เผือก ( Taro ) สมุนไพร หัวเผือกเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ลักษณะของต้นเผือก คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์และสรรพคุณของเผือก เช่น บำรุงกำลัง ช่วยการขับถ่าย

เผือก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเผือก ( Taro ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott ชื่อเรียกอื่นๆของเผือก เช่น ตุน บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับ สายพันธุ์เผือก ที่พบในไทยแบ่งได้ 4 พันธุ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไม้ และ เผือกตาแดง

ต้นเผือก เป็นพืชตระกูลบอน มีหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวเผือกมารับประทานเป็นอาหาร เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต สามารถกินทดแทนข้าวได้ เผือกมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศแถบเอเชียกลาง ซึ่งปัจจุบันการปลูกเผือกนั้นนิยมปลูกและรับประทานทั่วไป

สายพันธุ์เผือก

สำหรับต้นเผือก มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์เผือก มีมากกว่า 200 พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งสายพันธุ์เผือก ได้ 2 ประเภท คือ เผือกสายพันธ์เอดโด ( eddoe ) และ เผือกสายพันธ์แดชีน ( dasheen ) รายละเอียด ดังนี้

  • เผือกสายพันธุ์เอดโด ( eddoe ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และ มีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว
  • เผือกสายพันธุ์แดชีน ( dasheen ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และ มีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้

เผือกในประเทศไทย

เผือก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเผือกเพื่อขาย ซึ่ง สายพันธุ์เผือกในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์เผือกที่พบในประเทศไทย แบ่งได้ 4 สายพันธุ์ คือ

  • เผือกหอม เป็นชนิดหัวใหญ่ มีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ต้มรับประทานมีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่สีเขียว
  • เผือกเหลือง หัวขนาดย่อม หัวสีเหลือง
  • เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ หัวมีขนาดเล็ก
  • เผือกตาแดง ตาของหัวมีสีแดงเข้ม มีหัวเล็ก ๆ ติดอยู่รอบหัวใหญ่ เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบสีแดง

แหล่งปลูกเผือกในประเทศไทย มีแหล่งปลูกเผือกที่สำคัญในทุกภาคของประเศ ได้แก่ ภาคเหนือ ( เชียงใหม่ พิษณุโลก ) ภาคกลาง  ( นครนายก นครสวรรค์ สระบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ราชบุรี ) ภาคอีสาน ( นครราชสีมา สุรินทร์ ) ภาคใต้ ( ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราฏษ์ธานี )

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชตระกูลบอน เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์ การแตกหน่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งการปลูกเผือก นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี โดยลักษณะของต้นเผือก มีดังนี้

  • ลำต้นของเผือก เป็นลักษณะหัว ซึ่งอยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวเผือกค่อนข้างกลม เปลือกของหัวมีสีน้ำตาล ภายในหัวมีเนื้อในสีขาว
  • ใบของเผือก มีสีเขียว เป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเป็นเส้นๆ มีก้านใบยาว ซึ่งความยาวก้านใบประมาณ 1 เมตร
  • ดอกเผือก ออกเป็นช่อ ดอกเผือกมีสีเขียว ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบาน
  • ผลเผือก มีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือกดิบ ซึ่งผลจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินเอ 76 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.095 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.025 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.600 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.303 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม วิตามินบี9 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.38 มิลลิกรัม วิคามินเค 1.0 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ
ธาตุซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก หัวเปือก ใบเผือก กาบในเผือก และ น้ำยางจากเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หัวของเผือก สามารถใช้บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เป็นยาลดไข้ บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • น้ำยางของเผือก สามารถใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
  • ใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ลดอาการอักเสบ แก้ปวด รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • กาบใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ถอนพิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการรับประทานเผือก ต้องทำให้สุกก่อน และ กำจัดยางจากเผือกก่อน หากเตรียมเผือกไม่ดีก่อนนำมารับประทาน สามารถทำให้เกิดโทษ ได้ โดย โทษของเผือก มีดังนี้

  • เผือกดิบ ไม่สามารถนำมากินได้ เนื่องจาก เผือกดิบมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต เป็นพิษ ทำให้เกิดนิ่วในไต ทำให้เกิดการระคายเคืองลำคอ และ ระบบทางเดินอาหาร
  • สำหรับบางคนที่มอาการแพ้เผือก หากพบว่ามีอาการคันในช่องปาก ลิ้นชา หลังจากกินเผือก ต้องหยุดรับประทานและพบแพทย์ทันที

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ แหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณและโทษมีอะไรบ้าง

เห็ดหอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเห็ดหอม คือ พืชชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆของเห็ดหอม คือ ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น เห็ดหอม เป็นพืชที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ดอกเห็ดหอมมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นแหล่งกากใยอาหารชั้นดี อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลากชนิด มีประโยขน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค บำรุงกระดูก ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

ลักษณะของต้นเห็ดหอม

เห็ดหอม ( Shiitake ) คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอมให้ผลผลิดตลอดทั้งปี โดยให้ผลผลิดสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ต้นเห็ดหอมมีลักษณะเหมือนหมวกกลมๆ ผิวสีน้ำตาลอ่อน มีขนสีขาวอ่อนๆ ก้านดอกเห็ด และ โคนเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอม สามารถรับประทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมนั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง โดยผลการศึกษาพบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมสด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 387 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาการ 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 8.5 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 375 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

สำหรับการศึกษาเห็ดหอม จากการศึกษาเห็ดหอมในงานวิจัยของญี่ปุ่น พบว่าในเห็กหอมมีสารอาหารสำคัญหลายชนิด เช่น

  • เลนติแนน ( Lentinan ) สารอาหารชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและมะเร็งได้ดี
  • กรดอะมิโนอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) กรออมิโนชนิดนี้ช่วยย่อยคอเลสเตอรอลได้ดี ลดไขมันและคอเรสเตอรัลในเลือดได้ดี ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ
  • สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) ช่วยบำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคกระดูกผุ ป้องกันโรคโลหิตจาง

สรรพคุณของเห็ดหอม

สำหรับการบริโภคเห็ดหอม นั้นมีปรธโยชน์และสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย ซึ่งสรรพคุณของเห็ดหอมมีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด ช่วยสร้างระบบภูมิต้านทานโรคทำให้แก่ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย หรืออาการโลหิตจาง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี
  • ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ไม่ให้กระดูกเปราะหรือแตกหักง่าย
  • ช่วยบำรุงระบบสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่ซึมเศร้า ช่วยให้ระบบประสาทของร่างกายให้ทำงานได้ดี
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ใบหน้าดูไม่แก่ก่อนวัย
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายและสบายขึ้น

โทษของเห็ดหอม

สำหรับการนำเห็ดหอมมารับประทาน ในปัจจุบันมีการนำเห็ดหอมมารับประทานในหลายรูปแบบ ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง สำหรักการเลือกเห็ดหอมที่สะอาดและ ปรุงอย่างถูกวิธี จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษจากการกินเห็ดหอม โดยการซื้อเห็ดหอม สำหรับเห็ดหอมแห้ง ควรเลือกซื้อเห็ดหอมที่ดอกหนา มีรอยแตกสีขาวลึกกระจายทั่วดอก โดยให้นำไปแช่น้ำร้อนประมาณ 15 นาที จนเห็ดหอมแห้งนุ่มก่อนนำไปปรุงอาหาร ส่วนเห็ดหอมสด ควรเลือกซื้อดอกเห็ดที่สดและสะอาด สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานเห็ดหอม มีดังนี้

  • การรับประทานเห็ดหอม สำหรับคนที่มีอาการแพ้เห็ดหอม ให้หยุดกินทันที และ พบเพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งหากรับประทานเห็ดหอมและมีอาการดังนี้ คือ ปวดท้อง มีอาการแพ้ตามผิวหนัง มีเลือดออกผิดปกติ หายใจลำบาก ให้พบแพทย์ด่วน
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม
  • สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคลูปัส โรครูมาตอยด์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอมกระตุ้นการทำงานของร่างกาย อาจทำให้อาการของโรคมากขึ้นได้
  • ผู้ป่วยโรคเซลล์เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงกว่าปกติ ( Eosinophilia ) ห้ามรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอม อาจทำให้เกิดอาการของโรคมากขึ้น

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ คือ พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออก ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม สรรพคุณของเห็ดหอม และ โทษของเห็ดหอม มีอะไรบ้าง เห็ดหอม เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย