พริก นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้นพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก สมุนไพรไทย

พริก คือ พืชที่ให้ความเผ็ดของอาหาร ซึ่งสารให้ความเผ็ดในพริก เรียกว่า แคปไซซิน ( Capsaicin ) ส่วนที่เกิดรสเผ็ดมาจาก ใยที่อยู่บริเวณเยื่อแกนกลางที่มีสีขาวภายในพริก ไม่ใช่เมล็ดหรือเปลือกตามที่เข้าใจกัน โดยสารนี้จะทนความร้อน แม้นำไปต้มก็ยังคงรูปความเผ็ดอยู่ได้ พริกที่มีความเผ็ดมากที่สุดในโลก คือ พริกฮาบาเนโร

ต้นพริก ชื่อสามัญ สำหรับพริกเม็ดใหญ่ รสเผ็ด คือ Chili, Chilli Pepper และชื่อสามัญสำหรับพริกรสอ่อน คือ Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum ชื่อสามัญเรียกตามสายพันธุ์ของพริก ได้แก่ พริกขี้หนู พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกหวาน และ ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum frutescens L.

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริก

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของพริก พริกมีแร่ธาตุและวิตามินต่างๆมากมาย ได้แก่ วิตามินA วิตามินB 6 วิตามินC ธาตุแมกนีเซียม ( Mg ) ธาตุโพแทสเซียม ( K ) ธาตุเหล็ก ( Fe ) กากใยอาหาร ( Fiber ) เมื่อรับประทานพริกแล้วต้องการลดความเผ็ดแสบร้อนภายในปากได้โดย การรับประทานอาหารที่มีไขมัน เช่น ไอศครีม ขนมหวาน เนื้อติดมัน เพราะ จะช่วยละลายสารความเผ็ดให้ออกไปจากเยื่อบุผนังภายในปากได้

ประโยชน์ของพริก

สำหรับพริก นอกจากการนำมาทำอาหารรับประทานแล้ว พริกสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และ นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภันฑ์ต่างๆหลากหลาย ดังนี้

  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร เช่น ซอสพริก เครื่องแกง พริกป่น พริกดอง พริกแห้ง น้ำพริก และยังนำมาทำเป็นยาสำเร็จรูปต่างๆ
  • นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสเปรย์พริกไทย เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่เบื่อบุอ่อนที่ตา จมูก
  • ทำเป็นยาบำรุงธาตุไฟ ตามตำรับยาจีนโบราณ
  • ทำเป็นครีมหรือเจล เพื่อลดอาการปวด จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สรรพคุณของพริก

การใช้พริกเพื่อการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

  • เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ให้กับร่างกาย ให้รู้สึกสดชื่อกระปรี่กระเปร่า
  • สร้างความสุขให้กับร่างกาย โดยการเร่งการหลั่งสารความสุขให้กับร่างกาย ( Endorphin )
  • บำรุงระบบภูมิต้านทาน ให้กับร่างกาย ให้แข็งแรงมากขึ้น
  • สร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายทำให้หน้าดูเด็กอ่อนกว่าวัย
  • เสริมสร้างการมองเห็นบำรุงระบบสายตา
  • สร้างความเจริญอาหาร ให้รับประทานได้มากขึ้น
  • สร้างความตื่นตัวของร่างกาย บำรุงระบบประสาท
  • ขับพิษออกจากร่างกาย
  • ลดไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ ในผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  • ลดอาการไอ อาการระคายเคืองคอ คันคอ
  • ลดอาการหายใจติดขัด ไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • บำรุงระบบเลือด โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีผลวิจัยยืนยันว่าลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • ลดไขมันในเลือดได้ดี โดยเฉพาะ ไขมันเลว และไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความเสี่ยงการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด และเส้นเือดในสมอง
  • ช่วยสลายลิ่มเลือดในเส้นเลือดได้ดี
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจวายเฉียบพลัน
  • เพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดในเส้นเลือด
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง
  • เพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือดลดความเสี่ยงการฉีกขาดของเส้นเลือด
  • เพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น ช่วยย่อยลดอาการจุดเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร จากสารให้ความเผ็ดในพริก
  • ช่วยบำรุงระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ
  • ขับแก๊ซในระบบทางเดินอาหารได้ดี
  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบหายใจ ในลำคอ ปอด
  • สลายเมือกเสียที่จับตัวกัยในร่างกาย
  • ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ดี เช่น ปวดข้อ ปวดหัว ปวดฟัน

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริก สมุนไพร พืชสวนครัวนิยมนำมาทำอาหารให้ความเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

เสาวรส กะทกรกฝรั่ง ผลไม้ที่ได้รับความนิยมรสเปรี้ยวอมหวาน ต้นเสาวรสเป็นอย่างไร สรรพคุณของเสาวรส เช่น บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ลดความอ้วน โทษของเสาวรส มีอะไรบ้างเสาวรส กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของเสาวรส

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passion Fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis Sims เสาวรสมีต้นกำเนิดในประเทสแถบทวีปอเมริกาใต้ ประโยชน์ของเสาวรสมีมากมายหลาย เนื่องจากผลเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต สำหรับเสาวรสในประเทศไทย ได้มีการปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ปัจจุบันปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออก

สายพันธ์เสาวรส

สำหรับสายพันธุ์เสาวรสที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธ์ คือ เสาวรสสายพันธ์ผลสีเหลืองทอง เสาวรสสายพันธ์ผลสีม่วง และ เสาวรสสายพันธ์ผสมสีม่วงและสีเหลืองทอง รายละเอียด ดังนี้

  • เสาวรสสายพันธุ์ผลสีเหลืองทอง ( Golden passion fruit ) ผลมีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เป็นสายพันธ์ตามธรรมชาติ พบได้ตามพื้นที่สูงในแถบชายฝั่งทะเลที่มีความสูงตั้งแต่ 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
  • เสาวรสสายพันธุ์ผลสีม่วง ( Purple passion fruit ) ผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์สีเหลืองทอง เปลือกผลจะบางกว่าพันธุ์สีเหลืองทอง และ ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าสายพันธ์ผลสีเหลืองทอง สายพันธุ์นี้พบได้ในที่สูงประมาณ 1,000 – 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ชอบอากาศค่อนข้างหนาวเย็น
  • เสาวรสสายพันธุ์ผสมสีม่วงกับสีเหลืองทอง ( Hybrid passion fruit ) ผลให้รสหวาน ผลขนาดใหญ่ เปลือกบาง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง

ลักษณะของต้นเสาวรส

ต้นเสาวรส เป็นพืชในเขตร้อนมีอายุประมาณ 4-5 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำและเสียบยอด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลักษณะเป็นเภาไม้เลื้อย เถาแตกกิ่ง และ มีหนามขนาดเล็กขึ้นปกคลุมห่างๆ
  • ใบเสาวรส ลักษณะเป็นใบเดียวแทงออกเรียงสลับกันตามเถา ใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นแฉกๆ ปลายแฉกแหลม แผ่นใบหนาและสากมือ
  • ดอกเสาวรส ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แทงออกตามซอกใบและตามเถา กลีบดอกมีสีเขียว เมื่อบานจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส ลักษณะเป็นผลเดียว ผลกลม อวบน้ำ สีของผลแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเป็นมัน ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดเสาวรส อยู่ภายในผล ลักษณะเป็นรูปรี เมล็ดด้านในมีสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

สำหรับการรับประทานเสาวรสเป็นอาหาร นินมรับประทานผลเสาวรส ให้รสชาติเปรี้ยวอมหวาน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรสขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสในด้านสมุนไพร และ การรักษาโรคนั้น เราใช้ประโยชน์จากผลเสาวรส โดยประโยชน์ของผลเสาวรส มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากผลเสาวรสมีวิตามินเอ และ สารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันเซลล์ประสาทตาถูกทำลาย
  • ช่วยกระกระตุ้นระบบขับถ่าย เนื่องจากเสาวรสมีกากใยอาหาร เหมาะสำหรับใช้ดีท็อกซ์ของเสียออกจากร่างกาย
  • ช่วยบำรุงหัวใจ โพแทสเซียม เป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อเซลล์ และของเหลวในร่างกาย ช่วยให้การทำงานของหัวใจ และความดันโลหิตเป็นปกติ
  • บำรุงกระดูก เนื่องจากเสาวรสมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงเหงือกและฟันด้วย
  • ช่วยให้นอนหลับง่าย ช่วยผ่อนคลาย
  • ช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจากเสาวรสมีแคลอรี่ต่ำ รับประทานแล้วไม่อ้วน ลดการสร้างไขมันใหม่ และ ช่วยสลายไขมันเก่าได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด เนื่องจากสารไบโอฟลาโวนอยด์ ( Bioflavonoid ) ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย วิตามินซีในเสาวรสช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง

โทษของเสาวรส

สำหรับการนำเสาวรสมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย มีข้อควรระวังโดย ต้นสดของเสาวรสมีความเป็นพิษ ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด อาจทำให้เสียชีวิตได้

เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง เป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมรสเปรี้ยวอมหวาน ลักษณะของต้นเสาวรสเป็นอย่างไร สรรพคุณของเสาวรส เช่น บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ลดความอ้วน โทษของเสาวรส มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย