ว่านชักมดลูก สมุนไพรมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนมาปกติ กระชับมดลูก บำรุงผิวพรรณ ดูสดใส อ่อนกว่าวัย

ว่านชักมดลูก สมุนไพร

ว่านชักมดลูกชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma zanthorrhiza Roxb. ว่านชักมดลูกมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย สำหรับการปลูกว่านชักมดลูกในประเทศไทยมีการปลูกมากในจังหวัดเลย และ เพชรบูรณ์ เพื่อนำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำรุงสตรี ตำรับยาสมุนไพรไทย พบว่าใช้ว่านชักมดลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย และ ว่านชักมดลูกตัวผู้

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ต้นว่านชักมดลูก พืชล้มลุก ตระกลูขิง สามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเหง้าใต้ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • ลำต้นว่านชักมดลูก ลักษณะเป็นเหง้า แตกหน่ออยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีเหลือง เหง้าแก่เป็นสีเทา มีกลิ่นฉุน รสขม ลำต้นตั้งตรง เป็นกาบใบลักษณะกลม ความสูงประมาณ 1 เมตร กาบของลำต้นมีสีเขียว ด้านในเยื่อสีขาว คล้ายกับต้นขมิ้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเรียวยาว เหมือนใบต้นขิง ใบเรียบ สีเขียว ปลายใบแหลม
  • ดอกว่านชักมดลูก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุก ลักษณะรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร ดอกสีแดง ดอกที่เจริญเติบเต็มที่จะเป็นสีเหลือง

สรรพคุณว่านชักมดลูก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูกด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากเหง้าของว่านชักมดลูก ซึ่งสรรพคุณของว่านชักมดลูกมีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวสดใส ผิวขาวนวล ผิวดูมีเลือดฝาด ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ลดการเกิดฝ้า และ ลดรอยดำของใบหน้า ช่วยกระชับผิวหน้าท้องของสตรีหลังคลอด
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด และ มะเร็งในมดลูก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  • ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  • ช่วยบำรุงความงาม ช่วยทำให้หน้าอกขยาย ทำให้นมใหญ่ขึ้น
  • ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการอารมณ์แปรปรวนต่างๆ ลดอารมณ์ฉุนเฉียว
  • ช่วยป้องการการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีรีย ช่วยดับกลิ่นปาก ลดกลิ่นตามตัว
  • ช่วยบำรุงสายตาและดวงตา ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • สรรพคุณสำหรับสตรี ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว รักษาอาการมดลูกต่ำ ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอด ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด รักษาอาการหน่วงของมดลูก รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน รักษาอาการตกขาว ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของสตรี
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร

โทษของว่านชักมดลูก

ถึงแม้ว่าว่านชักมดลูกจะมีประโยชน์มากมายแต่ต้องระมัดระวังถึงผลข้างเคียง ซึ่งโทษของว่านชักมดลูกมีดังนี้

  • ในระยะแรกของการกินว่านชักมดลูก จะมีตกขาวมากกว่าปกติ ไม่ต้องตกใจสามารถกินต่อได้เลย อาการจะดีขึ้นในที่สุด
  • สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยกินมาก่อน เมื่อกินครั้งแรกอาจจะมีอาการไข้ อาการปวดศีรษะ อาการไอ ให้ลดปริมาณการกินลงครึ่งหนึ่ง จนอาการหายดี แล้วค่อยเพิ่มปริมาณเท่าเดิม
  • ในบางรายพบอาการแพ้ โดยจะมีมีผื่นขึ้น บริเวณผิวหนัง และ ตามลำตัว ให้ลองลดปริมาณการกิน จนอาการดีขึ้น จึงกินในปริมาณปกติ หรือ หากไม่หายดีให้เลิกกิน
  • บางรายพบว่ามี อาการปวดหน้าบริเวณอก ตึงแน่นหน้าอก หรือ ปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก ภายในช่องคลอด หากพบว่ามีอาการดัง ควรลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง หากอาการดีขึ้น ค่อยรับประทานในปริมาณมากขึ้น จนถึงที่กำหนดปกติ
  • พบในบางรายว่าสตรีวัยทอง หรือ สตรีวัยหมดประจำเดือน หลังจากรับประทานว่านชักมดลูก อาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้น ซึ่งคุณสามารถรับประทานต่อไปได้ ไม่ต้องกังวล ประจำเดือนที่เกิดขึ้นก็จะค่อย ๆหมดไปเอง ตามธรรมชาติ

ดอกคำฝอย นิยมนำคำฝอยมารับประทานและใช้ทำสีผสมอาหาร สรรพคุณบำรุงโลหิต น้ำมันจากเมล็ดคำฝอยนำมาทำยาได้ ลดการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลา ทำความรู้จักกับต้นคำฝอย

ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย

ต้นคำฝอย ภาษาอังกฤษ เรียก Safflower ชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกคำฝอย คือ Carthamus tinctorius L. จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย ได้แก่ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง ดอกคำ หงฮัว คำทอง เป็นต้น คำฝอยมีถิ่นกำเนิดใน ตะวันออกกลาง ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคเหนือ  จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงราย

ดอกคำฝอยในประเทศไทย สำหรับดอกคำฝอยในประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์จากดอกคำฝอยหลากหลาย โดยนำมาแปรรูป เช่น ทำชา ทำสีผสมอาหาร ทำแคปซูน หรือ สะกัดเอาน้ำมันดอกคำฝอย แหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญของประเทศไย อยู่ทางภาคเหนือ อำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เจริญได้ดีในที่สูง แต่ไม่เกิน 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย หรือ ดินที่มีการระบายน้ำได้ค่อนข้างดี  ไม่ชอบอาการร้อน ประมาณ 15-24 องศาเซลเซียส อายุสั้น ใช้เวลา 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบคำฝอย เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ขอบใบหยัก ปลายใบเป็นหนามแหลม ใบสีเขียว
  • ดอกคำฝอย ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะดอกกลม กลีบดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
  • ผลคำฝอย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลคล้ายรูปไข่ ผลเบี้ยวๆ สีขาว เป็นผลแห้งไม่แตก
  • เมล็ดคำฝอยอยู่ในผลคำฝอย เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ลักษณะยาวรี เปลือกแข็ง สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์ในการรับประทานคำฝอย นิยมรับประทานดอกคำฝอย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอยมีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุเหล็ก สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) และ สารคาร์ทามีน ( carthamine )

น้ำมันจากดอกคำฝอย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดโอเลอิก (Oleic Acid) กรดปาลมิติก (Palmitic Acid) กรดสเตียริก (Stearic Acid)

เมล็ดของดอกคำฝอย มีสารในกลุ่มลิกแนน ไกลโคไซด์ (Lignan Glycoside) และ สารเซโรโทนิน (Serotonin)

สรรพคุณของดอกคำฝอย

มีการนำดอกคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่งสรรพคุณของดอกคำฝอยมีทั้งการบำรุงสตรี บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของโลหิต และรักษาอาการผิดปกติของร่างกายต่างๆได้ สรรพคุณของดอกคำฝอย มีดังนี้

  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ นอนหลับสบาย สามารถช่วนรักษาโรคทางจิตรเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคนิมโพเมาเนียร์ เป็นต้น
  • ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการป่วย
  • ช่วยขับระดูของสตรี แก้ปัญหาอาการประจำเดือนคั่งค้าง หรือ ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
  • บรรเทาอาการปวด อาการประจำเดือน อาการปวดมดลูก และ ลดอาการอักเสบของมดลูก รักษาอาการตกเลือด ลดอาการปวดหลังคลอด ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ลดไขมันในเลือด ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้มีเลือดไปล่อเลี้ยงหัวใจมากขึ้น
  • ช่วยขับเหงื่อ ทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ขับของเสียออกทางรูขุมขน
  • รักษาอาการฟกช้ำดำเขียว รักษาอาการแผลกดทับ
  • ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเกิดฟันผุ

วิธีทำน้ำดอกคำฝอย มีวิธีการเตรียม ดังนี้ ใช้ดอกคำฝอยแห้งหาซื้อได้ทั่วไป กะปริมาณให้ได้ประมาณ 2 หยิบมือ ( คิดเป็นน้ำหนัก 2.5 กรัม ) เติมดอกเก๊กฮวย ลงหม้อ ประมาณ 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาดที่ใช้ดื่มได้ครึ่งลิตร เคี่ยวจนงวด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชา ดื่มได้ทั้งแบบร้อน และ แบบเย็น ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง กรณีดื่มยาก สามารถเติมน้ำตาลทรายขาว หรือ น้ำผึ้ง ได้ 2-3 ช้อนชา ต่อน้ำดอกคำฝอย 1 แก้ว

โทษของคำฝอย

การใช้ประโยชน์จากคำฝอย มีข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจากคำฝอย ดังนี้

  • การรับประทานดอกคำฝอย อย่างต่อเนื่องในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ มีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • การรับประทานดอกคำฝอย ในระหว่างมีประจำเดือน อาจทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • สำหรับสตรีระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่รับประทานดอกคำฝอย เพราะ ดอกคำฝอยมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน อาจทำให้แท้งลูกได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย