เลือดออกตามไรฟัน Scurvy ภาวะเลือดออกตามไรฟันเกิดจากหลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก แตกและฉีกขาด สัญญาณเตือนการเกิดโรคในช่องปากอื่นๆ จำเป็นต้องรักษาและป้องกัน

เลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด โรคในช่องปาก

โรคเลือดออกตามไร ( Scurvy ) หรือ ลักกะปิดลักกะเปิด คือ ภาวะร่างกายขาดวิตามินซี ทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก เกิดการแตกและฉีกขาดจนมีเลือกออกจากเหงือก พบบ่อบในกลุ่มโรคในช่องปาก

วิตามินซี มีความสำคัญต่อ กระบวนการซ่อมแซมตนเองของเซลล์ การบวม การอักเสบจำเป็นต้องมีวิตามินซี หลอดเลือดขนาดเล็กจะมีวิตามินซี เสริมสร้างความแข็งแรง ดังนั้น เมื่อขาดวิตามินซี ก็จะทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนัง และ เหงือก เกิดการแตก ชีกขาด ได้ง่าย ส่วนมากจะพบเมื่ออายุมากขึ้น ในวัยทำงานจนถึงวัยชรา พบได้ทั้งชายและหญิง พอๆกัน

ซึ่งถึงแม้ว่าจะรับประทานวิตามินซี ในปริมาณที่เพียงพอ แต่ในผู้ป่วยบางราย มีปัญหาเรื่องการดูดซึม วิตามินซี ทำให้ไม่ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้เกิด อาการของโรคลักปิดลักเปิด โรคนี้เป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่เป็นสัญญาณเตือนแรก ในความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย หากปล่อยไว้เรื้อรัง จะมีปัญหาต่อเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลอันตรายต่อโรครุนแรง อื่นที่ตามมาได้

สาเหตุของโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน มีหลายสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย 

  • การสูบบุหรี่ ซึ่งสารพิษในบุหรี่ มีผลต่อประสิทธิภาพ การดูดซึมวิตามินซี ของลำไส้ให้ลดลง
  • โรคลำไส้อักเสบ จะมีผลต่อการดูดซึมของลำไส้ ทำให้ร่างกายขาดวิตามินซี ในขณะที่ป่วยโรคนี้
  • อายุ เพราะ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความต้องการวิตามินซี ของร่างกายจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ในเด็กก่อน 9 ปี ต้องการวิตามินซีเฉลี่ยประมาณ 35 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เป็นเฉลี่ย 70 มิลลิกรัมต่อวัน
  • การตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงเกิดการตั้งครรภ์จะพบว่าความต้องการวิตามินซี ในร่างกายจะเพิ่มขึ้นมากกว่าภาวะปกติ อีก ประมาณ 10 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขณะให้นมบุตร พบว่าวิตามินซี มีส่วนสำคัญ ในกระบวนการสร้างน้ำนมของแม่ ซึ่งความต้องการวิตามินซี จะมากขึ้นกว่าปกติอีกถึง ประมาณ 40 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว
  • การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง พบว่า วิตามินซีจะเสียสภาพ เมื่ออยู่ในความร้อนสูง ในผักและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะพบวิตามินซีสูง แต่เมื่อนำไปประกอบอาหารโดยใช้ความร้อน พวกอาหารพัด อาหารนึ่ง อาหารอบ พบว่าวิตามินซี เสียสภาพไปมากกว่า 60 %
  • ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ขณะที่ต้องเข้ารับการฟอกไต
  • การดื่มสุรา มีผลต่อการดูดซึมของลำไส้
  • พฤติกรรมการกิน พบมากในเด็กที่ไม่ชอบรับประทานผัก และ ผลไม้
  • ภาวะทางเศรฐกิจ การอพยพย้ายถิ่น การลี้ภัยสงคราม มักพบว่าเกิดภาวะขาดวิตามินซี เนื่องจากไม่ได้รับอาหารพวกผัก และ ผลไม้ที่มีวิตามินซี ที่เพียงพอ

อาการโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับการแสดงอาการของโรคเลือดออกตามไรฟันไม่แสดงอาการหนักต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ แต่ สิ่งที่ต้องระวัง คือ การติดเชื้อโรคในช่องปาก ลักษณะอาการที่ผิดปรกติ สำหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกตามไรฟันที่ต้องพบแพทย์

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หมดแรง ไม่มีแรงทำงาน
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีอาการปวด เป็นๆหายๆ
  • เลือดออกตามลายฟัน เหงือกบวมง่าย
  • เลือดติดแปรงสีฟัน ขณะแปรงฟัน
  • เลือดออกที่เหงือก เมื่อรับประมาณอาหารแข็ง
  • ผิวหนังห้อเลือดง่าย เป็นจุดแดงตามผิวหนัง
  • ซูบผอม ร่างกายไม่โต กระดูกผิดรูป ร่างกายเล็กเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
  • ภาวะซีด
  • ตาแดง ตาบวม บางรายเลือดออก

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคเลือดออกตามไรฟัน ตรวจประวัติการรักษา สอบถามพฤติกรรมการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ ตรวจช่องปาก เหงือก และ ฟัน เอกซเรย์กระดูก ดูโครงสร้างกระดูก

การรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับโรคเลือดออกตามไรฟันไม่ร้ายแรง สามารถหายเองได้ เพียงคนที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันต้องหมั่นรักษาความสะอาดในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนั้นการให้วิตามินซี เสริม ตามปริมาณอายุ เพศ ภาวะของร่างกาย และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ให้เน้นผัก ผลไม้ มีรสเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น เช่น ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว สัปปะรด มะเขือเทศ มะม่วง พริกหวาน กะหล่ำ เน้นรับประทานสด แทนการปรุงอาหารด้วยความร้อน

การป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

แนวทางการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันให้ดูแลสุขภาพ และ สุขภาพช่องปากให้สะอาด แนวทางการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน มีดังนี้

  • พยายามบังคับ ตนเองให้เน้น รับประทานผัก และ ผลไม้ ตามที่แนะนำข้างต้น เพิ่มมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และ ดื่ม สุรา หากสามารถเลิกได้จะดีที่สุด
  • การซื้อวิตามินซีเสริม รับประทานเอง จะต้องปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อน เพราะ หาก ร่างกายรับวิตามินเกินความต้องการ จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ตับ ไตทำงานหนัก โรคหัวใจ เป็นต้น

ไข้ทับระดู อาการปวดท้องและมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน เกิดขึ้นกับสตรีโดยทั่วไป บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปวดท้องแบบไหนปรกติ แบบไหนไม่ปรกติ

ไข้ทับระดู โรคสตรี

คำว่า ระดู หมายถึง เลือดประจำเดือนของสตรี

ไข้ทับระดู ( Period Flu ) คือ อาการมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน ผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนแอลง เนื่องจากการขับเลือดของร่างกาย ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อน้อยลง ช่วงมีประจำเดือนทำให้มีโอกาสติดเชื้อจึงง่ายกว่าปกติ ไข้ทับระดูในอดีต อาจดูเป็นโรคน่ากลัวสำหรับผู้หญิง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย ควมรุนแรงของโรคน้อยลงมาก

ประเภทของไข้ทับระดู

สำหรับการแบ่งประเภทของโรคไข่ทับระดู มี 2 ประเภท คือ ไข้ทับระดูที่ไม่มีภาวะอื่นแอบแฝง และ ไข่ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  •  ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง ลักษณะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด อ่อนเพลีย สามารถรับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการได้
  •  ไข้ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง ลักษณะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดหลัง ปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีตกขาวผิดปรกติร่วมด้วย

สาเหตุของโรคไข้ทับระดู

สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการไข้ทับระดู ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นไข้หวัดธรรมดาและไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่สำหรับสาเหตุอื่นๆ สามารถสรุปสาเหตุต่างๆได้ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน อาจเกิดจาก เชื้อหนองใน หรือ เชื้อคลามัยเดีย
  • ภาวะหลังคลอดของผู้ป่วยบางคน มักจะเกิดจาก ตัวของเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ เป็นปกติวิสัยในช่องคลอดกระตุ้นให้ เชื้อโรคนั้นเจริญขึ้น จนเกิดเป็นโรคได้
  • อาจเกิดจากการแปดเปื้อนเชื้อโรคจากภายนอกช่องคลอด เข้าไปสู่ช่องคลอด และ มดลูกได้
  • อาจเกิดจากการทำแท้ง ซึ่งจะทำให้เชื้อกระจายตัวเข้าไปในมดลูก และเกิดการอักเสบ ที่เรียกกันว่า การทำแท้งติดเชื้อ

อาการของไข้ทับระดู

สำหรับอาการผู้ป่วยไข่ทับระดู ผู้ป่วยมักจะมีอาการที่ไข้ขึ้นสูง ปวดท้องน้อย ลักษณะบิดๆ หากไม่มีอาการผิดปรกติมาก อาการปวดท้องจะค่อยๆหายไปเอง หากมีลักษณะอาการผิดปรกติ เช่น อาการตกขาวเป็นหนองและจะมีกลิ่นที่แรงมาก เหม็นมาก อาการปวดหลังแบบรุนแรง คลื่นไส้และอาเจียน ประจำเดือนออกมามากและมีกลิ่นเหม็น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค

การรักษาไข้ทับระดู

แนวทางการรักษาโรคไข้ทับระดู เราแบ่งแนวทางการรักษาตามประเภทของไข้ทับระดู โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง ไข้ทับระดูสามารถรักษาตามอาการได้ทันที ถ้ามีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน และปวดท้องน้อย ก็ให้ใช้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดประจำเดือนตามปกติ สามารถดื่มน้ำอุ่นเพื่อขับพิษไข้ ระบายออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ หรือใช้ถุงน้ำร้อนประคบที่ท้องเพื่อให้เลือดประจำเดือนขับออกมาได้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ควรดูแลทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • ไข้ทับระดูที่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง หากมีอาการของไข้ทับระดูชนิดนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อสอบถามซักประวัติผู้ป่วย ประวัติการใช้ยา รวมถึงประวัติการมีเพศสัมพันธ์

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ทับระดู

  • อาจจะก่อให้เกิดฝีในรังไข่ หรือ บริเวณท่อรังไข่ ซึ่งมันจะทำให้เป็นแผลเป็น และ เกิดการเป็นหมันได้
  • จะมีโอกาสเกิด การตั้งครรภ์นอกมดลูกถึง 50%
  • จะเกิด อาการเจ็บปวด เมื่อเวลาที่มี เพศสัมพันธ์

การป้องกันการเกิดไข้ทับระดู

  • ควรเลี่ยง การสวนล้างช่องคลอด เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากตลอดบุตร
  • สำหรับคนที่ยังไม่พร้อมมีบุตร ควรจะเลี่ยง การทำแท้งด้วยตัวเอง หรือ ใช้อุปกรณ์ที่สกปรกใน การทำแท้ง
  • ออกกังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ ให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย
  • ถ้าหากคิดว่าติด เชื้อหนองใน จากคนรัก ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนที่เชื้อจะลุกลาม และ จะทำให้ ปีกมดลูดอักเสบได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย