ส้มแขก สมุนไพร ผลส้มแขกรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำอาหารในรสเปรี้ยว ต้นส้มแขกเป็นอย่างไร สรรพคุณของส้มแขก เช่น ลดความดัน ลดน้ำหนัก บำรุงเลือด โทษของส้มแขก มีอะไรบ้างส้มแขก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ส้มแขก ( Garcinia ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มแขก คือ Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มแขก เช่น ชะมวงช้าง ส้มควาย อาแซกะลูโก ส้มพะงุน ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก เป็นต้น ถิ่นกำเนิดของส้มแขก คือ ประเทศอินเดียและศรีลังกา ซึงในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคใต้ ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส

ผลส้มแขก นิยมนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะอาหารอินเดีย ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยว นำมาใช้ทำอาหารแทนน้ำมะชามเปียกได้ สำหรับอาหารไทย นิยมนำส้มแขกใช้ทำาอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เป็นต้น

ลักษณะของต้นส้มแขก

ต้นสมแขก เป็นไม้ยืนต้น พืชตระกลูมังคุด นิยมรับประทานผล ให้รสเปรี้ยว การขยายพันธุ์ของส้มแขก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นส้มแขก มีดังนี้

  • ลำต้นส้มแขก ความสูงประมาณ 10 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้แข็ง เปลือกลำต้นมีสีเขียว และ สีน้ำตาลอมดำ ลำต้นมียางสีเหลือง
  • ใบส้มแขก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบเรียบ ขอบใยเรียบ ลักษณะมันวาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ใบแห้งจะเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกส้มแขก ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยดอกออกตามปลายยอด กลีบดอกด้านนอกสีเขียว ส่วนกลีบดอกด้านในสีแดง
  • ผลส้มแขก ลักษณะเป็นผลเดี่ยว เป็นแฉกๆลักษณะกลมมน ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เนื้อผลแข็ง ผลมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด

สารสำคัญในส้มแขก

ในผลส้มแขก มีสารสำคัญ คือ HCA “Hydroxycitric Acid” สารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการสร้างไขมัน จากการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ ในผลส้มแขก มีกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก ( Citric Acid ) กรดโดคีคาโนอิค ( Dodecanoic Acid ) กรดออกตาดีคาโนอิค ( Octadecanoic acid ) และ กรดเพนตาดีคาโนอิค ( Pentadecanoic acid )

สรรพคุณของส้มแขก

สำหรับการนำส้มแขกมาใช้ประโยน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ ดอก ราก และ ผล สรรพคุณของส้มแขก มีดังนี้

  • ดอกส้มแขก สรรพคุณช่วยแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดความดัน รักษาเบาหวาน
  • ผลส้มแขก สรรพคุณช่วยลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยเร่งการเผาผลาญอาหาร ช่วยดักจับแป้งและไขมันจากอาหาร ช่วยทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวตัวได้เร็วขึ้น ลดน้ำหนัก  ช่วยลดไขมันส่วนเกิน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  • รากส้มแขก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด เป็นยาแก้กระษัย บรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบส้มแขก สรรพคุณช่วยขับถ่าย แก้ท้องผูก

โทษของส้มแขก

สำหรับการใช้ประโยชน์ส้มแขก ทั้งจากส่วนของต้นสด หรือ สารสกัดจากส้มแขก มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากส้มแขก ไม่ควรใช้กับสตรีตั้งครรภ์ หรือ สตรีระหว่างการให้นมบุตร เพราะอาจส่งผลต่อฮอร์โมนเพศ
  • ความเป็นกรดของสารสกัดจากส้มแขก หากรับประทานมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้อง
  • ผู้ป่วยซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ไม่ควรรับประทานส้มแขก เนื่องจากสารHCA อาจมีผลกระทบต่อการสร้าง acetylcholine ในสมอง

ส้มแขก สมุนไพร ผลส้มแขกรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำอาหารในรสเปรี้ยว ลักษณะของส้มแขก เป็นอย่างไร สรรพคุณของส้มแขก เช่น ลดความดัน ลดน้ำหนัก บำรุงเลือด โทษของส้มแขก มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ผักแพว ผักไผ่ ผักพื้นบ้าน กลิ่นหอม สมุนไพร ต้นแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ โทษของผักแพว เป็นอย่างไรผักแพว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ผักแพว ( Vietnamese coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักแพว คือ Polygonum odoratum Lour. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักแพว เช่น พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์ ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า เป็นต้น นิยมรับประทานผักแพวเป็นผักสด

ผักแพวในประเทศไทย

สำหรับผักแพวในประเทศไทย นิยมรับประทานใบสด เนื่องจากเป็นพืชมีกลิ่นหอม ต้นแพว มีการปลูกและจำหน่ายทั่วไป ผักแพว เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคในประเทศ และ ผักแพวสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ

ลักษณะของผัวแพว

ต้นผักแพว เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุุ่มน้ำ เช่น ตามห้วย หนอง คลอง บึง หรือ แหล่งน้ำต่างๆ สำหรับการขยายพันธุ์ผักแพว สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ด และ การปักชำ ผักแพว สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

  • ลำต้นผักแพว ลักณะเป็นปล้อง ลำต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นข้อ รากของผักแพวออกตามข้อของลำต้น ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน
  • ใบผักแพว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามลำต้น ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกผักแพว ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ เล็กสีขาวนวล หรือ สีชมพูอมม่วง
  • ผลผักแพว เจริญเติบโตจากดอก ซึ่งผลผักแพวมีขนาดเล็กมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว นิยมบริโภคใบสดๆ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักแพวสดๆขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 54 กิโลแคลอรี และพบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 4.7 กรัม วิตามินเอ 8,112 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 77 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 79 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักแพว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักแพว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ ราก ดอก และ ลำต้น สรรพคุณของผักแพว มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากผักแพว สรรพคุณบำรุงระบบประสาท แก้ไอ รักษาหอบหืด รักษากระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดข้อและกระดูก
  • ลำต้นผักแพว สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาริดสีดวงทวาร แก้เหน็บชา
  • ดอกผักแพว สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ บำรุงปอด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงเลือด ต้านเชื้อรา
  • ใบผักแพว สรรพคุณช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี รักษาโรคหวัด ช่วยขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง ช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ รักษาเหน็บชา เป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี

โทษของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว เนื่องจากคุณสมบัติของผักแพวมีรสเผ็ดร้อน การกินผักแพวมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองภายในร่างกาย แสบร้อนภายในช่องปาก คอ และ กระเพาะอาหาร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย