ต้นทานาคา ต้นกระแจะ ไม้ทานาคานำมาฝนกันหินผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณป้องกันสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ทานาคา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) เป็นไม้เนื้อแข็ง ในประเทศพม่า พบในเขตร้อนของภาคกลาง พุกาม และ มัณฑะเลย์ เท่านั้น  คุณสมบัติของทานาคา มีกลิ่นหอม ชาวพม่าใช้ทานาคามาบำรุงผิวพรรณมากกว่า 200 ปี โดยนำไม้ทานาคาฝนกับแผ่นหิน เจือน้ำเล็กน้อย นำมาทาเรือนร่างและใบหน้า

ต้นทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทานาคา Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. พืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอืื่นๆของทานาคา เช่น กระแจะจัน ขะแจะ ตุมตัง พญายา ตะนาว พินิยา กระแจะสัน ตูมตัง จุมจัง จุมจาง ชะแจะ พุดไทร ฮางแกง กระเจาะ เป็นต้น

สารเคมีในทานาคา
เปลือกของไม้ทานาคา มี สารOPC เนื้อไม้ของทานาคา มีสารCurcuminoid มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดทานาคา 100% ให้สารออกฤทธิ์ความเข้มข้นสูง สรรพคุณชะลอวัย เปลือกทานาคา บดละเอียด มีลักษณะเป็นผง สีเหลืองนวล ใช้ผสมน้ำขัดหน้าและพอกหน้า

ลักษณะของต้นทานาคา

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ต้นทานาคาพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ด การปักชำ พืชพื้นเมืองในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และ ประเทศไทยเขตภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะของต้นทานาคา มีดังนี้

  • ลำต้นของทานาคา ลักษณะตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ความสูงประมาณ 15 เมตร เนื้อไม้ทานาคาเป็นสีขาว  เปลือกลำต้นสีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม เนื้อไม้เมื่อถูกตัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน
  • ใบทานาคา ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับกัน ใบย่อยเป็นรูปวงรี โคนและปลายใบแคบ ใบเป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้นๆ ผิวใบเนียน เกลี้ยง
  • ดอกทานาคา ออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามซอกใบ และ กิ่งเล็กๆ ดอกมีขน สีขาวนุ่ม กลีบดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวด้านของดอกทานาคามีต่อมน้ำมัน ดอกทานาคาออกเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  • ผลทานาคา ลักษณะกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงคล้ำ เมล็ดในผล เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน ผลจะแก่จะออกช่วงในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี

สรรพคุณของทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคา มักรู้จักันดในด้านการบำรุงผิวของชาวพม่า ใช้ประทินผิว แต่จริงๆแล้วทานาคา สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วน เปลือกลำต้น แก่นไม้ ผล รากใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แก่นไม้ทานาคา รสจืด สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยปรับสภาพผิว ทำให้ผิวขาว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาจุดด่างดำ รักษารอยแผลเป็น รักษาผดผื่นคัน รักษาผิวอักเสบ ควบคุมความมันของใบหน้า ต่อต้านริ้วรอย ช่วยชะลอวัย ป้องกันผิวจากแสงแดด ระงับกลิ่นกาย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ปวดเมื้อย แก้อักเสบ
  • ผลของทานาคา รสขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้พิษ ลดไข้ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยสมานแผล
  • เปลือกลำต้นทานาคา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ ขับลม
  • รากทานาคา รสขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร  ลดไข้ ขับเหงื่อ รักษาโรคลำไส้ ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ใบทานาคา รสขม สรรพคุณ ช่วยคุมกำเนิด แก้ปวดข้อ ลดอาการปวด

โทษของทานาคา

  • ใบทานาคา มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคันที่มีบุตรยาก ต้องการมีลูก ไม่บริโภตทานาคา

วิธีใช้ทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคาในการบำรุงผิวพรรณและพอกผิว มีราละเอียด ดังนี้

  • ให้ใช้หินนำมาฝนไม้ทานาคาให้เป็นผง และ ใช้น้ำสะอาดธรรมดา หรือ น้ำมะเฟือง หรือ น้ำนม หรือ น้ำผึ้ง นำมาผสม นำมาขัดและพอกหน้า
  • ห้ามใช้ทานาคาขัดหน้าที่เป็นสิวอักเสบ อาจทำให้สิวอักเสบมากขึ้น ทานาคาเหมาะสำหรับขัดหน้าที่ไม่มีสิว
  • การใช้ทานาคาขัดหน้า ให้ขัดแค่ 5 นาที และ ล้างด้วยน้ำธรรมดา ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น แล้วปล่อยหน้าทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วก็ใช้ฝ่ามือลูบเบาๆ

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ คือ พืชพื้นเมือง ไม้ทานาคา นำมาฝนกันหิน ผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณของทานาคา ต่อต้านความเสื่อมเซลล์ผิว ป้องกันการเกิดสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ช่วยป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ขิง สมุนไพร มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิงเป็นอย่างไร

ขิง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ขิง ( Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขิง คือ zingiber offcinale Roscoe ขิงมีความต้องการของตลาดสูงมาก พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศไทย นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบการทำอาหาร เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป มากมาย ชื่อเรียกอื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น

ต้นขิง มีรสเผ็ดร้อน เป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน

ขิงยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง เป็น พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในประเทศเขตร้อน อย่างประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยทางการแตกหน่อ ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • หัวขิง หรือ เหง้าขิง ลักษณะคล้ายมือ อยู่ใต้ดิน เปลือกของเหง้าขิงมีสีเหลืองอ่อน
  • ลำต้นของขิง ออกเป็นกอ ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะกลม ตั้งตรง อวบน้ำ มีสีเขียว
  • ใบของขิง ใบเป็นกาบ หุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยว ออกสลับเรียงกัน เหมือนใบไผ่ ลักษณะปลายใบจะเรียวแหลม
  • ดอกของขิง ดอกขิงออกเป็นพุ่ม ดอกแหลมมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

ขิงมีประโยชน์ด้านสมุนไพร และ ใช้ในการบริโภคในอาหารไทย มาช้านาน นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่

ขิงขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้าคาโรทีน 10 ไมโครกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และ ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

สำหรับต้นขิงนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค มากมาย สามารถใช้ส่วนของ ทั้งตน เหง้าขิง ดอกขิง รากขิง ใบขิง ผลขิง และ แก่นขิง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าขิง หรือ หัวของ ตำราสมุนไพรไทย บอกไว้ว่า ขิงมีฤทธิ์อุ่น สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ช่วยลดไข้ ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ  หัวขิงนำมาใช้ประโยชน์หลายทาง เช่น นำมากินสด นำมาตากแห้งและบดเป็นผง หรือ นำมาต้นน้ำดิื่ม
  • ทั้งต้นของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ฟกช้ำ รักษานิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยฆ่าพยาธิ
  • ดอกของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปัสสาวะขัด
  • รากของขิง มีรสหวานเผ็ดร้อนขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ
  • ผลของขิง รสหวานเผ็ด สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด บำรุงน้ำนม ช่วยลดไข้ แก้เจ็บคอ ลดอาการอักเสบ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นของขิง นำมาฝนเป็นผงแก้อาการคัน

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ทำให้เกิดแผลร้อนใน ทำให้เยื่อบุภายในช่องปากอักเสบได้
  • ขิงช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง
  • น้ำขิงที่คั้นจนเข้มค้นมาก ไม่ควรทำให้น้ำขิงเข้มข้นจนเกินไป เพราะ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว

วิธีทำน้ำขิง

น้ำขิง มีประโยชน์ทางสมุนไพร เช่น แก้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ รักษาไข้หวัดได้  ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาหารไอ อาการเจ็บคอ ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง วิธีทำน้ำขิง มีดังนี้

  1. เตรียม ขิงแก่ 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง และ น้ำสะอาด 3 ลิตร
  2. ล้างขิงให้สะอาด นำมาทุบให้แตก นำไปต้มในหม้อต้ม ต้มขิงในน้ำเดือด แล้วค่อยเบาไฟลง ต้มนานประมาณ 20 นาที ต้มจนหอมกลิ่นน้ำขิง
  3. เติมน้ำตาลทรายแดง นำมาดื่มแบบร้อนๆ  หรือ ดื่มแบบเย็นๆ ด้วยการใส่น้ำแข็ง

ขิง คืิอ พืชล้มลุก สมุนไพร พืชพื้นบ้าน มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ประโยชน์ของขิง สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย