มะกอก ผลไม้ สามารถสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้างมะกอก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะกอก ( Hog plum ) พืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz  ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น ไพแซ กอกหมอง กูก กอกกุก กอกเขา กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ มะกอกไทย กอกป่า มะกอกป่า  โค่ยพล่าละ แผละค้อก สือก้วยโหยว เพี๊ยะค๊อก ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง ลำปูนล เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

มะกอกในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ มะกอกฝรั่ง มะกอกป่า มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ รายละเอียด มีดังนี้

  • มะกอกป่า นิยมใช้ผลมาปรุงรสเปรี้ยว และ ใบอ่อนนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด
  • มะกอกโอลีฟ นิยมนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก
  • มะกอกฝรั่ง มีรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้
  • มะกอกน้ำ นิยมนำมาดองและแช่อิ่ม

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นพืชตระกลูเดียวกับมะม่วง สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้ง ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลักษณะของลำต้นกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่ม มีเปลือกเป็นสีเทา ลักษณะกหนา ผิวเปลือกเรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย และ มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก ลักษณะใบแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนของมะกอกเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นใบประกอบ
  • ดอกมะกอก มะกอกออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเหมือนรูปถ้วย ออกตามปลายกิ่ง และ ซอกใบ มีสีครีม มะกอกจะออกดอกทุกเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ผลมะกอก มีรสเปรี้ยว ลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านในผลมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ เปลือกผลเป็นสีเขียว ผลแก่เปลือกผลเป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน ภายในผลมีเมล็ด ขนาดใหญ่ และ แข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับประโยชน์ของมะกอก มีมากมายทั้งด้านการรักษาโรคและด้านอื่นๆ โดยการรับประทานมะกอก นิยมรับประทานมะกอกจากส่วน ผล และ ใบอ่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอกและใอ่อนของมะกอก มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม  วิตามินซี 53 มิลลิกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
  • ใบอ่อนมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย แคลเซียม 49 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม
  • น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันสามารถสกัดจากผลมะกอก นิยมใช้ผลมะกอกดอลีฟ มาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่งน้ำมันมะกอกสามารถใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) เป็นน้ำมันคุณภาพดี น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป สามารถคงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มากกว่าน้ำมันมะกอกธรรมดา มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ ได้

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก

สรรพคุณของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุณของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการสะอึก บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก สรรพคุณแก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง
  • ผลมะกอก สรรพคุณเสริมแคลเซียมในร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำรักษาเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก สรรพคุณแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนในทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของมะกอก

สำหรับโทษจากการใช้มะกอก จะเกิดจากการใช้มะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก ในปริมารที่มากเกินไป โดยการบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย คือ วันละ 2 ช้อนโต้ะ และ ไม่เกิด 1 ลิตรต่อ 1 สัปดาห์ โดยข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก ผลไม้รสเปรี้ยว สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ลักษณะของต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของมะกอก เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ช่วขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

หอมแดง สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ ต้นหอมหัวแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดงมีอะไรบ้าง

หอมแดง สมุนไพร

หอมแดง เป็นพืชสำคัญในอาหารไทย อาหารไทยนิยมใช้หอมแดงนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะในเครื่องแกงต่างๆ ประเทศไทยปลูกหอมหัวแดงมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ หอมแดงที่มีคุณภาพดี คือ หอมแดงของศรีสะเกษ

สายพันธ์หอมแดง

สำหรับการปลูกหัวหอมในประเทศไทย นิยมปลูกหอมแดงอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดงพันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดงพันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดงพันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

หอมแดง ( Shallot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมแดง คือ Allium ascalonicum L. พืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของหอมหัวแดง เช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ลักษณะของต้นหอมแดง

หอมแดง เป็นพืชล้มลุก สามารกเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ไม่ชอบน้ำ หัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นหอมแดง มีดังนี้

  • ใบหอมแดง สำหรับใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของในกลม ยาว สีเขียวใบอ่อนของหอมแดงสามารถนำมาบริโภคได้
  • หัวหอมแดง เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ ลักษณะของหัวหอมแดงกลม เนื้อในมีสีขาว เปลือกนอกสีแดง มีกลิ่นหอม
  • ลำต้นของหัวหอม อยู่ติดกับหัวหอมลำต้นเกิดจากหัวหอม เรียงอัดกันแน่น ถัดมาจึงเป็นส่วนของใบ
  • รากของหัวหอม เป็นระบบรากฝอย มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นกระจุกรวมกันที่ก้นหัว และแพร่ลงดินลึกในระดับตื้นๆ

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

หอมหัวแดง มีกลิ่นฉุ่นเป็นลักษณะเด่นของหอมแดง หัวหอมแดงมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง ซึ่งสารสำคัญ เช่น Ethanol , Acetonc , methyl Ethyl , Methyl Disulfide , Methyl , Methyl Trisulfide , Methyl I-propyl Trisulfide , I-propyl Trisulfide , Ketone , I-propanol , 2 – propanol , Methanol , I-butanol , Hydrogen Sulfidc , I-propanethiol , I-propyl Disulfide , Thioalkanal-S-oxide , di-n- propyl Disulfide , n- propyl-allyl Disulfide , Diallyl Disulfide , Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc

น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง รสขม มีความเผ็ดร้อน ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และ เป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง ช่วยลดไขมัน และ น้ำตาลในเลือด และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหัวหอมแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ และมีให้สารอาหารสำหคัณ ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไทอามีน ไรโบฟลาวิน และ ไนอาซิน

หอมหัวแดง ขนาด 100 กรัม มีวิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ และ วิตามินซี

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามาถใช้ประโยชน์จาก หัวหอมแดง ใบหอมแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้กำเดาไหล แก้ฟกช้ำ
  • เมล๊ดหอมแดง สรรพคุณกินแก้เนื้อสัตว์เป็นพิษ
  • หัวหอมแดง สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญธาตุไฟ ต่อต้านอนุมูลอิสระ แก้อาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด  ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้หวัดคัดจมูก รักษาโรคตา ขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้ปวดหู แก้อาการบวมน้ำ แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ป้องกันการติดเชื้อ แก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ช่วยแก้อาการฟกช้ำ บรรเทาอาการคัน แก้พิษแมงมุมกัด ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการเมาค้าง แก้อาการสะอึก รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาผิวจุดด่างดำ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของหอมแดง

สำหรับหอมแดงมีกลิ่นฉุนหอมเฉพาะตัว การนำมามำอาหารนิยมทำให้ร้อนก่อน หากกินสดๆ อาจมีกลิ่นฉุนมากเกินไป โทษของหอมแดง มีดังนี้

  • การกินหอมแดงมาก อาจจะทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว ตาฝ้ามัว ฟันเสียได้
  • หัวหอมแดง ทำให้แสบตา แสบจมูก และ ผิวหนังระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนได้ จึงไม่ควรทาใกล้บริเวณผิวที่บอบบาง
  • หอมแดงสด มีกลิ่นฉุน หากกินเข้าไป อาจทำให้อาเจียนได้

หอมแดง พืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมหัวแดง คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดง มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย