กระเจี๊ยบ ดอกนำมารับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะอาหาร โทษของกระเจี๊ยบมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ ภาษาอังกฤษ เรียก Rosella พืชตระกูลชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอ เป็นต้น

ต้นกระเจี๊ยบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ซูดาน มาเลเซีย และ ประเทศไทย สำหรับแหล่งปลูกกระเจี๊ยบในประเทศไทย คือปทุมธานี สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร  ราชบุรี สุพรรณบุรี ระยอง และ นครนายก กระเจี๊ยบ อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบ เช่น รักษาอาการอักเสบ ต้านเชื้อโรค ลดความดันโลหิต รักษาโรคหัวใจและระบบประสาท

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน สามารถขยายพันธุ์ ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบ ลำต้นและกิ่งมีสีม่วงแดง ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ
  • ใบกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก ใบเว้าลึก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียว ใบสากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีชมพู กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางจะประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ผลกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นผลรีปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง และจะปลายดอกจะแตกเป็นแฉกๆ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล กลีบผลหนาสีแดงฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ

สำหรับการบริโภคกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 49 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลายส่วน ทั้ง ผล เมล็ด ดอก ใบ และ น้ำคั้นจากดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ผลกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
  • เมล็ดกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะ รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยแก้ไอ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วบลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกระเจี๊ยบ สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด ช่วยขับปัสสาวะ ใช้ล้างแผล

โทษของกระเจี๊ยบ

สำหรับข้อควรระวังในการบริโภค และ ใช้ประโยชน์จากกระเจี๊ยบ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย มีดังนี้

  • กระเจี๊ยบ สรรพคุณเป็นยาระบาย การกินกระเจี๊ยบมากเกินไปทำให้ท้องเสียได้ สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งพักฟื้นจากอาการท้องเสีย ไม่ควรกินกระเจี๊ยบ
  • น้ำกระเจี๊ยบที่ปรุงรสด้วยน้ำตาล อาจมีความหวานมากเกินไป ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบที่หวาน
  • กระเจี๊ยบสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดการบริโภคกระเจี๊ยบ เพื่อลดความเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ผักคะน้า พืชสวนครัวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สารอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามิน ต้นคะน้าเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักค้าน้า เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ โทษของผักคะน้าผักคะน้า พืชสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของคะน้า

ต้นคะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kai-Lan พืชตระกูลผักกาด ชื่อวิทยาศาสตร์ของคะน้า คือ Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นที่นิยมเพาะปลูกในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมถึงประเทศไทย

สายพันธ์ผักคะน้า

ผักคะน้า สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สายพันธุ์ผัคะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักคะน้าสายพันธุ์ใบกลม ผักคะน้าสายพันธุ์ใบแหลม และ ผักคะน้าสายพันธุ์ยอดหรือก้าน รายละเอียด ดังนี้

  • ผักคะน้าสายพันธุ์ใบกลม ลักษณะใบใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมน ผิวใบเป็นคลื่น สายพันธ์ใบกลม คือ คะน้าพันธุ์ฝาง 1
  • ผักคะน้าสายพันธุ์ใบแหลม ลักษณะใบแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ข้อห่าง คือ คะน้าพันธุ์ P.L.20
  • ผักคะน้าสายพันธุ์ยอดหรือก้าน ลักษณะใบแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ จำนวนใบต่อต้นน้อย คือ คะน้าพันธุ์แม่โจ้ 2

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ต้นคะน้า เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นคะน้า มีดังนี้

  • รากผักคะน้า มีรากแก้วขนาด สีขาว ลึกลงดินประมาณ 10 เซ็นติเมตร และมีรากฝอยอ่อนตามรากแก้ว
  • ลำต้นผักคะน้า ลำต้นสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบผักคะน้า ใบมีขนาดใหญ่ ใบกลม ผิวใบเป็นคลืน และเป็นมัน ใบสีเขียว
  • ดอกผักคะน้า ดอกผักคะน้าจะแทงออกจากปลายยอด จะออกดอกเมื่อต้นแก่ ดอกคะน้าจะมีเมล็ด ซึ่งสามารถนำไปขยาายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า

สำหรับผักคะน้า นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยสามารถกินได้ทั้งต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบคะน้า ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบคะน้า ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 24 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม และ การใยอาหาร 3.2 กรัม

สารสำคัญในผักคะน้า คือ สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารนี้หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ ดูดซับไอโอดีนทำให้เป็นโรคคอพอก และ สามารถยับยั้งการสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์

สรรพคุณของผักคะน้า

สำหรับประโยชน์ของผักคะน้าด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากทั้งต้นผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
  • บำรุงสายตา ช่วยลดความเสี่ยงโรคต้อกระจก ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อ
  • บำรุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงระบประสาทและสมอง ลดอาการปวดหัว ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการโดยกำเนิด
  • ช่วยระบาย ป้องกันโรคท้องผูก
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้

โทษของผักคะน้า

สำหรับโทษของผักคะน้า นั้น เนื่องจากผักคะน้ามี สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) หากกินติดต่อกันเป็นเวลานาน และ กินในปริมาณที่มาก ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์

คะน้า เป็น ผักใบเขียว หาซื้อง่าย ราคาถูก แต่ต้องระวังสารพิษเจือปนจากยาฆ่าแมลงจากการปลูก ก่อนนำมารับประทานควรล้างให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย