ว่านมหาหงส์ สะเลเต สมุนไพร ไม้มงคลเสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์มีอะไรบ้าง

ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นว่านมหาหงส์ ( Butterfly lily ) พีชตระกูลขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่านมหาหงส์ คือ  Hedychium coronarium J.Koenig ชื่อเรียกอื่นๆของว่านมหาหงส์ เช่น เลเป ลันเต ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ ว่านกระชายเห็น สะเลเต กระทายเหิน หางหงส์ ตาเหิน เฮวคำ  เป็นต้น

ลักษณะของต้นว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์ เป็นพืชล้มลุก ชอบน้ำ ขึ้นได้ดีตามที่ลุ่มชื้น อายุยืน มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร โตเร็ว ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และ ศัตรูพืช มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร ลักษณะของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ เหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม สีเขียว เนื้อในสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ลำต้นของว่านมหาหงส์ จะออกมาจากเหง้า ขึ้นตรง สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม เป็นสีเขียว
  • ใบของว่านมหาหงส์ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายหอก ปลายแหลม ผิวใบเรียบ เป็นมัน มีสีเขียวสด
  • ดอกของว่านมหาหงส์ จะออกดอกเป็นช่อ ดอกออกจากปลายยอดของลำต้น ปลายกลีบดอกเป็นสีขาวอมสีเขียว โคนดอกเป็นสีขาว ดอกมหาหงส์ออกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ของทุกปี
  • ผลของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นผลแห้ง ทรงกลม แตกออกได้เป็นพู

คุณค่าทางโภชนากการของว่านมหาหงส์ 

สำหรับการนำเอาว่านมหาหงส์มาใช้ประโยชน์ นั้นจะนิยมนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย โดยได้จากการสัดจากเหง้าของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นของเหลว ใส สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน โดยในน้ำมันหอมระเหยของว่านมหาหงส์ มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย  beta-pinene , borneol , d-limonene และ linalool สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของโลชั้นกันยุงได้ และ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย

ประโยชน์ของว่านมหาหงส์

สำหรับว่านมหาหงส์ สามารถใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งการนำเอามาทำเป็นอาหาร ยารักษาโรค และ เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ รายละเอียด ดังนี้

  • สามารถใช้เป็นอาหาร โดยนำเหง้าอ่อนของว่านมหาหงส์มารับประทาน รสชาติเผ็ดร้อนคล้ายขิง คนเหนือนิยมลวกรับประทานกับน้ำพริก
  • ดอกว่านมหาหงส์ นำมาใช้บูชาพระ
  • เหง้าว่านมหาหงส์ สามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ เรียก น้ำมันมหาหงส์ นำมาเป็นส่วนผสมของน้ำหอม โลชั้นทากันยุง สบู่ ครีมอาน้ำ เป็นต้น
  • น้ำมันหอมระเหยจากว่านมหาหงส์ ใช้นำมาให้กลิ่นหอม และ เป็นส่วนผสมของครีมสปาต่างๆ เช่น โลชัน โคโลญจน์ สบู่ ครีมอาบน้ำ หรือโคลนหมักตัว เป็นต้น
  • ไม้มงคล ดอกสวย ว่านมหาหงส์ ดอกจะมีกลิ่นหอมมาก โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็นถึงมืด และ เชื่อกันว่าว่านมหาหงส์จะช่วยเสริมอำนาจและบารมี

สรรพคุณของว่านมหาหงส์

การใช้ประโยชน์จากว่านมหาหงส์ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้าของมหาหงส์มา ดดยรายละเอียดของสรรพคุณของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ตากแห้งนำมาบดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้ยาบำรุงกำลัง ทำยาอายุวัฒนะ แก้กษัย บำรุงไต
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาต้มดื่มช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย แก้ลมชัก
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาคั้นน้ำ สามารถรักษาแผลฟกช้ำ แผลอักเสบ และ แผลบวมได้

โทษของว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขิง ที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน หากสัมผัสโดยไม่ใส่ถุงมือ หรือ บางคนที่ผิวบอบบาง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ แสบร้อนได้

ว่านมหาหงส์ สะเลเต พืชสมุนไพร ไม้มงคล เสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์ของมหาหงส์ สรรพคุณของมหาหงส์ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับต้นมหาหงส์

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กวาวเครือขาว สมุนไพร นิยมนำหัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ มีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกวาวเครือขาว ( Pueraria mirifica ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกวาวเครือขาว เช่น กวาว กวาวหัว กวาวเครือ เครือขาว จานเครือ ตานเครือ ทองเครือ ทองกวาว จอมทอง ตานจอมทอง โพ้ต้น และ โพะตะกู เป็นต้น ซึ่งชืื่อเรียกของกวาวเครือ แตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศและการใช้ภาษาของท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย มีประโยชน์สำหรับบำรุงเพศ ทั้งหญิงและชาย กระตุ้นฮอร์โมนหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย กระทรวงสาธารณสุขของไทย จัดให้กวาวเครือขาวเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และ ยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์

คุณค่าทางโภชนาการของกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาวมีประโยชน์หลายอย่าง มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของกวาวเครือขาวแห้ง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 308 แคลลอรี่ มีสารอาหารต่างๆประกอบด้วย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน แคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก

ด้านการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของหัวกวาวเครือขาว พบว่าในกวาวเครือขาวมีสารเคมีต่างๆ แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

  • สารกลุ่มคูมารินส์ ( Coumarins ) ได้แก่ Coumestrol , Mirificoumestan , Mirificoumestan Glycol และ Mirificoumestan hydrate
  • สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) หัวกวาวเครือขาวมีสารจำพวก lsoflavonoid หลายชนิด เช่น Genistain , Daidzein , Daidzin , Puerarin , Puerein-6-monoacetate , Mirificin , Kwakhurin และ Kwakhurin hydrate
  • สารกลุ่มโครมีน ( Chromene ) ได้แก่ Miroestrol เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน พบในปริมาณ 0.002 – 0.003 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหัวกวาวเครือขาวแห้ง หรือ 15 มิลลิกรัม ต่อ กวาวเครือขาวแห้ง 1 กิโลกรัม
  • สารกลุ่มสเตียรอยด์ ( steroids ) ได้แก่ B-sitosterol , Stigmasterol , Pueraria และ Mirificasterol

สรรพคุณของกวาวเครือขาว

การนำเอากวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์นั้นจะนิยมใช้ประโยชน์จากหัวกวาวเครือขาวแห้งนำมาบดเป็นผง และนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้เต่งตึง ผิวใสดูเปล่งปลั่ง เนียนนุ่มสวย
  • ช่วยบำรุงกำลัง เป็นอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยบำรุงสตรี ช่วยขยายทรวงอกให้ใหญ่ขึ้น ทำให้นมโต แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ ทำช่วยผมขาวกลับคืนสภาพปกติ รักษาผมร่วง
  • ช่วยลดความมันบนใบหน้า รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ ช่วยสมานริ้วรอยบนใบหน้าจากความหยาบกร้าน
  • ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น
  • ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารอร่อยขึ้น
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาฟาง ป้องกันต้อกระจก
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยเพิ่มสมรรภภาพทางเพศ บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์
  • ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน แก้อาการหมดประจำเดือนในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนที่มีอาการบกพร่องของฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยใช้ช่องคลอดไม่แห้ง ช่วยกระชับช่องคลอด
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน และ ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • สำหรับคนมีบตรุยาก ทำให้มีลูก

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย