เลือดออกตามไรฟัน Scurvy ภาวะเลือดออกตามไรฟันเกิดจากหลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก แตกและฉีกขาด สัญญาณเตือนการเกิดโรคในช่องปากอื่นๆ จำเป็นต้องรักษาและป้องกัน

เลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด โรคในช่องปาก

โรคเลือดออกตามไร ( Scurvy ) หรือ ลักกะปิดลักกะเปิด คือ ภาวะร่างกายขาดวิตามินซี ทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก เกิดการแตกและฉีกขาดจนมีเลือกออกจากเหงือก พบบ่อบในกลุ่มโรคในช่องปาก

วิตามินซี มีความสำคัญต่อ กระบวนการซ่อมแซมตนเองของเซลล์ การบวม การอักเสบจำเป็นต้องมีวิตามินซี หลอดเลือดขนาดเล็กจะมีวิตามินซี เสริมสร้างความแข็งแรง ดังนั้น เมื่อขาดวิตามินซี ก็จะทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนัง และ เหงือก เกิดการแตก ชีกขาด ได้ง่าย ส่วนมากจะพบเมื่ออายุมากขึ้น ในวัยทำงานจนถึงวัยชรา พบได้ทั้งชายและหญิง พอๆกัน

ซึ่งถึงแม้ว่าจะรับประทานวิตามินซี ในปริมาณที่เพียงพอ แต่ในผู้ป่วยบางราย มีปัญหาเรื่องการดูดซึม วิตามินซี ทำให้ไม่ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้เกิด อาการของโรคลักปิดลักเปิด โรคนี้เป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่เป็นสัญญาณเตือนแรก ในความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย หากปล่อยไว้เรื้อรัง จะมีปัญหาต่อเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลอันตรายต่อโรครุนแรง อื่นที่ตามมาได้

สาเหตุของโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน มีหลายสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย 

  • การสูบบุหรี่ ซึ่งสารพิษในบุหรี่ มีผลต่อประสิทธิภาพ การดูดซึมวิตามินซี ของลำไส้ให้ลดลง
  • โรคลำไส้อักเสบ จะมีผลต่อการดูดซึมของลำไส้ ทำให้ร่างกายขาดวิตามินซี ในขณะที่ป่วยโรคนี้
  • อายุ เพราะ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความต้องการวิตามินซี ของร่างกายจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ในเด็กก่อน 9 ปี ต้องการวิตามินซีเฉลี่ยประมาณ 35 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เป็นเฉลี่ย 70 มิลลิกรัมต่อวัน
  • การตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงเกิดการตั้งครรภ์จะพบว่าความต้องการวิตามินซี ในร่างกายจะเพิ่มขึ้นมากกว่าภาวะปกติ อีก ประมาณ 10 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขณะให้นมบุตร พบว่าวิตามินซี มีส่วนสำคัญ ในกระบวนการสร้างน้ำนมของแม่ ซึ่งความต้องการวิตามินซี จะมากขึ้นกว่าปกติอีกถึง ประมาณ 40 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว
  • การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง พบว่า วิตามินซีจะเสียสภาพ เมื่ออยู่ในความร้อนสูง ในผักและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะพบวิตามินซีสูง แต่เมื่อนำไปประกอบอาหารโดยใช้ความร้อน พวกอาหารพัด อาหารนึ่ง อาหารอบ พบว่าวิตามินซี เสียสภาพไปมากกว่า 60 %
  • ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ขณะที่ต้องเข้ารับการฟอกไต
  • การดื่มสุรา มีผลต่อการดูดซึมของลำไส้
  • พฤติกรรมการกิน พบมากในเด็กที่ไม่ชอบรับประทานผัก และ ผลไม้
  • ภาวะทางเศรฐกิจ การอพยพย้ายถิ่น การลี้ภัยสงคราม มักพบว่าเกิดภาวะขาดวิตามินซี เนื่องจากไม่ได้รับอาหารพวกผัก และ ผลไม้ที่มีวิตามินซี ที่เพียงพอ

อาการโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับการแสดงอาการของโรคเลือดออกตามไรฟันไม่แสดงอาการหนักต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ แต่ สิ่งที่ต้องระวัง คือ การติดเชื้อโรคในช่องปาก ลักษณะอาการที่ผิดปรกติ สำหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกตามไรฟันที่ต้องพบแพทย์

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หมดแรง ไม่มีแรงทำงาน
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีอาการปวด เป็นๆหายๆ
  • เลือดออกตามลายฟัน เหงือกบวมง่าย
  • เลือดติดแปรงสีฟัน ขณะแปรงฟัน
  • เลือดออกที่เหงือก เมื่อรับประมาณอาหารแข็ง
  • ผิวหนังห้อเลือดง่าย เป็นจุดแดงตามผิวหนัง
  • ซูบผอม ร่างกายไม่โต กระดูกผิดรูป ร่างกายเล็กเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
  • ภาวะซีด
  • ตาแดง ตาบวม บางรายเลือดออก

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคเลือดออกตามไรฟัน ตรวจประวัติการรักษา สอบถามพฤติกรรมการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ ตรวจช่องปาก เหงือก และ ฟัน เอกซเรย์กระดูก ดูโครงสร้างกระดูก

การรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับโรคเลือดออกตามไรฟันไม่ร้ายแรง สามารถหายเองได้ เพียงคนที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันต้องหมั่นรักษาความสะอาดในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนั้นการให้วิตามินซี เสริม ตามปริมาณอายุ เพศ ภาวะของร่างกาย และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ให้เน้นผัก ผลไม้ มีรสเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น เช่น ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว สัปปะรด มะเขือเทศ มะม่วง พริกหวาน กะหล่ำ เน้นรับประทานสด แทนการปรุงอาหารด้วยความร้อน

การป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

แนวทางการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันให้ดูแลสุขภาพ และ สุขภาพช่องปากให้สะอาด แนวทางการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน มีดังนี้

  • พยายามบังคับ ตนเองให้เน้น รับประทานผัก และ ผลไม้ ตามที่แนะนำข้างต้น เพิ่มมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และ ดื่ม สุรา หากสามารถเลิกได้จะดีที่สุด
  • การซื้อวิตามินซีเสริม รับประทานเอง จะต้องปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อน เพราะ หาก ร่างกายรับวิตามินเกินความต้องการ จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ตับ ไตทำงานหนัก โรคหัวใจ เป็นต้น

มะเร็งช่องปาก ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่เสี่ยงมะเร็งช่องปากสูง อาการมีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาและป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง มะเร็งในช่องปาก โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ปาก รวมถึงอวัยวะในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ และ ต่อมทอนซิล มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน มักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบมากในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป

สำหรับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากมากกว่าคนทั่วไปมากถึงประมาณ 15 เท่า

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคได้ แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งช่องปาก คือ การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่กระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งช่องปากด้วย มีดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV )
  • อาการเหงือกอักเสบแบบเรื้อรัง หากเกิดขึ้นแบบซ้ำๆ อาจกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งได้
  • การเคี้ยวหมากของผู้สูงวัย ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคในช่องปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ระยะของมะเร็งช่องปาก

สำหรับโรคมะเร็งช่องในปาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 1 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก แต่มีขนาดไม่ใหญ่ ขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 2 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังน้อยก่วา 4 เซนติเมตร ระยะนี้จะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 3 ขนาดของก้อนเนื้อใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ ในระยะนี้เกิดขึ้นเพียงข้างเดียวของลำคอ
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 4 ระยะนี้ก้อนเนื้อ เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ ระยะนี้เป็นระยะรุนแรง สามารถเสียชีวิตได้

อาการโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก จะพบว่าในช่องปากมีสีขาวหรือสีแดงบริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้ม หากเกิดรอยลักษณะดังกล่าวเป็นเวลานาน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคมะเร็งช่องปาก ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรค แต่โดยทั่วไปสามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งในช่องปาก ได้ดังนี้

  • มีรอยสีขาวหรือรอยด่างแดงในช่องปาก
  • มีอาการบวม มีตุ่ม หรือ ก้อนเนื้อในช่องปาก ริมฝีปาก ลิ้น หรือ เหงือก
  • มีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกระคายเคืองภายในลำคอเหมือนมีบางสิ่งบางอย่างติดอยู่
  • มีอาการชา หรือ มีอาหารเจ็บ บริเวณใบหน้า ปาก หรือ ลำคอ โดยอาการไม่หายภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
  • มีการเปลี่ยนแปลงของตัวฟัน เช่น การสบฟัน หรือ การเคี้ยว
  • มีอาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง
  • เสียงเปลี่ยน เช่น เสียงแหบ
  • มีอาการเจ็บหู
  • น้ำหนักลดอย่างมาก

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องตัดชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง โดยแนวทางการวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การตรวจประวัติการรักษา อาการต่างๆเบื้องต้น
  • การตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจก้อนเนื้อบริเวณลำคอ การตรวจช่องปาก
  • การตัดก้อนเนื้อเพื่อมาตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจเลือดเพื่อประเมินร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ เบาหวาน การทำงานของไต ตับ กระดูก สมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
  • X-ray ดูช่องอก ปอด หัวใจ
  • ตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจโดยเอ็มอาร์ไอ บริเวณปากและลำคอเพื่อประเมินการลุกลามของโรค
  • การอัลตราซาวน์ดูการลุกลามของโรคในตับ
  • การตรวจทางทันตกรรมเพื่อดูแลรักษาฟันร่วมกับการรักษาต่างๆ

การรักษาโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งช่องปาก แพทย์จะใช้การผ่าตัด ร่วมกับ การฉายรังสี ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ระยะของการเกิดโรค ขนาดและตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง รายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก มีดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ในระยะต้นของโรค แต่ไม่เกินระยะสาม มักมีผลข้างเคียงทำให้เกิด อาการปวดเจ็บ หรืออาจเกิดการติดเชื้อ
  • รังสีรักษา สามารถทำได้โดยการฉายโดยตรงหรือฝังแร่ ซึ่งมักใช้ร่วมกับการผ่าตัด ผลข้างเคียงที่เกิดคือผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี จะต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
  • เคมีบำบัด ใช่ร่วมกับวิธีอื่นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ มักมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด เกร็ดเลือดต่ำ ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ยังไมสามารถทำได้ เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การงดเว้นปัจจัยเสียงที่กระตุ้นให้เกิดโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ไม่เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • รักษาสุขภาพในช่องปาก และ แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
  • หมั่นสังเกตุอาการตนเอง โดยเฉพาะในช่องปาก หากพบอาการผิดปกติตุ่มหนอง ก้อนเนื้อควรรีบปรึกษาแพทย์

มะเร็งช่องปาก โรคอันตรายโรคหนึ่ง ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคสูง อาการสำคัญที่พบ คือ มีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย