มะเร็งหลอดอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน การรักษาและแนวทางการป้องกันโรคทำอย่างไรมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่หลอดอาหาร ส่งผลต่ออวัยวะที่ทำหน้าที่ส่งอาหารจากปากเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งการแบ่งเซลล์ผิดปรกติหากลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบเลือด เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคนี้พบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร สามารถแบ่งชนิดของโรคตามลักษณะของเซลล์มะเร็งได้ 3 ลักษณะ คือ มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา และ  มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่น ๆ ลักษณะดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดสะความัส ( Squamous Cell Carcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดขึ้นที่ชั้นผิวของหลอดอาหาร มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนบน หรือ ส่วนกลาง เป็นชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่พบมากที่สุด
  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา ( Adenocarcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดทที่เซลล์ของต่อมผลิตเมือก มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง
  • มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่นๆ ลักษณะที่แตกต่างจาก 2 ลักษณะแรก แต่ไม่พบมะเร็งลักษณะนี้บ่อย

สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคงมะเร็งหลอดอาหาร วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ทราบว่าเกิดจากการผิดปรกติของดีเอ็นเอบริเวณหลอดอาหาร แต่มีปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงต่อเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มีปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อเซลล์ร่างกายผิดปรกติ ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อที่หลอดอาหาร
  • การได้รับสารเคมีที่หลอดอาหารอย่างรุนแรง เช่น การดื่มน้ำกรด การดื่มยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • โรคกรดไหลย้อนแบบเรื้อรัง
  • พฤติกรรมการกิน เช่น รับประทานอาหารที่ผสมสารกันบูด กินอาหารที่เผ็ดจัด เป็นต้น
  • การดื่มสุรา
  • การบุหรี่
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะแสดงอาการของโรคที่ลำคอ เกี่ยวข้องกับการกลืนอาหาร และ อาการของโรคจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารลำบาก มีอาการสำลักบ่อยๆ และ มีอาการไอระหว่างรับประทานอาหาร
  • มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ และ ลำคอ
  • มีก้อนตรงลำคอ และ มีอาการคอบวม
  • เสมหะมีปนเลือด
  • อาเจียนมีเลือดปน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย
  • เสียงแหบ

ระยะการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหารมีระยะของการเกิดโรค เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้ 

  • มะเร็งหลอดอาหารระยะแรก เกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่หลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สอง เซลล์มะเร็งลุกลามสู่ภายนอกหลอดอาหาร และ ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้เคียง
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปสู่อวัยวะใกล้เคียง และ ต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายทั่วร่างกายทางกระแสเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร พทย์จะทำการการตรวจประวัติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม ตรวจร่างกายทั่วไป ส่องกล้องตรวจลำคอ ตราจเลือด X-rayปอดและช่องท้อง อัลตราซาวน์ช่องท้อง และ ตรวจกระดูก

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน คือ  การผ่าตัด การฉายรังสี และ การใช้เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย ในการเลือกวิธีการรักษา รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออก ซึ่งการรักษาวิธีนี้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต่องให้อาหารโดยทางสายยาง
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายไปที่ผนังหลอดอาหาร เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยการวิธีนี้ต้องทำร่วมกับการฉายแสง

การป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหาร ปัจจุบันไม่มีการตรวจคัดกรองโรค ทำให้ไม่ทราบว่าผู้ป่วยเกิดโรคมะเร็งจนกว่าจะแสดงอาการความผิดปรกติของร่างกาย สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่รับประทานอาหารที่เผ็ดจัดๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสุบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเซลล์ที่เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และ แนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกร้ายที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาและป้องกันการเกิดโรคอย่างไรมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ ฉี่เป็นเลือด

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary bladder cancer ) โรคมะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งเซลล์ที่เนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะจนเกิดเป็นก้อนเนื้อ ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนเต็มกระเพาะปัสสาวะ และ ลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ ทางต่อมน้ำเหลืองและกระแสโลหิต ซึ่งกระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่กักเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายออกจากร่างกาย ร่างกายมนุษย์สามารถเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายได้ไม่เกิน 300 ซีซี โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกิดในประชากรไทยบ่อย พบติดหนึ่งในสิบของมะเร็งในคนไทย พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สารมารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เราสามารถระบุปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัตโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคสูงกว่ากลุ่มคนทั่วไป
  • การมีพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งพยาธิใบไม้จะวางไข่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคือง
  • การสูบบุหรี่
  • การสัมผัสสารเคมีต่างๆ เช่น สีย้อมผ้า เคมีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยาง และ อุตสาหกรรมสายไฟฟ้า
  • การรับการรักษาโรคด้วยการทำเคมีบำบัด

อาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการผิดปรกติที่ไต ระบบการปัสสาวะ เช่น แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือด และ ปวดหลังบริิเวณไต ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะของการเกิดดชโรค ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถสังเกตุอาการเบื้องต้น ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดหลัง ลักษณะคล้ายอาการปวดของผู้ป่วยโรคไต
  • เจ็บท้อง โดย เจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ระบบปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะมีเลืิอดปน เป็นต้น  

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งชนิดนี้ ได้ 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ รายละเอียดดังนี้

  1. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะแรก เกิดเซลล์ก้อนเนื้อขนาดเล็ก เฉพาะที่เยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก อยู่ที่ร้อยละ 80
  2. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สอง เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามมายังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สองอยู่ที่ร้อยละ 70
  3. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเกิดการลุกลามมายังเนื้อเยื่อรอบๆอวัยวะของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมาก ช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สามอยู่ที่ร้อยละ 20 ถึง 60
  4. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็ง ลุกลามไปทั่วช่องท้อง รวมถึง ต่อมน้ำเหลือง ปอด และ กระดูก ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายไม่ถึงร้อยละ 20

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีการตรวจคัดกรอง เพราะ ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดระยะของโรคที่รุนแรง แนวทางการวินิจฉัยโรค สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เริ่มจา การตรวจประวัติการรักษา ประวัติพันธุกรรม การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด CT scan หรือ MRI ช่องท้อง การตรวจกระดูก เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับแนวทางการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษา เช้น การผ่าตัด การฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยรายละเอียดการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การจี้กระแสไฟฟ้าที่กระเพาะปัสสาวะ วิธีรักษาแบบนี้ใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งต้องรักษาร่วมกับการใช้เคมีบำบัด
  • การผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะออก
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง และ การรักษาด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ เลือดออกง่าย เป็นต้น

การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นเรื่องยาก เนื่องจากโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรคที่สามารถควบคุมได้ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ
  • หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำปี

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาอย่างไร แนวทางการป้องกันการเกิดโรค

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย