ทุเรียน ผลไม้ยอดนิยม ราชาแห่งผลไม้ ต้นทเรียนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงกำลัง รักษาโรคผิวหนัง โทษของทุเรียน มีอะไรบ้างทุเรียน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของทุเรียน

ทุเรียน พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเส้นศูยน์สูตร เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ บรูไน ผลทุเรียน มีกลิ่นฉุนรสหวาน เปลือกมีหนาม  ชอบดินร่วนซุย มีแสงแดด ต้นทุเรียน ( Durian ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียน คือ Durio zibethinus L.

ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับประวัติของทุเรียนในประเทศไทย มีประวัติการเขียนบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ หัวหน้าคณะราชทูตฝรั่งเศสในสมัยนั้น เขียนถึงเรื่องเกี่ยวกับทุเรียน ว่าเป็น ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับการปลูกทุเรียน มีการปลูกในภาคกลางตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่านำมาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย

สมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี หรอ สุ่น สุนทรเวช ได้กล่าวถึงทุเรียน ว่ามีการนำพันธุ์ทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมากรุงเทพ ปลูกด้วยการใช้การตอนกิ่ง ทำให้เกิดทุเรียนพันธ์ลูกผสมมากมาย สายพันธุ์ทุเรียนมีมากถึง 227 พันธุ์

สายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับสายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย มี 6 กลุ่ม สายพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มสายพันธ์กบ กลุ่มสายพันธ์ลวง กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว กลุ่มสายพันธ์กำปั่น กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย และ กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มสายพันธ์กบ จำแนกสายพันธุ์ได้ 46 สายพันธุ์ เช่น ทุเรียนกบตาดำ ทุเรียนกบทองคำ ทุเรียนกบวัดเพลง ทุเรียนกบก้านยาว
  • กลุ่มสายพันธ์ลวง จำแนกสายพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ทุเรียนลวงทอง ทุเรียนชะนี ทุเรียนสายหยุด ทุเรียนชะนีก้านยาว เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว จำแนกสายพันธุ์ได้ 8 พันธุ์ เช่น ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนก้านยาววัดสัก ทุเรียนก้านยาวพวง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์กำปั่น จำแนกสายพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกำปั่นเหลือง ทุเรียนกำปั่นแดง ทุเรียนปิ่นทอง ทุเรียนหมอนทอง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย จำแนกสายพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทุเรียนทองย้อยเดิม ทุเรียนทองย้อยฉัตร ทุเรียนทองใหม่ เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่ลักษณะสายพันธุ์ไม่แน่ชัด มี 83 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกะเทยเนื้อขาว ทุเรียนกะเทยเนื้อแดง ทุเรียนกะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น

ลักษณะของต้นทุเรียน

ต้นทุเรียน เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนยาวมากกว่า 10 ปี สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง เป็นต้น ลักษณะของต้นทุเรียน มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นทุรียน ลักษณะตั้งตรง ความสูงประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านมากมาย เปลือกชั้นนอกของทุเรียนเป็นสีเทา ผิวเปลือกขรุขระเป็นสะเก็ด
  • ใบทุเรียน เป็นใบเดี่ยวกระจายอยู่ทั่วตามกิ่งของทุเรียน ปลายใบใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบ ใบมีสีเขียว ท้องใบเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกทุเรียน ออกดอกเป็นดอกช่อ ดอกออกี่บนกิ่ง กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม คล้ายรูประฆัง
  • ผลทุเรียน ลักษณะกลมรี เปลือกผลเป็นหนามแหลม เปลือกผลทุเรียนสดมีสีเขียว และผลสุกมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเนื้อทุเรียน สีเหลืองอ่อน เนื้อในนิ่ม รสหวาน
  • เมล็ดทุเรียน ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีผิวเรียบ อยู่ภายในผลทุเรียน

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน

สำหรับการนำทุเรียน มารับประทานใช้รับประทานผลสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสุกทุเรียนขนาด 100 กรัม พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 147  กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม การใยอาหาร 3.8 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม โปรตีน 1.47 กรัม วิตามินเอ บีตาแคโรทีน วิตามินบี1 0.16 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.23 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม แคลเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียน

การใช้ประโยชน์จากทุเรียนด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก เนื้อทุเรียน รากทุเรียน ใบทุเรียน และ เปลือกทุเรียน รายละเอียด สรรพคุณของทุเรียน มีดังนี้

  • รากทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ และ แก้ท้องร่วง
  • ใบทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ดีซ่าน ช่วยรักษาแผลหนอง
  • เปลือกทุเรียน สรรพคุณใช้รักษาตานซาง รักษาโรคคางทูม ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาฝี รักษาแผลพุพอง ช่วยสมานแผล ใช้ไล่ยุงและแมลง
  • เนื้อทุเรียน สรรพคุณช่วยรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ

โทษของทุเรียน

สำหรับการกินทุเรียน ถึงแม้ว่ากลิ่นจะหอม รสจะหวาน แต่หากรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ ข้อควรรู้ในการกินทุเรียน มีดังนี้

  • เนื้อทุเรียน ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีแคลอรี่สูง โดยทุเรียน 4 เม็ด ให้พลังงานมากถึง 400 กิโลแคลอรี่ เท่ากับการดื่มน้ำอัดลมถึง 2 กระป๋อง
  • เนื้อทุเรียน ทีน้ำตาลในปริมาณมาก สำหรับผู้ป่วยที่ควรระวังในการกินทุเรียน คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคไขมันในเส้นสูง
  • การกินทุเรียน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มผลมแอลกอฮอล์ เป็นอันตราย ทำให้ร่างกายร้อนเกินไป ทำให้เสียชีวิตได้
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินทุเรียน เพราะ ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น เป็นอันตราต่อลูกในท้อง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง สมุนไพร กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

เดือย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเดือย ( Adlay ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเดือย คือ Coix lacryma-jobi L. เดือย เป็น พืชตระกูลเดียวกับต้นหญ้า นิยมปลูกมากในภาคอีสาน ลูกเดือย สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น น้ำลูกเดือย เครื่องเคียงน้ำเต้าหู้ นำมาทำแป้งสำหรับทำขนม เดือย มีถิ่นกำเนิดในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศแถบยุโรป ปัจจุบันเดือยสามารถปลูกทั่วโลก โดยเฉพาะเขตประเทศอบอุ่น

เดือยในประเทศไทย

สำหรับ เดือย พบว่ามีการนำมาปลูกครั้งแรกในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2503 ที่เขตนิคมสร้างตนเองของ จ.สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา และในช่วงปี พ.ศ. 2513 ได้แพร่ไปยัง จ.ชัยภูมิ และเลย จนถึงภาคเหนือในปี พ.ศ. 2523  ลูกเดือย จัดเป็น พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย แหล่งปลูกเดือยที่สำคัญ คือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย คือ พื้นที่ปลูกเดือย ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับสายพันธ์ของเดือยที่ปลูกในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ ลูกเดือยหิน ลูกเดือยหินขบ และ ลูกเดือยทางการค้า โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยหิน ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกมากในภาคเหนือ เขตภูเขาสูง ลักษณะของลำต้นไม่สูงมาก ไม่นิยมนำมารับประทาน เพราะ ให้แป้งน้อย เปลือกและเมล็ดแข็งมาก สามารถนำมาทำเครื่องประดับได้
  • ลูกเดือยหินขบ ลูกเดือยชนิดนี้ปลูกในภาคเหนือ ลักษณะลำต้นสูง สามารถรับประทานลูกเดือยได้
  • ลูกเดือยทางการค้า คือ ลูกเดือยที่นิยมรับประทานในปัจจุบัน เมล็ดคล้ายข้าวสาลี เปลือกบาง สีขาวขุ่น เดือย ชนิดนี้ มี 2 ประเภท คือ ลูกเดือยข้าวเหนียว ( glutinous type ) และ ลูกเดือยข้าวเจ้า ( nonglutinous type )

สายพันธุ์เดือย

สำหรับสายพันธ์เดือยที่มีการปลูกในปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ คือ var. lacryma-jobi , var. monilifur , var. stenocarpa และ var. ma-yuen รายละเอียด ดังนี้

  • var. lacryma-jobi เป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ลูกเดือยเป็นรูปข่ เปลือกแข็ง เมล็ดเงามัน ใช้ทำอาหารและเครื่องประดับได้
  • var. monilifur เป็นสายพันธุ์เดือยที่พบได้เฉพาะในประเทศพม่า และ ประเทศอินเดีย ไม่นิยมรับประทาน นำมาใช้ทำเครื่องประดับ
  • var. stenocarpa มะเดือยขี้หนอน ลักษณะของลูกเดือยคล้ายขวด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้ประดับเสื้อผ้า ทำสร้อย และ เครื่องประดับ
  • var. ma-yuen สายพันธุ์นี้ใช้นำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นเดือย

เดือย เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกันกับข้าวและต้นหญ้า สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเดือย เหมือนกับกอหญ้าทั่วไป ลำต้นกลม และ ตั้งตรง เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นปล้อง ผิวลำต้นเรียบ สีเขียว
  • ใบเดือย ลักษณะเรียวยาว สีเขียว กาบใบหุ้มลำต้น โคนใบหยัก ความยาวของใบประมาณ 45 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ และ ขอบใบคม บาดมือได้
  • ดอกเดือย เป็นลักษณะช่อ แทงออกแทงจากปลายลำต้น ช่อดอกยาว 8 เซนติเมตร ดอกของเดือยจะพัฒนาไปเป็นผลเดือย
  • ผลและเมล็ดเดือย ผลเดือยจะพัฒนามาจากดอกเดือย ลักษณะของผลเดือย กลม เปลือกของเมล็ดแข็ง ผลเดือยนำมารับประทานเป็นอาหาร ได้

คุณค่าทางโภชนาการของเดือย

สำหรับการรับประทานจะนำเมล็ดหรือผลมารับประทาน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของลูกเดือย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 17.58 % ไขมัน 2.03 % คาร์โบไฮเดรต 51.58% ซิลิคอนไดออกไซด์ 0.1% แคลเซียม 0.04% แมกนีเซียม 0.06% โซเดียม 0.006% โปรแตสเซียม 0.14% ฟอสฟอรัส 0.15% และ กรดไขมัน

สำหรับสารสำคัญต่างๆที่พบในเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย coxenolide , Coixol , ethanediol , propanediol , butanediol
  • รากลูกเดือย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Lignin , Coixol , Palmitic Acid , Stearic Acid , Stigmeaterd และ Sitosterol

สารคอกซีโนไลด์ ( Coxenolide ) ที่พบในลูกเดือย มีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ช่วยรักษาอาการตกขาวได้

ประโยชน์ของลูกเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือย นั้นจะนำลูกเดือยมารับประทานเป็นอาหาร นำมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานต่างๆ เนื่องจากลูกเดือยมีส่วนผสมของแป้ง มีการนำไปแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยเปียก เต้าทึง น้ำลูกเดือย เป็นต้น สำหรับ สรรพคุณของเดือย เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้น เป็นต้น

สรรพคุณของเดือย

สำหรับประโยชน์ของเดือยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ลูกเดือย ใบเดือย ลำต้นเดือย และ รากเดือย รายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือย ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการเหน็บชา ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ลดอาการปวดหัว ช่วยบำรุงเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องร่วง บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดข้อเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงเส้นผม รักษาการตกขาวผิดปกติในสตรี แก้เจ็บคอ รักษาวัณโรค ช่วยขับเลือด ช่วยขับหนอง
  • ใบเดือย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน แก้ปัสสาวะเหลืองขุ่น
  • รากลูกเดือย มีรสขม สรรพคุณช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ แก้โรคหนองใน แก้ข้อเข่าเสื่อม ลดอาการปวดตามข้อ รักษาอาการตกขาว ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

โทษของเดือย

สำหรับการรับประทานลูกเดือย อย่างปลอดภัย ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าการบริโภคลูกเดือยไม่ปลอดภัย แต่ข้อควรระวังในการรับประทานลูกเดือย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลูกเดือยก่อนนำมารับประทานต้องนำมาทำให้อ่อนก่อน ไม่สามารถนำมารับประทานแบบแข็งๆ เนื่องจากอันตรายต่อระบบการย่อยิาหาร
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานลูกเดือย ลูกเดือยอาจเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ และทำให้มดลูกบีบตัว เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังการรับประทานลูกเดือย เนื่องจากลูกเดือยสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป

ต้นเดือย ลูกเดือย ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตสูง พืชพื้นเมือง กากใยอาหารสูง ต้นเดือยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความอ้วน โทษของเดือยมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย