ผักโขม amaranth มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผัก ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง มีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับกินมังสวิรัติ มีวิตามินเอ บี6 ซี ไรโบฟลาวิน โฟเลต

ผักโขม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ผักโขม ( Amaranth ) เป็นผักสวนครัว นิยมนำผักโขมมารับประทานเป็นผักสด หรือ ลวกกินกับน้ำพริก ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักโขม คือ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea ชื่อเรียกอื่นๆของผักโขม เช่น ผักโหม ผักหม ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ เป็นต้น

สายพันธุ์ของผักโขม ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารมีผักโขม 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย ผักโขมบ้าน ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักโขมบ้าน ลักษณะใบกลมเล็ก มีลำต้นเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบสีเขียวเหลือบแดง มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี นำมาต้มเอาน้ำมาอาบ สามารถนำมาใช้ ลดไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
  • ผักโขมจีน ลักษณะต้นใหญ่ ใบสีเขียว หยัก มีกลิ่นฉุน
  • ผักโขมสวน ลักษณะใบสีเขียว แกนกลางของใบเป็นสีแดง
  • ผักโขมหนาม ลักษณะลำต้นสูง ใบใหญ่ มีหนาม ตามช่อของดอก หากจะนำผักโขมมาทำอาหารให้ใช้ยอดอ่อน ผักโขมสามารถ นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ลดไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าของเด็ก

คุณค่าทางอาหารของผักโขม

สำหรับการศึกษาประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของผักโขม นั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของผักโขม โดยศึกษาผักโขมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 23 กิโลแคลลอรี่

สารอาหารสำคัญในผักโขม ขนาด 100 กรัม ประกอบด้วย ไขมัน ร้อยละ 4 โซเดียม ร้อยละ 3 โพแทสเซียม 558 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 3.6 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำตาล 0.4 กรัม โปรตีน 2.9 กรัม วิตามินเอ1 ร้อยละ 88 วิตามินซี ร้อยละ 47 แคลเซียม ร้อยละ 10 ธาตุเหล็ก ร้อยละ 15 วิตามินบี 6 ร้อยละ 10 ธาตุแมกนีเซียม ร้อยละ 20 สารไทอามิน ร้อยละ 5 สารไรโบพลาวิน ร้อยละ 11 สารไนอาซิน ร้อยละ 4 วิตามินอี ร้อยละ 7  วิตามินเค ร้อยละ 4 ซิงค์ ร้อยละ 4 และ ธาตุฟอสฟอรัส ร้อยละ 5

ลักษณะของต้นผักโขม

ผักโขม พื้ชล้มลุก ขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มเตี้ย อานุของผักโขมเพียงหนึ่งปี ผักโขม จัดเป็นพืชสวนครัว เป็นผักที่ขึ้นตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง เทือกสวนไร่ชาวนา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตได้ง่าย

  • ลำต้นของผักโขม สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นอวบน้ำ สีเขียว ตั้งตรง โคนต้นมีสีแดงน้ำตาล
  • ใบของผักโขม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปทรงคล้ายสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ
  • ดอกของผักโขม ผักโขมออกดอกเป็นช่อ สีม่วงปนเขียว ดอกผักโขมออกตามซอกใบ และ ดอกออกปลายกิ่ง
  • เมล็ดผักโขม มีลักษณะกลม สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็ก

สรรพคุณของผักโขม

ผักโขม มีคุณค่าทางอาหารสูง มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สรรพคุณของผักโขม เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด เบต้าแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลักษณะของผักโขมที่มีประโยชน์ คือ

  1. ผักโขมมีสารซาโปนิน ( Saponin ) สรรพคุณช่วยลดคอเรสเตอรอล ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ เป็นยาอายุวัฒนะ
  2. ผักโขมมีเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ป้องกันมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมได้
  3. ผักขมมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา
  4. ผักโขมมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว และ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  5. ผักโขมมีกากใยอาหารสูง บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี ลดการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร

โทษของผักโขม

การบริโภคผักโขม ข้อควรระวังในการบริโภคผักโขม อยู่บ้าง การกินผักโขมในปริมาณที่เหมาะสม จะดที่สุดจากการวิจัยผักโขม พบว่าผักโขมทำให้ร่างกายมีปริมาณของสารออกซาเลท หรือ กรดออกซาลิค อาจเป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ได้

ผักโขม ( Amaranth ) คือ พืชล้มลุก ผักพื้นบ้าน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ลักษณะของผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม ช่วยบำรุงสายตา ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิว โทษของผักโขม มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
  • รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553
  • “ผักโขม”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
  • “ป๊อปอายไม่ได้กินผักโขมนะจะบอกให้! – OpenRice TH Editor”. OpenRice ไทย.
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ,ผักพื้นบ้านภาคกลาง,บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด,พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2547
  • หมอชาวบ้าน ผักโขม
  • อมรทิพย์ วงศ์สารสิน และ อัญชลี จาละ. 2554. สารอัลลีโลเคมิคอลจากผักโขมที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพริก. การประชุมวิชาการทางพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 5 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หมามุ่ย สมุนไพรพื้นบ้าน ใช้รักษาดรคได้ ต้นหมามุ่ยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยกระตุ้นประสาท บำรุงกำลัง โทษของหมาหมุ่ยมีอะไรบ้าง

หมามุ่ย สมุนไพร สมุนไพรไทย

หมามุ่ย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น สายพันธ์ของหมามุ้ย ที่รู้จักกันดี มี 2 สายพันธ์ คือ หมามุ้ยไทย และ หมามุ้ยอินเดีย ต้นหมามุ่ย  ต้นหมามุ้ย ( Cowitch ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ้ย คือ  Mucuna pruriens (L.) DC.  ชื่อเรียกอื่นๆของต้นหมามุ้ย เช่น บะเหยือง หม่าเหยือง ตำแย โพล่ยู กลออือแซ ถั่วเวลเวท เป็นต้น

ลักษณะของต้นหมามุ่ย

หมามุ่ย เป็นไม้เถา พืชล้มลุก ตระกลูถั่ว โดยลักษณะของต้นหมามุ่ย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้น เป็นเถาเครือ ยาวประมาณ 10 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาล
  • ใบ ลักษณะของใบหมามุ่นทรงรี คล้ายไข่ ใบบาง โคนใบกลม มีขนปกคลุมใบทั้งสองด้าน
  • ดอก ลักษณะของดอกหมามุ่ยเป็นช่อ มีขนปกคลุม สีม่วงอมดำ ดอกหมามุ่ยมีกลิ่นฉุน ดอกหมามุ่ยตามตามง่ามของใบ
  • ผล ลักษณของผลหมามุ่ย เป็นฝัก ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักของหมามุ่ยมีขนอ่อนๆปกคลุม ฝักแก่ของหมามุ่ยมีฤิทธิ์เป็นพิษ ทำให้ผิวหนัง คับ บวมแดง ปวดแสบปวดร้อน ขนของหมามุ่ย มี สารเซโรโทนิน ( Serotonin ) หากสัมผัสผิวกายของมนุษย์จะทำให้รู้สึกคัน
  • เมล็ด ภายในฝักของหมามุ่ย มีเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เมล็ดหมามุ่ย มี สารแอลโดปา ( L-Dopa ) มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ได้

คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ่ย

นักภาชนาการได้ศึกษาเมล็ดหมามุ่ย คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหมามุ่ย นั้นมี โปรตีน ไขมัน และ กากใยอาหาร  และ ในเมล็ดของหมามุ่ย มีสารอาหารสำคัญมากมาย มีกรดอะมิโน ที่จำเป็น ถึง 18 ชนิด และ สารอาหาร ได้แก่ ธาตุแคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และ ธาตุสังกะสี  เมล็ดหมามุ้ยมีพิษไม่สามารถกินแบบสดๆได้

ความแตกต่างของหมามุ้ยอินเดียและหมามุ่ยไทย

สำหรับหมามุ่ยที่คนรู้จักกัน มี 2 ชนิด คือ หมามุ่ยอินเดีย และ หมามุ่ยไทย ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่การนำเอาหมามุ่ยมาใช้ประโยชน์ใช้หมามุ่ยอินเดีย เพราะ หมามุ่ยอินเดีย มีสรรพคุณทางยาสูงกว่าหมามุ่ยไทย และ ความเป็นพิษน้อยด้วย ซึ่งความแตกต่างของหมามุ่ยไทยและ หมามุ่ยอินเดีย ที่เห็นอย่างชัดเจน คือ รูปร่าง และ ความคันเมื่อสัมผัส

หมามุ่ยอินเดีย ( Velvet Bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ่ยอินเดีย คือ Mucuna pruriens(L.)DC.var.utilis สายพันธุ์หมามุ่ยอินเดีย ในปัจจุบัน มี 2 สายพันธุ์ คือ หมามุ่ยอินเดียเมล็ดขาว และ หมามุ่ยอินเดียเมล็ดดำ

หมามุ่ยอินเดียในประเทศไทย

หมามุ่ยอินเดีย เข้าสู่ประเทศไทยมานานแล้ว รู้จักแพร่หลายในประเทศอินเดีย เชื่อว่าหมามุ่ยอินเดีย เข้าสูประเทศไทย ผ่านทางเรือ หรือ ผู้แสวงบุญที่กลับจากประเทศอินเดีย มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาเมล็ดของหมามุ่ยอินเดีย ด้วยวิธี HPLC เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสารออกฤทธิ์ในเมล็ดหมามุ่ยอินเดีย ซึ่งผลจากการวิจัย พบว่า หมามุ่ยอินเดีย มี แอล – โดปา ( L-Dopa ) เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ โดพามีน ( Dopamine ) มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท และยังมี สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ( Anti-Oxidant ) ช่วยส่งเสริมสุขภาพของสมอง ช่วยผ่อนคลาย และ ชะลอวัย

สรรพคุณของหมามุ่ย

ต้นหมามุ้ย นิยมใช้ประโยชน์มาช้านาน ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ประโยชน์จากหมามุ้ย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง เมล็ด ราก และ ใบ รายละเอียดของสรรพคุณหมามุ้ย ดังนี้

  • ใบหมามุ้ย ใช้รักษาแผล นำมาทำยาพอกเพื่อรักษาแผล
  • เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น ช่วยผ่อนคลาย แก้นอนไม่หลับ เพิ่มสมรรถภาพ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ ช่วยกระตุ้นให้มีลูก ช่วยกระตุ้นความรู้สึก ทำให้อวัยวะแข็งตัว ช่วยชะลอการหลั่งอสุจิ เพิ่มฮอร์โมนสตรี ทำให้หน้าอกเต่งตึง ทำให้นมโต บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง กระชับช่องคลอด รักษาโรคพาร์กินสัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รากหมามุ้ย ใช้ถอนพิษ แก้ไอ

โทษของหมามุ่ย

สำหรับการใช้ประโยชน์หมามุ่ย มีข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย ดังนี้

  • เมล็ดหมามุ่ยสดๆ มีความเป็นพิษ มีฤิทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้ประสาทหลอน หากไม่นำมาคั่วให้สุกก่อนจะเป็นพิษ
  • หมามุ่ยต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
  • สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยด้านจิตเวช และ ผู้ป่วยโรคความดัน ไม่ควรรับประทานหมามุ่ย
  • ขนฝักของหมามุ่ยมีพิษ ทำให้คัน ระคายเคืองผิวพรรณ
  • สำหรับคนที่แพ้พืชตระกูลถั่ว ไม่ควรกินหมามุ่ย เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

หมามุ้ย หมามุ่ย คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นหมามุ่ย ประโยชน์และสรรพคุณของหมาหมุ่ย เช่น ช่วยกระตุ้นประสาท บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพ โทษของหมาหมุ่ย มีอะไรบ้าง หมามุ้ยใช้ประโยชน์อย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย