บัวบก ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นบัวบกมีสรรพคุณหลากหลาย แก้อาการปวดอักเสบ บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ เป็นยาเย็น ช่วยให้ร่างกายสดชื่อ นำใบมาทำน้ำใบบัวบก

บัวบก ใบบัวบก สมุนไพร

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวบอก เช่น ผักหนอก ผักแว่น กะโต่ เป็นต้น ต้นบัวบก เป็นพื้ชท้องถิ่น นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาหารที่นิยมกินบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ เป็นต้น ใบบัวบกนำมาคั้นทำน้ำใบบัวบก กินให้สดช่วย ช่วยแก้ช้ำใน ซึ่งบัวบกมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ซึ่งลักษณะของต้นบัวบก มีดังนี้

  • ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน
  • ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ
  • ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง
  • ผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์การบริโภคบัวบกนิยมรับประทานใบและก้านใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

การใช้ประโยชน์จากบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้นนิยมทั้งหมดของบัวบก ใบและก้านใบ ซึ่งสรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย คืนความอ่อนเยาว์ ทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น รักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวสดใสกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงดีขึ้น
  • บำรุงสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และ ทำให้มีไหวพริบมากขึ้น คิดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะ ในผู้สูงอายุ
  • แก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการช้ำใน รักษาอาการบาดเจ็บจากการกระแทก
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ลดความดันเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
  • รักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเรื้อน โรคหัด
  • บำรุงหนังศีรษะและผม ทำให้ผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ลดผมหงอกก่อนวัย

โทษของบัวบก
สำหรับการใช้ประโยชน์จากบัวบกนั้น มีข้อควรระวังในการใช้ ซึ่งหากใช้ไม่ถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบกมีสรรพคุณทำให้ตัวเย็น จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น

วิธีทำน้ำใบบัวบก เลือกใบบัวบกแก่ และสามารถใช่ส่วนรากผสมเข้ามาได้ หั่นออกเป็นสองท่อน ก่อนจะเข้าเครื่องบด เพราะ ใบบัวบกจะมีความเหนียว เติมน้ำผสมกับใบบัวบกที่บดคั้นน้ำ และ นำกากที่เหลือ มาคั้นน้ำที่สองอีกครั้ง เพื่อให้ตัวยาต่างๆ ยังมีสรรพคุณครับ ใช้ผ้าขาวบาง กรองน้ำบัวบก ใช้ตาห่าง ๆได้ เพราะ หากถี่มากจะกรองยาก ทิ้งกากไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ เพื่อนำมาเพื่อดื่มเป็นยาได้ น้ำที่คั้นได้ ไม่ควรเก็บไว้นาน แต่ควรแช่เย็นเก็บไว้ จะรักษาสรรพคุณนาน กรณีไม่ชินกับรสชาติ สามารถเติมน้ำเชื่อม ผสมน้ำต้มใบเตยได้

ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย