มะเขือเทศ สมุนไพรสำหรับความงาม ต้นมะเขือเทศเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศมีอะไรบ้างมะเขือเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะเขือเทศ ( Tomato ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือเทศ คือ Lycopersicon esculentum Mill. ชื่อเรียกอื่นๆของมะเขือเทศ เช่น มะเขือส้ม มะเขือเครือ มะเขือน้อย ตรอบ น้ำนอ เป็นต้น ต้นมะเขือเทศ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก แถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริการใต้ จากนั้นมะเขือเทศได้แพร่กระจายเข้าสู่ทวีกอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของต้นมะเขือเทศ

ต้นมะเขือเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะเขือเทศ มีดังนี้

  • รากมะเขือเทศ เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากแก้วความลึกได้ถึง 1 เมตร และ รากแขนงยาวได้ถึง 50 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นของมะเขือเทศ เนื้อลำต้นอ่อน เป็นทรงกลม เปราะและหักง่าย ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม และ ลำต้นมีกลิ่นเฉพาะตัว
  • ใบของมะเขือเทศ ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบสีเขียว มีขนอ่อนๆ ผิวใบหยาบ ในไม่เรียบ
  • ดอกมะเขือเทศ ลักษณะดอกมะเขือเทศออกเป็นช่อ แทงออกตามข้อของกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะเขือเทศ ลักษณะกลม ฉ่ำน้ำ ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดง
  • เมล็ดมะเขือเทศ ลักษณะแบน ทรงรี สีเหลือง ขนาดเล็ก อยู่ภายในผลของมะเขือเทศ

มะเขือเทศในประเทศไทย

สำหรับมะเขือเทศในประเทศไทย นั้นมะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มะเขือเทศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพืช โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และ มะเขือเทศสำหรับรับประทานผลสด ซึ่งจากสถิติการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 90,000 พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ ร้อยละ 90 ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม และ พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ เพื่อการบริโภคผลสด ประมาณ  9,000 ไร่

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ และ สารต่างๆจากมะเขือเทศ ได้มีการศึกษาผลมะเขือเทศสด ขนาด 100 กรัม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ขนาด 100 กรัม พบว่ามะเขือเทศให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.9 กรัม น้ำตาล 2.6 กรัม กากใยอาหาร 1.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม น้ำ 94.5 กรัม วิตามินเอ 42 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 449 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 123 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.594 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.08 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.54 มิลลิกรัม วิตามินเค 7.9 ไมโครกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.114 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 2,573 ไมโครกรัม

ผลมะเขือเทศสด พบว่ามีสารสำคัญ กลุ่มแคโรทีนอยด์ คือ ไลโคพีน ( Lycopene ) เป็นสารให้สีแดง และ มี กรดซิตริก ที่ให้รสเปรี้ยว ถึงแม้ว่ามะเขือเทศ จะมีสารอาหารสำคัญมามกา แต่ในมะเขือเทศ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid แต่พบในปริมาณที่น้อยมาก โดยคุณสมบัติของสารชนิดนี้ เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยพบในมะเขือเทศดิบมากกว่ามะเขือเทศสุก

สรรพคุณของมะเขือเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือเทศ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากผลของมะเขือเทศ โดยพบว่า ประโยชน์ของมะเขือเทศ มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค รักษาโรคหอบหืด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในปาก
  • บำรุงเลือด ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
  • ป้องกันเชื้อโรค ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • มีสารต้านอนุมูลอิระ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น ลดรอยเหี่ยวย่น รักษาสิว
  • บำรุงสายตา
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมชุ่มชื่น

โทษของมะเขือเทศ

สำหรับการบริโภคมะเขือเทศ เพื่อความปลอดภัยต้องรับประทานมะเขือเทศ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระมัดระวังในการบริโภคมะเขือเทศ มีดังนี้

  • น้ำมะเขือเทศ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินมะเขือเทศแล้วได้ประโยชน์ทั้งหมด เพราะ ในมะเขือเทศมีธาตุโพแทสเซียมสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไต หรือ ผู้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ควรดื่มน้ำมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศดิบ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid ได้แก่ สาร alpha-tomatine เป็นหลัก และ สาร beta-tomatine แต่มีในปริมาณเล็กน้อย เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยผลมะเขือเทศดิบ สีเขียว มีความเข้มข้นประมาณ 150-330 มก./100 กรัม

มะเขือเทศ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร สำหรับความงาม ลักษณะของต้นมะเขือเทศ คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศ เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศ มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

หอมหัวใหญ่ พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร มีกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ ประโยชน์ สรรพคุณของหอมใหญ่ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจหอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหอมหัวใหญ่ ( Onion )  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมหัวใหญ่ คือ Allium cepa L. ชื่อเรียกอื่นๅของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่ จัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับพับพลึง นิยมใช้ในการนำมาทำอาหาร ปรุงรสอาหารให้รสชาติ หอมหัวใหญ่ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มากมาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และสารเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวมาบริโภค ถิ่นกำเนิดของหอมหัวใหญ่ อยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แหล่งผลิตที่สำคัญของหอมหัวใหญ่ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศอินเดีย หอมใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ที่มีการระบายน้ำ และ อากาศได้ดี ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมหัวใหญ่ มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกบางๆ สีแดง ลำต้นหอมหัวใหญ่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า หัวหอม มีกลีบสีขาวอวบน้ำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หัวหอมใหญ่มีกลิ่นฉุน
  • ใบหอมหัวใหญ่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบยาว กลม ออกเป็นกระจุก แทงออกมาจากหัว มีสีเขียว ใบมีกลิ่นฉุน
  • ดอกหอมหัวใหญ่ ลักษณะดอกหอมใหญ่ ออกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการชองหอมหัวใหญ่

สำหรับการนำหอมหัวใหญ่มารับประทาน นั้นนิยมใช้หัวของหอมใหญ่มารับประทาน ซึ่งรับประทานทั้งหัวสดๆ หรือ นำมาผ่านความร้อนก่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหอมหัวใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สำหรับสารเคมีต่างๆในหอมหัวใหญ่ มีสารประกอบ กำมะถันหลายชนิด เช่น สารไดอัลลิลไดซัลไฟด์  สารไซโคลอัลลิอิน และ ยังอุดมไปด้วยวิตามินอี และ สารต่างๆที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ สำหรับกลิ่นฉุนของหอมหัวใหญ่ นั้นเกิดจากสาร ACSOs โดยกลิ่นฉุนถูกขับออกมาเมื่อเซลล์หอมถูกทำลาย

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ โดยสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ และ ป้องกันมะเร็งได้ดี
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ง่วง ช่วยในการนอนหลับสบาย
  • ช่วยบำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยทำให้มีความจำที่ดี ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และ ลดความเสี่ยงอัมพาต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต รักษาเบาหวาน
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน สำหรับสตรีหลังหมดประจำเดือน
  • ช่วยรักษาไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยขับเสมหะ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ ป้องกันเชื้อแบคที่เรีย
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลฟกช้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ นั้นต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากหอมใหญ่มีฤทธิ์อุ่น และ รสเผ็ด ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ การนำหอมหัวใหญ่มาใช้ประโยชน์ ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ข้อควรระวังในการใช้หอมหัวใหญ่ มีดังนี

  • หอมหัวใหญ่ มีกลิ่นฉุน และ ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ หากระอองจากหัวหอมเข้าตา
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ ในปริมาณมากเกินไป และ รับประทานต่อเนื่องติดๆกัน อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม สายตามัว และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด ในขณะที่ท้องว่าง เพราะ อาจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะได้
  • หอมหัวใหญ่กลิ่นแรง ทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับคนที่มีกลิ่นตัวแรง ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไป

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย