เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ แหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณและโทษมีอะไรบ้าง

เห็ดหอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเห็ดหอม คือ พืชชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆของเห็ดหอม คือ ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น เห็ดหอม เป็นพืชที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ดอกเห็ดหอมมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นแหล่งกากใยอาหารชั้นดี อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลากชนิด มีประโยขน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค บำรุงกระดูก ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

ลักษณะของต้นเห็ดหอม

เห็ดหอม ( Shiitake ) คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอมให้ผลผลิดตลอดทั้งปี โดยให้ผลผลิดสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ต้นเห็ดหอมมีลักษณะเหมือนหมวกกลมๆ ผิวสีน้ำตาลอ่อน มีขนสีขาวอ่อนๆ ก้านดอกเห็ด และ โคนเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอม สามารถรับประทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมนั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง โดยผลการศึกษาพบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมสด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 387 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาการ 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 8.5 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 375 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

สำหรับการศึกษาเห็ดหอม จากการศึกษาเห็ดหอมในงานวิจัยของญี่ปุ่น พบว่าในเห็กหอมมีสารอาหารสำคัญหลายชนิด เช่น

  • เลนติแนน ( Lentinan ) สารอาหารชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและมะเร็งได้ดี
  • กรดอะมิโนอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) กรออมิโนชนิดนี้ช่วยย่อยคอเลสเตอรอลได้ดี ลดไขมันและคอเรสเตอรัลในเลือดได้ดี ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ
  • สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) ช่วยบำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคกระดูกผุ ป้องกันโรคโลหิตจาง

สรรพคุณของเห็ดหอม

สำหรับการบริโภคเห็ดหอม นั้นมีปรธโยชน์และสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย ซึ่งสรรพคุณของเห็ดหอมมีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด ช่วยสร้างระบบภูมิต้านทานโรคทำให้แก่ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย หรืออาการโลหิตจาง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี
  • ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ไม่ให้กระดูกเปราะหรือแตกหักง่าย
  • ช่วยบำรุงระบบสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่ซึมเศร้า ช่วยให้ระบบประสาทของร่างกายให้ทำงานได้ดี
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ใบหน้าดูไม่แก่ก่อนวัย
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายและสบายขึ้น

โทษของเห็ดหอม

สำหรับการนำเห็ดหอมมารับประทาน ในปัจจุบันมีการนำเห็ดหอมมารับประทานในหลายรูปแบบ ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง สำหรักการเลือกเห็ดหอมที่สะอาดและ ปรุงอย่างถูกวิธี จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษจากการกินเห็ดหอม โดยการซื้อเห็ดหอม สำหรับเห็ดหอมแห้ง ควรเลือกซื้อเห็ดหอมที่ดอกหนา มีรอยแตกสีขาวลึกกระจายทั่วดอก โดยให้นำไปแช่น้ำร้อนประมาณ 15 นาที จนเห็ดหอมแห้งนุ่มก่อนนำไปปรุงอาหาร ส่วนเห็ดหอมสด ควรเลือกซื้อดอกเห็ดที่สดและสะอาด สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานเห็ดหอม มีดังนี้

  • การรับประทานเห็ดหอม สำหรับคนที่มีอาการแพ้เห็ดหอม ให้หยุดกินทันที และ พบเพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งหากรับประทานเห็ดหอมและมีอาการดังนี้ คือ ปวดท้อง มีอาการแพ้ตามผิวหนัง มีเลือดออกผิดปกติ หายใจลำบาก ให้พบแพทย์ด่วน
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม
  • สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคลูปัส โรครูมาตอยด์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอมกระตุ้นการทำงานของร่างกาย อาจทำให้อาการของโรคมากขึ้นได้
  • ผู้ป่วยโรคเซลล์เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงกว่าปกติ ( Eosinophilia ) ห้ามรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอม อาจทำให้เกิดอาการของโรคมากขึ้น

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ คือ พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออก ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม สรรพคุณของเห็ดหอม และ โทษของเห็ดหอม มีอะไรบ้าง เห็ดหอม เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด

หอมหัวใหญ่ พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร มีกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ ประโยชน์ สรรพคุณของหอมใหญ่ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจหอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหอมหัวใหญ่ ( Onion )  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมหัวใหญ่ คือ Allium cepa L. ชื่อเรียกอื่นๅของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่ จัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับพับพลึง นิยมใช้ในการนำมาทำอาหาร ปรุงรสอาหารให้รสชาติ หอมหัวใหญ่ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มากมาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และสารเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวมาบริโภค ถิ่นกำเนิดของหอมหัวใหญ่ อยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แหล่งผลิตที่สำคัญของหอมหัวใหญ่ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศอินเดีย หอมใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ที่มีการระบายน้ำ และ อากาศได้ดี ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมหัวใหญ่ มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกบางๆ สีแดง ลำต้นหอมหัวใหญ่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า หัวหอม มีกลีบสีขาวอวบน้ำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หัวหอมใหญ่มีกลิ่นฉุน
  • ใบหอมหัวใหญ่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบยาว กลม ออกเป็นกระจุก แทงออกมาจากหัว มีสีเขียว ใบมีกลิ่นฉุน
  • ดอกหอมหัวใหญ่ ลักษณะดอกหอมใหญ่ ออกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการชองหอมหัวใหญ่

สำหรับการนำหอมหัวใหญ่มารับประทาน นั้นนิยมใช้หัวของหอมใหญ่มารับประทาน ซึ่งรับประทานทั้งหัวสดๆ หรือ นำมาผ่านความร้อนก่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหอมหัวใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สำหรับสารเคมีต่างๆในหอมหัวใหญ่ มีสารประกอบ กำมะถันหลายชนิด เช่น สารไดอัลลิลไดซัลไฟด์  สารไซโคลอัลลิอิน และ ยังอุดมไปด้วยวิตามินอี และ สารต่างๆที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ สำหรับกลิ่นฉุนของหอมหัวใหญ่ นั้นเกิดจากสาร ACSOs โดยกลิ่นฉุนถูกขับออกมาเมื่อเซลล์หอมถูกทำลาย

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ โดยสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ และ ป้องกันมะเร็งได้ดี
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ง่วง ช่วยในการนอนหลับสบาย
  • ช่วยบำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยทำให้มีความจำที่ดี ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และ ลดความเสี่ยงอัมพาต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต รักษาเบาหวาน
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน สำหรับสตรีหลังหมดประจำเดือน
  • ช่วยรักษาไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยขับเสมหะ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ ป้องกันเชื้อแบคที่เรีย
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลฟกช้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ นั้นต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากหอมใหญ่มีฤทธิ์อุ่น และ รสเผ็ด ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ การนำหอมหัวใหญ่มาใช้ประโยชน์ ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ข้อควรระวังในการใช้หอมหัวใหญ่ มีดังนี

  • หอมหัวใหญ่ มีกลิ่นฉุน และ ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ หากระอองจากหัวหอมเข้าตา
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ ในปริมาณมากเกินไป และ รับประทานต่อเนื่องติดๆกัน อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม สายตามัว และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด ในขณะที่ท้องว่าง เพราะ อาจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะได้
  • หอมหัวใหญ่กลิ่นแรง ทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับคนที่มีกลิ่นตัวแรง ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไป
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย