มะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุและการรักษาทำอย่างไรมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ( colon cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และ อวัยวะเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหารเพื่อไปเลี้ยงร่างกายมีปัญหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชากรไทย ซึ่งพบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง และ พบมากในคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยังไม่สามารถทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เกิดจากปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อลำไส้ใหญ่ ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ความผิดปรกติของเนื้อเยื่อร่างกาย การกลายพันธุ์ของยีนจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของเซลล์ร่างกาย จนเกิดการเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และ มีกากใยอาหารต่ำ
  • พันธุกรรม ในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • อายุ คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาศเกิดโรคนี้สูง
  • การอักเสบของลำไส้แบบเรื้อรัง
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงให้เห็นถึงความผิดปรกติภายในช่องท้อง และ ระบบขับถ่าย ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ระบบขับถ่ายทำงานผิดปรกติ เช่น ท้องผูก หรือ ท้องเสีย ซึ่งเป็นแบบเรื้อรังไม่หายขาด
  • อุจจาระผิดปรกติ โดยอุจจาระเป็นเลือด และ รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ปวดอุจจาระบ่ายๆ
  • มีอาการปวดท้อง แน่นอึดอัดเหมือนมีแก๊สในท้อง
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักตัวลงโดยไม่มีสาเหตุ ทั้งๆที่รับประทานอาหารได้ปรกติ

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงอาการของโรคเป็น 4 ระยะ และ จะเพิ่มความรุนแรงของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ในระยะนี้มีก้อนเนื้อขนาดเล็ก แต่ยังไม่ลุกลามที่ถึงผนังสำไส้ ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้โอกาสหายได้ถึง ร้อยละ 75 ถึง 80
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สอง ในระยะนี้จะมีก้อนเนื้อลุกลามออกมาถึงเยื่อหุ้มชั้นนอกผนังลำไส้ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 40 ถึง 70
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สาม ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามไปที่ระบบน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 20 ถึง 60
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะสุดท้าย ในระยะนี้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายทั่วร่างกายผ่านระบบน้ำเหลืองและระบบเลือด ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 10

การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถตรวจได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ การส่องกล้องตรวจ และ การเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูช่องท้อง

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธีซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเซลล์มะเร็งเร็ว โดยการรักษาใช้การผ่าดัด ร่วมกับการทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซี่งแพทย์จะตัดชื้นเนื้อส่วนที่เป็นมะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือ คีโม เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งการคีโมจะใช้รักษาหลังการผ่าตัด
  • การฉายรังสี ( Radiation Therapy ) โดยการฉายรังสีเข้าไปบริเวณที่มีก้อนมะเร็ง เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนเนื้องอกเล็กลงวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  • อาการผมร่วง ตัวซีด คลื่นไส้อาเจียน
  • มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ แผลจะหายช้า และ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณช่องท้อง
  • ส่งผลโดยตรงต่อการขับถ่าย เนื่องจากลำไส้ใหญ่ถูกตัดให้สั้นลง

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทางการแพทย์ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  1. ขับถ่ายให้เป็นเวลา
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  6. พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด หากิจกรรมต่างๆเพื่อทำให้ไม่เครียด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอะไรบ้าง

มะเร็งปอด Lung cancer ภาวะเกิดเนื้อร้ายที่ปอด มักเกิดกับคนสุบบุหรี่ อาการน้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุและแนวทางการรักษาโรคทำอย่างไรมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง โรคจากบุหรี่

โรคมะเร็งปอด ( Lung cancer ) การสูบบุหรี่ หรือ สูดดมสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของการทำลายปอด และ ระบบทางเดินหายใจ โรคนี้นังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน โรคมะเร็งปอดพบมากในผู้ชายแต่ สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบมะเร็งในระยะต้นๆ สำหรับการเกิดมะเร็งปอดสามารถแบ่งชนิดของเซลล์มะเร็งที่ปอดได้ 2 ชนิด คือ

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small Cell Lung Cancer) พบอัตราการเกิดได้บ่อยถึง 80-85%
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 10%-15% อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับโรคมะเร็งปอด ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่เราพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายปอดและ อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม จากสถิติพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติพี่น้องที่มีประวัติการรักษาโรคมะเร็งปอด มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดเช่นกัน
  • อายุ โรคนี้พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • สภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
  • การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่สูดเข้าปอดส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ปอดโดยไม่ต้องสงสัย

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด จะแสดงอาการของโรคอย่างชัดเจนที่ระบบการหายใจ และ สภาพร่างกายที่อ่อนแอ ซึ่งเราสามารถระบุอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคด้วยตนเอง ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ
  • มีอาการเหนื่อยง่ายๆ
  • มีภาวะโรคปอด เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ หรือ ปอดติดเชื้อ
  • เสียงพูดผิดปรกติ พูดได้ไม่เต็มเสียง เสียงแหบ
  • ไอเป็นเลือด รวมถึงไอไม่หยุด และ มีเสมหะจากการไอจำนวนมาก
  • มีอาการแน่นหน้าอก ปวดหน้าอก
  • เสียงหายใจเป็นเสียงนกหวัด หายใจได้ไม่เต็มปอด

ระยะของโรคมะเร็งปอด

สำหรับโรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งปอดได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งถึงระยะที่สี่ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียดของระยะโรคมะเร็งปอดต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งปอดระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่พบอาการผิดปกติของเซลล์มะเร็ง ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง แต่พบเพียงเซลล์มะเร็งขนาดเล็กที่ปอด เท่านั้น ระยะนี้ผู้ป่วยส่วนมากไม่ทราบว่าเกิดโรคมะเร็งปอด
  • มะเร็งปอดระยะสอง เซลล์มะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และ เริ่มจะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลือง ขั้วปอด รวมถึงผนังทรวงอก
  • มะเร็งปอดระยะที่สาม เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปทั่วทรวงอก และ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย
  • มะเร็งปอดระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งจากปอดกระจายเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย และ เสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด แพทย์จะมีแนวทางการวินิจฉัยโรค โดยใช้การตรวจต่างๆ รายละเอียดดังนี้

  • การส่องกล้องตรวจทรวงอก ( thorocoscopy ) ใช้กล้องส่องเข้าที่ผนังทรวงอกเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • การตรวจช่องกลางทรวงอก ( mediastinoscopy ) โดยการผ่าเปิดกระดูกทรวงอกส่วนบน สอดกล้องเพื่อเก็บชิ้นเนื้อ และ น้ำเหลือง เพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • การเจาะช่องทรวงอกถึงชั้นเยื่อหุ้มปอด ( thoracentesis ) การเก็บของเหลวบริเวณเยื่อหุ้มปอด เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม ( bronchoscopy ) ใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าหลอดลมเพื่อเข้าสู่ปอด โดยดูดของเหลว และ ตัดชิ้นเนื้อ นำมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • ตรวจชิ้นเนื้อ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านทางช่องอกไปยังปอด เพื่อ ดูดของเหลว และ เนื้อเยื่อมาวิเคราะห์หาเซลล์มะเร็ง
  • การทำซีทีแสกน ( CT scan ) หรือ ทำเอ็มอาร์ไอ ( MRI ) เพื่อดูตำแหน่งก้อนเนื้อมะเร็ง และ ดูความผิดปกติของปอด
  • การฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้ทราบตำแหน่ง และ ขนาดของเซลล์มะเร็งที่เกิดได้อย่างชัดเจน

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ ต้องใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกับ แต่มะเร็งปอดหากพบในระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวิธีการรักษาแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสม ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตันนำเซลล์มะเร็งออก สามารถรักษาได้ผลดีในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะต้นๆ ที่พบเซลล์มะเร็งขนาดเล็ดและยังไม่แพร่กรจาย
  • การทำเคมีบำบัด เป็นการฉีดยาเข้าเส้นเลือด เพื่อยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง
  • การฉายรังสี ใช้แสงรังสีเพื่อการทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้ต้องทราบตำแหน่งมะเร็งที่ชัดเจน การรักษาวิธีนี้มีผลข้างเคียงทำให้ระคายเคืองตามผิวหนัง อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร
  • การใช้ยาเจาะจงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นภัยต่อระบบการหายใจ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปอด มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
  • หมั่นตรวจร่างกายประจำปี และ หากพบอาการผิดปกติต่างๆของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ทันที

โรคมะเร็งปอดLung cancer ) ภาวะเกิดเนื้องอกที่ปอด โรคจากการสุบบุหรี่ หากมีอาการ น้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุของมะเร็งปอด และ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย