ฟักแม้ว มะระหวาน วิตามินสูง นิยมรับประทานเป็นอาหาร ทั้งยอดฟักแม้วอ่อน และ ผลเป็นอาหาร สมุนไพร สรรพคุณบำรุงโลหิต ปรับสมดุลร่างกาย ฟักแม้วว่าเป็นอย่างไรฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว

ต้นฟักแม้ว ภาษาอังกฤษ เรียก Chayote ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักแม้ว คือ Sechium edule (Jacq) Swartz. จัดรวมอยู่ในวงศ์ไม้เถา พืชตระกูลแตง สำหรับชื่อเรียกตามท้องถิ่นของฟักแม้ว ได้แก่ มะเขือนายกมะเขือฝรั่ง ฟักญี่ปุ่น บ่าเขือเครือ แตงกะเหรี่ยง ฟักม้ง มะระญี่ปุ่น ฟักแม้วนิยมเรียกกันอีกชื่อว่า มะระหวาน มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง และมีการนำมาปลูกในประเทศไทยแห่งแรกในจังหวัดแพร่ สันนิษฐานกันว่ามีการนำเข้ามาปลูกในไทยโดยหมอสอนศาสนา และปลูกมีการปลูกแพร่หลายประเทศทั่วโลก พบมากในแถบภาคเหนือ ปัจจุบันจะเพาะปลูกฟักแม้วกันมากในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และจังหวัดทางภาคเหนืออย่างเชียงราย

ประโยชน์ของฟักแม้ว นิยมนำมาประกอบอาหาร ทั้งผลและใบ รับประทานเป็นเครื่องเคียงกินกับน้ำพริก ใช้ทำต้มจืด แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ผัดกับหมู ผัดน้ำมันหอย ลาบ ยำยอดฟักแม้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วจะนำมาผัดน้ำมันหอย เรียกว่า ผัดฟักแม้ว ส่วนรากมีแป้งเป็นส่วนประกอบมาก สามารถนำมารับประทานเป็นแหล่งพลังงานได้ นอกจากนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ทุกส่วนของต้นฟักแม้ว เป็นแหล่งพลังงาน วิตามิน ธาตุอาหารต่างๆ

ลักษณะของต้นฟักแม้ว 

ต้นฟักแม้ว เป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ ลักษณะของต้นฟักแม้ว มีดังนี้

  •  ลำต้นฟักแม้ว คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยม เป็นเถา มีความยาวประมาณ 15 ถึง 30 ฟุต มีเถาแขนง 3 ถึง 5 เถา และมีมือเกาะเจริญที่ข้อ ลำต้นอ่อนและอวบน้ำ
  • ใบฟักแม้ว ลักษณะเป็นเหลี่ยมมี 3 ถึง 5 เหลี่ยม ใบสีเขียว หยาบคล้ายใบตำลึงแต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบมีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง
  • ดอกฟักแม้ว ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวปนเขียว ออกดอกตามข้อระหว่างต้นกับก้านใบ
  • ผลฟักแม้ว ลักษณะผลกลมยาว เป็นผลเดี่ยว มีสีเขียวอ่อน คล้ายลูกแพร์ ผลมีความยาวประมาณ 7 ถึง 20 เซนติเมตร เนื้อผลมีรสหวาน

คุณค่าทางอาหารของฟักแม้ว 

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาผลฟักแม้ว ขนาด 100 กรัม จะได้พลังงาน 19 กิโลแคลลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.51 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.13 กรัม โปรตีน 0.82 กรัม วิตามินบี1 0.025 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.029 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.47 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.249 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.076 มิลลิกรัม วิตามินบี9 93 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.12 มิลลิกรัม วิตามินเค 4.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 125 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.74 มิลลิกรัม

สรรพคุณของฟักแม้ว

สำหรับการนำฟักแม้วมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ และ ก้านใบ สรรพคุณของฟักแม้วส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ผลฟักแม้ว สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว แก้อักเสบ
  • ใบฟักแม้ว สรรพคุรช่วยขับถ่าย แก้ท้องผูก บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว แก้อักเสบ
  • ก้านใบ สรรพคุณช่วยขับถ่าย แก้ท้องผูก บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว แก้อักเสบ

ฟักแม้ว หรือ มะระหวาน พืชไม้เลื้อย สมุนไพร สรรพคุณหลากหลาย บำรุงโลหิต ปรับสมดุลร่างกาย วิตามินสูง นิยมรับประทานเป็นอาหาร ทั้งยอดฟักแม้วอ่อน และ ผลเป็นอาหาร ทำความรู้จักกับฟักแม้วว่าเป็นอย่างไร

มะเขือยาว พืชสวนครัว นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเขือยาว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ เช่น ขับเสมหะ ช่วยขับถ่าย โทษของมะเขือยาว มีอะไรบ้างมะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะเขือยาว ( Eggplant ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือยาว คือ Solanum melongena L. ชื่อเรียกของมะเขือยาว เช่น ยั่งมูไล่ สะกอวา มะเขือป๊าว มะเขือหำม้า มะแขว้ง มะแขว้งคม มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน มะเขือจาวมะพร้าว มะเขือฝรั่ง เป็นต้น

ผลมะเขือยาว มีสรรพคุณพิเศษ คือ ช่วยดูดซับน้ำมันได้ดี ยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้ สำหรับมะเขือยาว มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมะเขือยาวสามารถปลูกทั่วไปในประเทศเขตร้อน

ลักษณะของต้นมะเขือยาว

ต้นมะเขือยาว เป็นพืชล้มลุก ลักษณะไม้พุ่มขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะเขือยาว มีดังนี้

  • ลำต้นมะเขือยาว ลักษณะเป็นเถา เนื้อลำต้นอ่อน สีเขียว มีขนทั่วทั้งลำต้น ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอาจมีหนามเล็กๆ
  • ใบมะเขือยาว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกสลับตามกิ่งก้าน ใบลักษณะกลม โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบมีขนนุ่มปกคลุมทั่ว
  • ดอกมะเขือยาว ลักษณะของดอกมะเขือยาว ออกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วง
  • ผลมะเขือยาว ลักษณะยาวกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงคล้ำหรือสีขาว เปลือกของผลเรียบ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดของมะเขือยาว ลักษณะกลมแบน

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

สำหรับการบริโภคมะเขือยาว ใช้การบริโภคผลมะเขือยาว ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาวขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 100 กิโลจูล พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 92 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.0 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม แคลเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม และ ไนอาซิน 0.7 กรัม

สรรพคุณของมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะเขือยาว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก ลำต้น ใบ ผล และ ขั่วผลแห้ง ซึ่ง สรรพคุณของมะเขือยาว มีดังนี้

  • รากมะเขือยาว สรรพคุณขับเสมหะ แก้ร้อนใน แก้โรคสันนิบาต
  • ลำต้นมะเขือยาว สรรพคุณแก้ปวดท้อง รักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด รักษาแผลเท้าเปื่อย
  • ใบมะเขือยาว สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาผลบวม รักษาแผลหนอง แก้อักเสบบวม
  • ขั้วผลแห้งมะเขือยาว สรรพคุณรักษาอาการเลือดออกในลำไส้  แก้ปวดฟัน รักษาแผลร้อนใน
  • ผลมะเขือยาว สรรพคุณแก้ปวด ขับเสมหะ รักษาอาการตกเลือดในลำไส้ รักษาแผลหนอง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงสมองและความจำ ช่วยขับถ่าย รักษาโรคผิวหนัง

โทษของมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือยาว มีข้อหลีกเลี่ยงในการประทานมะเขือยาว ดังต่อไปนี้

  • มะเขือยาว เป็นพืชที่มีสารเจือปนจากการปลูก การบริโภคมะเขือยาวต้องล้างให้สะอาด ก่อนนำมารับประทานอาหาร
  • มะเขือยาว ไม่ควรให้ทารกที่อายุต่ำกว่า 3 ปี รับประทานเพราะกากใยอาหารสูงอาจทำให้มีปัญหาการย่อยอาหาร
  • อย่าใช้มะเขือยาวกับคนที่มีโรคระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ ไม่ควรรับประทานมะเขือยาว
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย