มะกอก ผลไม้ สามารถสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้างมะกอก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะกอก ( Hog plum ) พืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz  ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น ไพแซ กอกหมอง กูก กอกกุก กอกเขา กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ มะกอกไทย กอกป่า มะกอกป่า  โค่ยพล่าละ แผละค้อก สือก้วยโหยว เพี๊ยะค๊อก ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง ลำปูนล เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

มะกอกในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ มะกอกฝรั่ง มะกอกป่า มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ รายละเอียด มีดังนี้

  • มะกอกป่า นิยมใช้ผลมาปรุงรสเปรี้ยว และ ใบอ่อนนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด
  • มะกอกโอลีฟ นิยมนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก
  • มะกอกฝรั่ง มีรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้
  • มะกอกน้ำ นิยมนำมาดองและแช่อิ่ม

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นพืชตระกลูเดียวกับมะม่วง สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้ง ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลักษณะของลำต้นกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่ม มีเปลือกเป็นสีเทา ลักษณะกหนา ผิวเปลือกเรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย และ มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก ลักษณะใบแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนของมะกอกเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นใบประกอบ
  • ดอกมะกอก มะกอกออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเหมือนรูปถ้วย ออกตามปลายกิ่ง และ ซอกใบ มีสีครีม มะกอกจะออกดอกทุกเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ผลมะกอก มีรสเปรี้ยว ลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านในผลมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ เปลือกผลเป็นสีเขียว ผลแก่เปลือกผลเป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน ภายในผลมีเมล็ด ขนาดใหญ่ และ แข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับประโยชน์ของมะกอก มีมากมายทั้งด้านการรักษาโรคและด้านอื่นๆ โดยการรับประทานมะกอก นิยมรับประทานมะกอกจากส่วน ผล และ ใบอ่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอกและใอ่อนของมะกอก มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม  วิตามินซี 53 มิลลิกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
  • ใบอ่อนมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย แคลเซียม 49 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม
  • น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันสามารถสกัดจากผลมะกอก นิยมใช้ผลมะกอกดอลีฟ มาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่งน้ำมันมะกอกสามารถใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) เป็นน้ำมันคุณภาพดี น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป สามารถคงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มากกว่าน้ำมันมะกอกธรรมดา มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ ได้

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก

สรรพคุณของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุณของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการสะอึก บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก สรรพคุณแก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง
  • ผลมะกอก สรรพคุณเสริมแคลเซียมในร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำรักษาเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก สรรพคุณแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนในทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของมะกอก

สำหรับโทษจากการใช้มะกอก จะเกิดจากการใช้มะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก ในปริมารที่มากเกินไป โดยการบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย คือ วันละ 2 ช้อนโต้ะ และ ไม่เกิด 1 ลิตรต่อ 1 สัปดาห์ โดยข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก ผลไม้รสเปรี้ยว สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ลักษณะของต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของมะกอก เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ช่วขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร นิยมนำหัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ มีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกวาวเครือขาว ( Pueraria mirifica ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกวาวเครือขาว เช่น กวาว กวาวหัว กวาวเครือ เครือขาว จานเครือ ตานเครือ ทองเครือ ทองกวาว จอมทอง ตานจอมทอง โพ้ต้น และ โพะตะกู เป็นต้น ซึ่งชืื่อเรียกของกวาวเครือ แตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศและการใช้ภาษาของท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย มีประโยชน์สำหรับบำรุงเพศ ทั้งหญิงและชาย กระตุ้นฮอร์โมนหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย กระทรวงสาธารณสุขของไทย จัดให้กวาวเครือขาวเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และ ยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์

คุณค่าทางโภชนาการของกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาวมีประโยชน์หลายอย่าง มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของกวาวเครือขาวแห้ง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 308 แคลลอรี่ มีสารอาหารต่างๆประกอบด้วย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน แคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก

ด้านการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของหัวกวาวเครือขาว พบว่าในกวาวเครือขาวมีสารเคมีต่างๆ แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

  • สารกลุ่มคูมารินส์ ( Coumarins ) ได้แก่ Coumestrol , Mirificoumestan , Mirificoumestan Glycol และ Mirificoumestan hydrate
  • สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) หัวกวาวเครือขาวมีสารจำพวก lsoflavonoid หลายชนิด เช่น Genistain , Daidzein , Daidzin , Puerarin , Puerein-6-monoacetate , Mirificin , Kwakhurin และ Kwakhurin hydrate
  • สารกลุ่มโครมีน ( Chromene ) ได้แก่ Miroestrol เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน พบในปริมาณ 0.002 – 0.003 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหัวกวาวเครือขาวแห้ง หรือ 15 มิลลิกรัม ต่อ กวาวเครือขาวแห้ง 1 กิโลกรัม
  • สารกลุ่มสเตียรอยด์ ( steroids ) ได้แก่ B-sitosterol , Stigmasterol , Pueraria และ Mirificasterol

สรรพคุณของกวาวเครือขาว

การนำเอากวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์นั้นจะนิยมใช้ประโยชน์จากหัวกวาวเครือขาวแห้งนำมาบดเป็นผง และนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้เต่งตึง ผิวใสดูเปล่งปลั่ง เนียนนุ่มสวย
  • ช่วยบำรุงกำลัง เป็นอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยบำรุงสตรี ช่วยขยายทรวงอกให้ใหญ่ขึ้น ทำให้นมโต แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ ทำช่วยผมขาวกลับคืนสภาพปกติ รักษาผมร่วง
  • ช่วยลดความมันบนใบหน้า รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ ช่วยสมานริ้วรอยบนใบหน้าจากความหยาบกร้าน
  • ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น
  • ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารอร่อยขึ้น
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาฟาง ป้องกันต้อกระจก
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยเพิ่มสมรรภภาพทางเพศ บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์
  • ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน แก้อาการหมดประจำเดือนในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนที่มีอาการบกพร่องของฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยใช้ช่องคลอดไม่แห้ง ช่วยกระชับช่องคลอด
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน และ ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • สำหรับคนมีบตรุยาก ทำให้มีลูก

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย