ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลู ต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลูทำให้เป็นนิ่วในไตชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นชะพลู ( Wildbetal leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู คือ Piper sarmentosum Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ผักพลูนก , พลูลิง , ปูลิง , ปูลิงนก , ผักปูนา , ผักแค , ผักอีเลิด , ผักนางเลิด , ช้าพลู , นมวา เป็นต้น ชะพลู พืชพื้นบ้าน ตระกูลพริกไทย ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูง นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร เช่น เมี่ยงคำ แกงกะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือ นำมากินกับน้ำพริก แต่ใบชะพลูไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือ รับประทานอย่างเป็นประจำ

ลักษณะของต้นชะพลู

ชะพลู พืชตระกลูเดียวกับพริกไทย เป็นพืชล้มลุก พืชคุลมดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แต่ชะพลูชอบดินร่วนซุย และมีความชุ่มชื้น มีร่มเงา ชะพลู สามารถขยายพันธุ์ โดยการแยกเหง้า หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู มีลักษณะตั่งตรง เกาะตามหลักหรือเสา สูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นเป็นข้อๆ
  • ใบชะพลู ลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ใบสีเขียวสด ผิวใบเรียบนูน ลักษณะมันวาว ใบมีกลิ่นหอม ใบออกตามข้อของลำต้น
  • ดอกชะพลู ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกชะพลูเป็นทรงกระบอก ดอกอ่อนชะพลูมีสีขาว ดอกแก่ชะพลูสีเขียว ดอกแทงออกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู ผลชะพลูมีสีเขียว ลักษณะมัน ผลออกบนช่อดอก ลักษณะเล็กกลมฝังตัวในช่อดอก ดอกชะพลูออกในฤดูฝนของทุกปี

คุณค่าโภชนากการของชะพลู

ใบชะพลู นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สารอาหารสำคัญใน ใบชะพูล เช่น แคลเซียม เบต้าแคโรทีน น้ำมันหอมระเหย ( Volatile Oil ) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans และ Alkaloids

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการชองใบชะพลู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 6.09 กรัม โปรตีน 5.40 กรัม ไขมัน 2.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.20 กรัม แคลเซียม 298.00 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.63 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.23 กรัม ไนอาซีน 3.40 กรัม วิตามินซี 22.00 กรัม และ เบต้าแคโรทีน 414.45 ไมโครกรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับชะพลู มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ชะพลู สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้ง รากชะพลู ลำต้นชะพลู ใบชะพลู และ ผลชะพลู สรรพคุณของชะพลู มีดังนี้

  • รากชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงเลือด
  • ลำต้นชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง
  • ใบชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ผลชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร
  • ดอกชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม

โทษของชะพลู

สำหรับการบริโภคชะพลู ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประมานมากเกินไป และ รับประทานติดต่อกันนานเกินไป จะเกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู มีดังนี้

  • ใบชะพลูมีสารออกซาเลทสูง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป การสะสมสารออกซาเลทมากๆ อาจทำให้เป็นนิ่วในไต สำหรับการขับสารออกซาเลท ต้องดื่มน้ำตามมากๆ สารออกซาเลตจะเจือจางลง โดยทางการปัสสาวะ

 

ชะพลู พืชล้มลุก ตระกลูพริกไทย นิยมรับประทานใบชะพลู ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของใบชะพลู ประโยชน์และสรรพคุณของชะพลู เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลู ทำให้เป็นนิ่วในไต

 

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ตำลึง นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นตำลึง ( Ivy gourd ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อเรียกอื่นๆของตำลึง เช่น สี่บาท , ผักแคบ , ผักตำนิน , แคเด๊าะ เป็นต้น ต้นตำลึง เป็นพืชตระกูลแตง สำหรับอาหารไทย นิยมนำตำลึงมาทำอาหาร หลายเมนู เช่น แกงจืดผักตำลึง แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ต้นตำลึงจะทอดยาวเกาะตามเสา รั้วบ้าน เกาะตามหลัก ต้นไม้ เป็นต้น สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ หรือ การปักชำ ลัก ษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ลำต้นของตำลึง เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย ทอดยาวเกาะตามหลักต่างๆ เปลือกของลำต้นอ่อน มีสีเขียว เปลือกแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ใบของตำลึง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคลายรูปหัวใจ ใบออกมาตามข้อของลำต้น ใบมีสีเขียวใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่ขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ดอกของตำลึง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ คล้ายรูประฆัง ดอกมีสีขาว
  • ผลของตำลึง คลายแตงกวา มีขนาดเล็ก ผลเป็นทรงรียาว สีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีแดง ข้างผลมีเมล็ด สามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการรับประทานตำลึง นิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อนของตำลึง นำมาทำอาหารรับประทาน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม  ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม สารเคมีสำคัญในตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลสและเบต้าแคโรทีน ช่วยในการย่อยแป้ง

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับประโยชน์ของตำลึงด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบตำลึง ลำต้นตำลึง และ รากตำลึง รายละเอียด ดังนี้

  • ใบตำลึง สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมความเซลล์ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงหัวใจ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงน้ำนมแม่ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยดับพิษร้อน ลดความร้อนในร่างกาย  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับพิษในลำไส้ แก้ท้องผูก ช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ ป้องกันตะคริว
  • รากตำลึง สรรพคุณช่วยลดไข้  แก้อาเจียน บำรุงสายตา เป็นยาระบาย แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ
  • ลำต้นตำลึง สรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการตาแดง ลดอาการตาช้ำ
  • ดอกตำลึง สรรพคุณแก้ผดผื่นคัน
  • เมล็ดตำลึง สรรพคุณแก้หิด

โทษของตำลึง

  • ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
  • ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้

 

ตำลึง ผักพืนบ้าน นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย