สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ทานาคา ต้นกระแจะ ไม้ทานาคานำมาฝนกันหินผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณป้องกันสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ทานาคา สมุนไพร

ทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) เป็นไม้เนื้อแข็ง ในประเทศพม่า พบในเขตร้อนของภาคกลาง พุกาม และ มัณฑะเลย์ เท่านั้น  คุณสมบัติของทานาคา มีกลิ่นหอม ชาวพม่าใช้ทานาคามาบำรุงผิวพรรณมากกว่า 200 ปี โดยนำไม้ทานาคาฝนกับแผ่นหิน เจือน้ำเล็กน้อย นำมาทาเรือนร่างและใบหน้า

ต้นทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทานาคา Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. พืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอืื่นๆของทานาคา เช่น กระแจะจัน ขะแจะ ตุมตัง พญายา ตะนาว พินิยา กระแจะสัน ตูมตัง จุมจัง จุมจาง ชะแจะ พุดไทร ฮางแกง กระเจาะ เป็นต้น

สารเคมีในทานาคา
เปลือกของไม้ทานาคา มี สารOPC เนื้อไม้ของทานาคา มีสารCurcuminoid มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดทานาคา 100% ให้สารออกฤทธิ์ความเข้มข้นสูง สรรพคุณชะลอวัย เปลือกทานาคา บดละเอียด มีลักษณะเป็นผง สีเหลืองนวล ใช้ผสมน้ำขัดหน้าและพอกหน้า

ลักษณะของต้นทานาคา

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ต้นทานาคาพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ด การปักชำ พืชพื้นเมืองในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และ ประเทศไทยเขตภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะของต้นทานาคา มีดังนี้

  • ลำต้นของทานาคา ลักษณะตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ความสูงประมาณ 15 เมตร เนื้อไม้ทานาคาเป็นสีขาว  เปลือกลำต้นสีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม เนื้อไม้เมื่อถูกตัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน
  • ใบทานาคา ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับกัน ใบย่อยเป็นรูปวงรี โคนและปลายใบแคบ ใบเป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้นๆ ผิวใบเนียน เกลี้ยง
  • ดอกทานาคา ออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามซอกใบ และ กิ่งเล็กๆ ดอกมีขน สีขาวนุ่ม กลีบดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวด้านของดอกทานาคามีต่อมน้ำมัน ดอกทานาคาออกเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  • ผลทานาคา ลักษณะกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงคล้ำ เมล็ดในผล เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน ผลจะแก่จะออกช่วงในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี

สรรพคุณของทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคา มักรู้จักันดในด้านการบำรุงผิวของชาวพม่า ใช้ประทินผิว แต่จริงๆแล้วทานาคา สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วน เปลือกลำต้น แก่นไม้ ผล รากใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แก่นไม้ทานาคา รสจืด สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยปรับสภาพผิว ทำให้ผิวขาว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาจุดด่างดำ รักษารอยแผลเป็น รักษาผดผื่นคัน รักษาผิวอักเสบ ควบคุมความมันของใบหน้า ต่อต้านริ้วรอย ช่วยชะลอวัย ป้องกันผิวจากแสงแดด ระงับกลิ่นกาย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ปวดเมื้อย แก้อักเสบ
  • ผลของทานาคา รสขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้พิษ ลดไข้ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยสมานแผล
  • เปลือกลำต้นทานาคา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ ขับลม
  • รากทานาคา รสขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร  ลดไข้ ขับเหงื่อ รักษาโรคลำไส้ ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ใบทานาคา รสขม สรรพคุณ ช่วยคุมกำเนิด แก้ปวดข้อ ลดอาการปวด

โทษของทานาคา

  • ใบทานาคา มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคันที่มีบุตรยาก ต้องการมีลูก ไม่บริโภตทานาคา

วิธีใช้ทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคาในการบำรุงผิวพรรณและพอกผิว มีราละเอียด ดังนี้

  • ให้ใช้หินนำมาฝนไม้ทานาคาให้เป็นผง และ ใช้น้ำสะอาดธรรมดา หรือ น้ำมะเฟือง หรือ น้ำนม หรือ น้ำผึ้ง นำมาผสม นำมาขัดและพอกหน้า
  • ห้ามใช้ทานาคาขัดหน้าที่เป็นสิวอักเสบ อาจทำให้สิวอักเสบมากขึ้น ทานาคาเหมาะสำหรับขัดหน้าที่ไม่มีสิว
  • การใช้ทานาคาขัดหน้า ให้ขัดแค่ 5 นาที และ ล้างด้วยน้ำธรรมดา ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น แล้วปล่อยหน้าทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วก็ใช้ฝ่ามือลูบเบาๆ

ทานาคา หรือ ต้นกระแจะ คือ พืชพื้นเมือง ไม้ทานาคา นำมาฝนกันหิน ผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณของทานาคา ต่อต้านความเสื่อมเซลล์ผิว ป้องกันการเกิดสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ช่วยป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

มะขาม Tamarind นิยมทานผลมะขาม ผลไม้ รสเปรี้ยวหวาน ต้นมะขามเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงผิว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม โทษของมะขาม

มะขาม ผลไม้ สมุนไพร

มะขาม มีชื่อสามัญ ว่า Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ  Tamarindus indica L. พืชตระกูลถั่ว มะขาม เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น ถิ่นกำเนิดของมะขาม มาจากทวีปแอฟริกา มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศแถบเอเชีย จากช่องทางการค้าทางเรือ มะขามในความเชื่อตามตำราพรหมชาติ มะขามเป็นไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ทำให้เป็นคนเกรงขาม

มะขามในประเทศไทย

มะขามในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สำหรับจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องมะขาม คือ เพชรบูรณ์ มีฉายาว่า เมืองมะขามหวาน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะขาม มะขามในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม คือ มะขามเปรี้ยว ( sour tamarind ) และ มะขามหวาน ( sweet tamarind )

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

สำหรับ ประโยชน์ของมะขาม นักโภชนากการ ได้ ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี

มะขามดิบ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

มะขามดิบ ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม คือ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะแตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีหนาม ลักษณะของต้นมะขาม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขาม ตั้งตรง สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกขรุขระ หนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม มีขนาดเล็ด จำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีจุดประสีม่วงแดง
  • ผลมะขาม ออกเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา หรือ สีน้ำตาลเกรียม มีเนื้อในติดกับเปลือก ส่วนฝักแก่ฝัก เปลือกแข็งกรอบ และ หักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีน้ำตาล เนื้อมะขามแก่มีรสเปรี้ยว มีเมล็ด

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับมะขาม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค มะขามนิยมนำใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง และ ปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณของมะขาม มีดังนี้

  • รากมะขาม สรรพคุณ แก้ท้องร่วง ช่วยสมานแผล รักษาเริม รักษางูสวัด
  • เปลือกต้นมะขาม สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
  • แก่นไม้มะขาม สรรพคุณช่วยขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูก ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ สำหรับสตรีหลังคลอด
  • ใบมะขาม มีความเป็นกรดเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาถ่าย ช่วยขับถ่าย ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้ปวดท้อง รักษาไข้หวัด ขับเสมหะ แก้ตาอักเสบ ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ
  • เนื้อของผลมะขาม สรรพคุณแก้ท้องผูก เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลมะขามดิบ สรรพคุณช่วยฟอกเลือด ลดความอ้วน เป็นยาระบายอ่อนๆ ลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดไข้
  • เนื้อในเมล็ดมะขาม สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย
  • เปลือกเมล็ดมะขาม สรรพคุณแก้ท้องร่วง รักษาแผลในปาก รักษาแผลสด ถอนพิษ รักษาไฟไหม้
  • ดอกมะขาม สรรพคุณลดความดันโลหิต

โทษของมะขาม

มะขาม มีรสเปรี้ยว มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ก็เกิดโทษได้ สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม มีดังนี้

  • มะขามเปียก ที่ซื้อในตลาดอาจมีสิ่งสกปรกเจือปน หากนำมาทำอาหาร หรือ รับประทานแบบไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสียอย่างหนัก ซึ่งมะขามมีสรรพคุณเป็นยาระบายอยู่แล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากเกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และ ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

การปลูกมะขาม

สำหรับการปลูกมะขาม นิยมขยายพันธุ์มะขาม โดยการทาบกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง มะขามขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสมในการปลูกมะขามคือฤดูฝน รายละเอียด การปลูกมะขาม มีดังนี้

  • เตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาว และ ลึก ด้านละ 60 ซม.
  • ใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าดินรองก้นหลุม
  • เอากิ่งพันธุ์ ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว
  • ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และ บำรุงรักษาหลังเริ่มปลูก เอาใจใส่รดน้ำทุกวัน กำจัดหญ้ารอบต้น

ต้นมะขาม ( Tamarind ) พืชพื้นเมือง นิยมทานผลมะขาม เป็น ผลไม้ รสเปรี้ยว และ หวาน ลักษณะของต้นมะขาม ประโยชน์ของมะขาม สรรพคุณของมะขาม เช่น เป็นยาระบาย บำรุงผิว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ โทษของมะขาม


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร