บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม นิยมนำมาทำยา ต้นบอระเพ็ดเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

บอระเพ็ด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ด คือ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson ชื่อเรียกอื่นๆของต้นบอระเพ็ด เช่น เจตมูลหนาม ตัวเจตมูลยาน เถาหัวดำ หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เถาหัวด้วน จุ่งจะลิง เจ็ดหมุนปลูก เป็นต้น

ต้นบอระเพ็ด คือ พืชประเภทไม้เลื้อย ซึ่งเป็นพืชที่สามารถพบด้ตามป่า โดยเฉพาะป่าดิบแล้ง คนไทยนิยมใช้เป็นสมุนไพร ยารักษาโรค สารพัดปรัโยชน์ นิยมนำบอระเพ็ดมาทำเป็นยา เลือกส่วนเถา ที่มีลักษณะไม่แก่ หรือ อ่อนเกินไป บอระพ็ดมีรสชาติขมจัด

ลักษณะของต้นบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย พบมากตามป่าดงดิบ และ ป่าเบญจพรรณ ที่มีความชื้น ต้นบอระเพ็ดจะเกาะตามพุ่มไม้ใหญ่ เถาบอระเพ็ดจะเลื้อยตามต้นไม้ต่างๆ สำหรับการปลูกบอระเพ็ด สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ และ การปักชำ ลัษณะของต้นบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ลำต้นบอระเพ็ด เป็นลักษณะเถาไม้เนื้ออ่อน ยาวมากกว่า 10 เมตร ผิวของลำต้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เถามีสีเขียวเข้ม และหากเถามีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เถาบอระเพ็ดน้ำยางสีเหลือง เถาบอระเพ็ดรสขมจัด
  • ใบบอระเพ็ด เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับกันจามเถา ลัษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ เหมือนใบพลู ขอบใบเรียบ ปลายใบมีหยัก ใบบอระเพ็ดมีสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนๆ
  • ดอกบอระเพ็ด ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เกสรมีสีขาว
  • ผลบอระเพ็ด ลักษณะกลมรี มีเปลือกบางๆห่อหุ้ม ผลบอระเพ็ดมีสีเขียว และ ผลสุกมีสีเหลือง

คุณค่าทางโชนาการของบอระเพ็ด

บอระเพ็ดมีสารเคมีหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยองค์ประกอบทางเคมีของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • สารเคมีที่ทำให้เกิดรสขม คืิอ picroretin , columbin , picroretroside , tinosporide , tinosporidine
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอปีนอยส์ คือ Borapetoside A , Borapetoside B , Borapetol A , Tinocrisposide , tinosporan
  • สารเคมีกลุ่มอัลคาลอยด์ คือ N-formylannonaine , N-acetylnornuciferine
  • สารเคมีกลุ่มอามีน คือ N-trans-feruloyl tyramine , N-cis-feruloyl tyramine
  • สารเคมีกลุ่มฟีนอสิคไกลโคไซด์ คือ tinoluberide

สรรพคุณของบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และ บำรุงร่างกาย โดยบอระเพ็ด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทุดส่วนประกอบของต้นบอระเพ็ด ทั้ง ใบบอระเพ็ด เถาบอระเพ็ด รากบอระเพ็ด และ ผลบอระเพ็ด โดย สรรพคุณของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ใบบอระเพ็ด สามารถใช้บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ แก้ผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รักษารังแค รักษาชันนะตุ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดความอ้วน ลดความดัน บำรุงเลือด ช่วยลดไข้ สร้างความชุ่มชื่นในลำคอ บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับพยาธิ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • เถาบอระเพ็ด สามารถใช้แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยลดไข้ รักษาไข้มาลาเรีย บำรุงเลือด บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวด ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยบำรุงน้ำดี แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • รากบอระเพ็ด เป็นยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันมะเร็ง ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยดับพิษร้อน ช่วยลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ผลบอระเพ็ด สามารถใช้ลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ดอกบอระเพ็ด ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ช่วยฆ่าพยาธิในฟัน และ ช่วยฆ่าพยาธิในหู แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของบอระเพ็ด

สำหรับต้นบอระเพ็ด มีสารเคมีต่างๆมากมาย ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของบอระเพ็ด คือ ความขม การบริโภคและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานรากของบอระเพ็ด เป็นเวลานานส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจทำให้มือเท้าเย็น แขนขาหมดแรงได้
  • การศึกษาสารสกัดจากบอระเพ็ด ใน หนูขาว พบว่าการบริโภคบอระเพ็ดในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานเป็นพิษต่อไต เป้นพิษต่อตับ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับและ โรคไตไม่ควรรับประทานบอระเพ็ด

บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม ลักษณะของต้นบอระเพ็ด เป็น เถาไม้เลื้อย ประโยชน์ของบอระเพ็ด และ สรรพคุณของบอระเพ็ด เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ แหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณและโทษมีอะไรบ้าง

เห็ดหอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเห็ดหอม คือ พืชชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆของเห็ดหอม คือ ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น เห็ดหอม เป็นพืชที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ดอกเห็ดหอมมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นแหล่งกากใยอาหารชั้นดี อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลากชนิด มีประโยขน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค บำรุงกระดูก ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

ลักษณะของต้นเห็ดหอม

เห็ดหอม ( Shiitake ) คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่งเป็นเชื้อรา เห็ดหอมให้ผลผลิดตลอดทั้งปี โดยให้ผลผลิดสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ต้นเห็ดหอมมีลักษณะเหมือนหมวกกลมๆ ผิวสีน้ำตาลอ่อน มีขนสีขาวอ่อนๆ ก้านดอกเห็ด และ โคนเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอม สามารถรับประทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมนั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง โดยผลการศึกษาพบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมสด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 387 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาการ 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 8.5 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 375 กิโลแคลอรี โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

สำหรับการศึกษาเห็ดหอม จากการศึกษาเห็ดหอมในงานวิจัยของญี่ปุ่น พบว่าในเห็กหอมมีสารอาหารสำคัญหลายชนิด เช่น

  • เลนติแนน ( Lentinan ) สารอาหารชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและมะเร็งได้ดี
  • กรดอะมิโนอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) กรออมิโนชนิดนี้ช่วยย่อยคอเลสเตอรอลได้ดี ลดไขมันและคอเรสเตอรัลในเลือดได้ดี ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ
  • สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) ช่วยบำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคกระดูกผุ ป้องกันโรคโลหิตจาง

สรรพคุณของเห็ดหอม

สำหรับการบริโภคเห็ดหอม นั้นมีปรธโยชน์และสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย ซึ่งสรรพคุณของเห็ดหอมมีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด ช่วยสร้างระบบภูมิต้านทานโรคทำให้แก่ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย หรืออาการโลหิตจาง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี
  • ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ไม่ให้กระดูกเปราะหรือแตกหักง่าย
  • ช่วยบำรุงระบบสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่ซึมเศร้า ช่วยให้ระบบประสาทของร่างกายให้ทำงานได้ดี
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ใบหน้าดูไม่แก่ก่อนวัย
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายและสบายขึ้น

โทษของเห็ดหอม

สำหรับการนำเห็ดหอมมารับประทาน ในปัจจุบันมีการนำเห็ดหอมมารับประทานในหลายรูปแบบ ทั้งเห็ดหอมสด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง สำหรักการเลือกเห็ดหอมที่สะอาดและ ปรุงอย่างถูกวิธี จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษจากการกินเห็ดหอม โดยการซื้อเห็ดหอม สำหรับเห็ดหอมแห้ง ควรเลือกซื้อเห็ดหอมที่ดอกหนา มีรอยแตกสีขาวลึกกระจายทั่วดอก โดยให้นำไปแช่น้ำร้อนประมาณ 15 นาที จนเห็ดหอมแห้งนุ่มก่อนนำไปปรุงอาหาร ส่วนเห็ดหอมสด ควรเลือกซื้อดอกเห็ดที่สดและสะอาด สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานเห็ดหอม มีดังนี้

  • การรับประทานเห็ดหอม สำหรับคนที่มีอาการแพ้เห็ดหอม ให้หยุดกินทันที และ พบเพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งหากรับประทานเห็ดหอมและมีอาการดังนี้ คือ ปวดท้อง มีอาการแพ้ตามผิวหนัง มีเลือดออกผิดปกติ หายใจลำบาก ให้พบแพทย์ด่วน
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม
  • สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคลูปัส โรครูมาตอยด์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอมกระตุ้นการทำงานของร่างกาย อาจทำให้อาการของโรคมากขึ้นได้
  • ผู้ป่วยโรคเซลล์เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงกว่าปกติ ( Eosinophilia ) ห้ามรับประทานเห็ดหอม เพราะ เห็ดหอม อาจทำให้เกิดอาการของโรคมากขึ้น

เห็ดหอม เห็ดชิตาเกะ คือ พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออก ลักษณะของเห็ดหอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม สรรพคุณของเห็ดหอม และ โทษของเห็ดหอม มีอะไรบ้าง เห็ดหอม เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลากชนิด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย