ามเลือด
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้มีบุตรง่าย ช่วยปรับประจำเดือน ช่วยทำให้อสุจิแข็งแรง

โทษของถั่งเช่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่งเช่า ต้องใช้ในประมาณที่เหมาะสม และ ใช้อย่างถูกต้อง โดยข้อควรระวังในการใช้ถั่งเช่า มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ต้องระวังการใช้งาน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด หากกินยาเบาหวานด้วยอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปรกติ
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับเกล็ดเลือด ต้องระวังเนื่องจากถั่งเช่า มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

ถั่งเช่า มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ตังถั่งเช่า ตังถั่งแห่เช่า หญ้าหนอน คือ สมุนไพรจีน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาอายุวัฒนะ ลักษณะของต้นถั่งเช่าเป็นอย่างไร สรรพคุณของถั่งเช่า คุณค่าทางโภชนาการ และ โทษมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย