ลูกสำรอง พุงทะลาย สมุนไพร ช่วยลดความอ้วน ต้นสำรองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ โทษของลูกสำรองมีอะไรบ้างสำรอง สมุนไพร ลูกสำรอง

ต้นสำรอง ภาษาอังกฤษ เรียก Malva nut ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกสำรอง คือ Scaphium scaphigerum (Wall. ex G. Don) G.Planch. พืชตระกูลชบา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสำรอง เข่น หมากจอง บักจอง ท้ายเภา ฮวงไต้ไฮ้ พ่างต้าห่าย เป็นต้น สำหรับต้นสำรอง สามารถพบได้ทั่วไปในป่าดงดิบ และ ป่าพื้นราบ ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า เวียดนาม มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบต้นสำรองมากในทางภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จันทบุรี และ ตราด เป็นต้นฃ

ลูกสำรอง มีสรรพคุณเด่น คือ ช่วยลดความอ้วน มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ พุงทะลาย เนื่องจากลูกสำรอง เมื่อรับประทานเข้าไปจะพองตัวได้ดี ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มไม่หิว ช่วยกำจัดไขมัน และ ช่วยดูดซับไขมันและขับถ่ายออกมาทางอุจจาระได้ดี

ลักษณะของต้นสำรอง

ต้นสำรอง เป็นไม้ยืนต้น พบทั่วไปตามป่าดงดิบและป่าตามพื้นราบ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งรายละเอียดของต้นสำรอง มีดังนี้

  • ลำต้นสำรอง ลักษณะลำต้นกลม เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณ 20 ถึง 40 เมตร เปลือกของลำต้นแตกสะเก็ด สีน้ำตาล เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอมแดง
  • ใบสำรอง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันตามกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวเข้ม ใบเป็นมัน ขอบใบเป็นลูกคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกสำรอง ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้สีเหลือง และ เกสรตัวเมียสีแดง ดอกสำรองจะออกดอกประมาณเดือนมกราคมของทุกปี
  • ผลของลูกสำรอง ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่ ผลดิบสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล ส่วนท้ายของผลจะมีแผ่นบางๆสีน้ำตาลคล้ายใบเรือ เรียกว่า ปีก
  • เมล็ดสำรอง ลักษณะผลรีคล้ายกระสวย เปลือกของเมล็ดสำรองแข็ง สีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของลูกสำรอง

สำหรับการนำสำรองมารับประทานเป็นอาหาร นิยมนำลูกสำรองมารับประทาน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกสำรอง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 4,175.24 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 64.12 – 76.45% โปรตีน 3.75-9.5 % ไขมัน 0.41 – 9.5%  คาร์โบไฮเดรต 62% ซึ่งคาร์โบไฮเดรตที่พบส่วนมากเป็นน้ำตาลโมโนแซกคาไรด์ ได้แก่ Arabinose , Galactose , Glucose , Mannose , Rhamnose และ Xylose เป็นต้น นอกจากนี้ในลูกสำรอง พบว่ามีสาร Glucorine 15% , Pentose 24% และสาร Bassorin เป็นต้น

สรรพคุณของลูกสำรอง 

สำหรับการนำสำรองมาใช้ประโยชน์เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลสำรอง หรือ ลูกสำรอง ใบ เปลือก แก่นไม้ และ ราก สรรพคุณของสำรอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกสำรอง สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความอ้วน ช่วยกระชับร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจ บรรเทาอาการไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้เจ็บคอ ช่วยขับลม ช่วยบำรุงสำไส้ ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย แก้ท้องเดิน แก้ท้องเสีย และ บรรเทาอาการตาอักเสบ รักษาตาบวมแดง
  • ใบสำรอง สรรพคุณช่วยขับลม และ เป็นยาถ่ายพยาธิ
  • เปลือกลำต้น สำรองสรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย รักษาโรคเลื้อน
  • แก่นไม้ต้นสำรอง สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย รักษาโรคเลื้อน
  • รากต้นสำรอง สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้พยาธิผิวหนัง แก้ไอ และ ช่วยขับลม

โทษของสำรอง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสำรอง ปัจจุบันมีการนำลูกสำรอง มาทำ น้ำสำรอง รับประทาน เชื่อว่าจะช่วยลดความอ้วน และ เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดโทษได้ ซึ่งโทษของสำรอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • สำรองจะมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายเป็นปกติ แต่ไม่แนะนำสำหรับเด็ก ผู้เป็นภูมิแพ้ และ สตรีมีครรภ์ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีภูมิที่ไว อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายขึ้น

ลูกสำรอง หรือ พุงทะลาย สมุนไพร ช่วยลดความอ้วน ลักษณะของต้นสำรองเป็นอย่างไร คุรค่าทางโภชนาการลูกสำรอง สรรพคุณของลูกสำรอง เช่น ดูดไขมัน บำรุงร่างกาย แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ โทษของลูกสำรองมีอะไรบ้าง

ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง สมุนไพร กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

เดือย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเดือย ( Adlay ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเดือย คือ Coix lacryma-jobi L. เดือย เป็น พืชตระกูลเดียวกับต้นหญ้า นิยมปลูกมากในภาคอีสาน ลูกเดือย สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น น้ำลูกเดือย เครื่องเคียงน้ำเต้าหู้ นำมาทำแป้งสำหรับทำขนม เดือย มีถิ่นกำเนิดในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศแถบยุโรป ปัจจุบันเดือยสามารถปลูกทั่วโลก โดยเฉพาะเขตประเทศอบอุ่น

เดือยในประเทศไทย

สำหรับ เดือย พบว่ามีการนำมาปลูกครั้งแรกในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2503 ที่เขตนิคมสร้างตนเองของ จ.สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา และในช่วงปี พ.ศ. 2513 ได้แพร่ไปยัง จ.ชัยภูมิ และเลย จนถึงภาคเหนือในปี พ.ศ. 2523  ลูกเดือย จัดเป็น พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย แหล่งปลูกเดือยที่สำคัญ คือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย คือ พื้นที่ปลูกเดือย ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับสายพันธ์ของเดือยที่ปลูกในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ ลูกเดือยหิน ลูกเดือยหินขบ และ ลูกเดือยทางการค้า โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยหิน ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกมากในภาคเหนือ เขตภูเขาสูง ลักษณะของลำต้นไม่สูงมาก ไม่นิยมนำมารับประทาน เพราะ ให้แป้งน้อย เปลือกและเมล็ดแข็งมาก สามารถนำมาทำเครื่องประดับได้
  • ลูกเดือยหินขบ ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกในภาคเหนือ ลักษณะลำต้นสูง สามารถรับประทานลูกเดือยได้
  • ลูกเดือยทางการค้า คือ ลูกเดือยที่นิยมรับประทานในปัจจุบัน เมล็ดคล้ายข้าวสาลี เปลือกบาง สีขาวขุ่น เดือย ชนิดนี้ มี 2 ประเภท คือ ลูกเดือยข้าวเหนียว ( glutinous type ) และ ลูกเดือยข้าวเจ้า ( nonglutinous type )

สายพันธุ์เดือย

สำหรับสายพันธ์เดือยที่มีการปลูกในปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ คือ var. lacryma-jobi , var. monilifur , var. stenocarpa และ var. ma-yuen รายละเอียด ดังนี้

  • var. lacryma-jobi เป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ลูกเดือยเป็นรูปข่ เปลือกแข็ง เมล็ดเงามัน ใช้ทำอาหารและเครื่องประดับได้
  • var. monilifur เป็นสายพันธุ์เดือยที่พบได้เฉพาะในประเทศพม่า และ ประเทศอินเดีย ไม่นิยมรับประทาน นำมาใช้ทำเครื่องประดับ
  • var. stenocarpa มะเดือยขี้หนอน ลักษณะของลูกเดือยคล้ายขวด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้ประดับเสื้อผ้า ทำสร้อย และ เครื่องประดับ
  • var. ma-yuen สายพันธุ์นี้ใช้นำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นเดือย

เดือย เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกันกับข้าวและต้นหญ้า สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเดือย เหมือนกับกอหญ้าทั่วไป ลำต้นกลม และ ตั้งตรง เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นปล้อง ผิวลำต้นเรียบ สีเขียว
  • ใบเดือย ลักษณะเรียวยาว สีเขียว กาบใบหุ้มลำต้น โคนใบหยัก ความยาวของใบประมาณ 45 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ และ ขอบใบคม บาดมือได้
  • ดอกเดือย เป็นลักษณะช่อ แทงออกแทงจากปลายลำต้น ช่อดอกยาว 8 เซนติเมตร ดอกของเดือยจะพัฒนาไปเป็นผลเดือย
  • ผลและเมล็ดเดือย ผลเดือยจะพัฒนามาจากดอกเดือย ลักษณะของผลเดือย กลม เปลือกของเมล็ดแข็ง ผลเดือยนำมารับประทานเป็นอาหาร ได้

คุณค่าทางโภชนาการของเดือย

สำหรับการรับประทานจะนำเมล็ดหรือผลมารับประทาน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 17.58 % ไขมัน 2.03 % คาร์โบไฮเดรต 51.58% ซิลิคอนไดออกไซด์ 0.1% แคลเซียม 0.04% แมกนีเซียม 0.06% โซเดียม 0.006% โปรแตสเซียม 0.14% ฟอสฟอรัส 0.15% และ กรดไขมัน

สำหรับสารสำคัญต่างๆที่พบในเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย coxenolide , Coixol , ethanediol , propanediol , butanediol
  • รากลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Lignin , Coixol , Palmitic Acid , Stearic Acid , Stigmeaterd และ Sitosterol

สารคอกซีโนไลด์ ( Coxenolide ) ที่พบในลูกเดือย มีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ช่วยรักษาอาการตกขาวได้

ประโยชน์ของลูกเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือย นั้นจะนำลูกเดือยมารับประทานเป็นอาหาร นำมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานต่างๆ เนื่องจากลูกเดือยมีส่วนผสมของแป้ง มีการนำไปแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยเปียก เต้าทึง น้ำลูกเดือย เป็นต้น สำหรับ สรรพคุณของเดือย เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้น เป็นต้น

สรรพคุณของเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ลูกเดือย ใบเดือย ลำต้นเดือย และ รากเดือย รายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการเหน็บชา ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ลดอาการปวดหัว ช่วยบำรุงเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องร่วง บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดข้อเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงเส้นผม รักษาการตกขาวผิดปกติในสตรี แก้เจ็บคอ รักษาวัณโรค ช่วยขับเลือด ช่วยขับหนอง
  • ใบเดือย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน แก้ปัสสาวะเหลืองขุ่น
  • รากลูกเดือย มีรสขม สรรพคุณช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ แก้โรคหนองใน แก้ข้อเข่าเสื่อม ลดอาการปวดตามข้อ รักษาอาการตกขาว ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

โทษของเดือย

สำหรับการรับประทานลูกเดือย อย่างปลอดภัย ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าการบริโภคลูกเดือยไม่ปลอดภัย แต่ข้อควรระวังในการรับประทานลูกเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยก่อนนำมารับประทานต้องนำมาทำให้อ่อนก่อน ไม่สามารถนำมารับประทานแบบแข็งๆ เนื่องจากอันตรายต่อระบบการย่อยิาหาร
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานลูกเดือย ลูกเดือยอาจเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ และทำให้มดลูกบีบตัว เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังการรับประทานลูกเดือย เนื่องจากลูกเดือยสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป

ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง พืชพื้นเมือง กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย