มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ประโยชน์ของมังคดมีหลากหลาย เปลือกมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงสายตา มีฤทธิ์ต้านมะเร็งมังคุด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ภาษาอังกฤษ เรียก mangoteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana L. มังคุด เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีฉายาว่า ราชินีแห่งผลไม้ ( Queen of fruit ) ซึ่งอาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบบนหัวคล้าย ๆ กับมงกุฎของพระราชินี

ประโยชน์ของมังคุด นอกจากการรับประทานเป็นผลไม้ คู่กับการรับประทานทุเรียนแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ต่างๆได้อีกมากมาย มีรายละเอียดดังนี้

  • ทำเป็นน้ำผลไม้ เช่น น้ำมังคุดสด และ น้ำเปลือกมังคุด
  • นำมาทำเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยในการชะลอวัย และ การเกิดริ้วรอย
  • นำมาทำครีมบำรุงผิวพรรณ ให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง ป้องกันการเกิดสิวได้ดี
  • นำมาทำยาบำรุง เสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน ป้องกันโรค ให้แข็งแรงขึ้น
  • ดับกลิ่นปาก ลดอาการปากเหม็น ใช้ลดกลิ่นปากได้ดี
  • มีสารช่วยป้องกันเชื้อรา สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้
  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร สามารถทำได้ ทั้งอาหารคาว และ อาหารหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด
  • สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานได้ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  • มีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้ในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิว และ อาการแพ้สารเคมีต่าง
  • นำมาแปรรูปเป็น สบู่เปลือกมังคุด ซึ่งช่วยดับกลิ่นเต่า กลิ่นอับ รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของ โรคผิวหนัง

มังคุดในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มังคุดจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยประเทศที่นิยมมังคุดไทย เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ มูลค่าการส่งออกของมังคุดในแต่ละปีประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งการส่งออกมีทั้งในรูปของผลมังคุดสดและมังคุดแปรรูป แหล่งปลูกมังคดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ภาคใต้ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมังคุดให้ได้รสชาติที่อร่อย มังคุดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะของต้นมังคุด

ต้นมังคุดเป็นไม้ยืนต้น ชอบสภาพดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูงและระบายน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด การตอนกิน เป็นต้น ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  •  ลำต้นมังคุด ความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นมียางสีเหลือง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบมังคุด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า
  • ดอกมังคุด ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ
  • ผลมังคุด ผลสดค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้

การปลูกมังคุด

ต้นมังคุด นิยมซื้อต้นพันธุ์จากเรือนเพาะชำทั่วไป โดยเลือกต้นที่แข็งแรง สภาพพื้นที่ ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร มี ความเป็นกรดด่างของดิน ประมาณ 5.5-6.5 พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล  ไม่เกิน 650 เมตร ความลาดเอียงประมาณ 1-3% สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนควรมีมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี การ การกระจายตัวของฝนค่อนข้างดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% แหล่งน้ำ ควรมีปริมาณเพียงพอตลอดปี ไม่มีสารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน มี ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ระหว่าง 6.0-7.5 การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างแถว และ ต้น คือ 8×8 เมตร หรือ 10×10 และ ระบบแถวกว้างต้นชิด ระยะปลูกระหว่างแถว 8×3 เมตร หรือ 10×5 เมตร

สรรพคุณของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมังคุดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก เนื้อผลมังคด และ เปลือกผลมังคุด สรรพคุณของมังคุด มีดังนี้

  • ช่วยลดไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงกระดูก ช่วยสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รักษาอาการข้อเข่าอักเสบ อาการข้อบวม ปวดตาข้อ
  • บำรุงกำลัง เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย
  • บำรุงผิวพรรณและใบหน้า ทำให้หน้าใส โดย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ลดสิว ต้านการอักเสบของสิว
  • ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ป้องกันอัลไซเมอร์ ป้องกันพาร์กินสัน
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ทุกชนิด เช่น เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยเพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับ คอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงช่องปาก ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเลือดออกตามลายฟัน รักษาแผลในช่องปาก แผลร้อนใน
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  • แก้ท้องเสียแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง
  • ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงระบบทางเดินปัสสาวะให้อยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีการถ่ายปัสสาวะขัด ป้องกันโรคนิ่วในไต
  • ช่วยสมานแผล ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
  • ยับยั้งการเกิดโรคและรักษาโรคผิวหนัง เช่น กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน รักษาอาการน้ำกัดเท้า รักษาแผลเปื่อย

คุณค่าทางโภชนาของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์และการบริโภคมังคุดนินมรับประทานเนื้อผลมังคุดเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมังคด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง พลังงาน 73 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม โปรตีน 0.41 กรัม วิตามินบี1 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.286 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.032 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.018 มิลลิกรัม วิตามินบี9 31 ไมโครกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.102 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.21 มิลลิกรัม

มีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งและอาการแพ้ต่าง ๆ และยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์

มีสารแทนนิน (Tannin) ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ

โทษของมังคุด

มังคุดมีสารแทนนิน ( Tannin ) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับและไต อาจจะเกิดมะเร็งในร่องแก้มบนใบหน้า ในทางเดินอาหารส่วนบน และ ยังมีฤทธิ์ ลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง จากปกติ ดังนั้น ควรเลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกันนานๆ และ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะดีต่อสุขภาพ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ต้นบัวหลวง พืชน้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับใช้บูชาพระ ลักษณะของต้นบัวหลวง สรรพคุณเช่น บำรุงกำลัง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของบัวหลวง มีอะไรบ้างบัวหลวง สมุนไพร สรรพคุณของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวหลวง คือ Nelumbo nucifera Gaertn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ โช้ค เป็นต้น ต้นบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ปัจจุบันมีการปลูกบัวหลวงเพื่อการพาณิชย์ในประเทศและส่งออก และ ยังได้รับการเลือกให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี พิจิตร สุโขทัย และ หนองบัวลำภู

สายพันธุ์บัวหลวง

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของบัวหลวง สามารถแบ่งได้ 4 สายพันธ์ตามลักษณะของดอกที่แตกต่างกัน โดย ประกอบด้วย บัวหลวงดอกสีชมพู บัวหลวงดกอสีขาว บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน และ บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน รายละเอียด ดังนี้

  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพู ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมคล้ายรูปไข่ ปลายดอกเรียว กลีบดอกสีชมพู โคนกลีบดอกสีขาวนวล กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาว ลักษณะดอกใหญ่ ดอกทรงรี ปลายดอกเรียว กลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว และกลีบในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพู กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้นๆ
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมเป็นทรงรี ปลายดอกแหลม สีชมพู กลีบดอกเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกสีเขียวอมชมพู กลีบดอกด้านในสีชมพู
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมทรงรี ปลายแหลม ดอกสีขาวและกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกชั้นในสีขาว

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก มีอายุยาวนาน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ที่อยู่ในแหล่งน้ำที่มีควาทลึกประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นบัวหลวง มีดังนี้

  • ลำต้นบัวหลวง เหง้าอยู่ใต้ดินและลำต้นเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลำต้นเป็นปล้องๆสีเหลืองอ่อนกลมๆ ลำต้นอวบน้ำ
  • ใบบัวหลวง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบกลม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น และใบมีขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเป็นนวล
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว สีต่างๆตามสายพันธ์ กลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ล้อมรอบฐานรองดอก ดอกบัวหลวงจะบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ฝักบัวหลวง คือ ส่วนฐานรองดอก ฝักอ่อนสีเขียวนวล รูปกรวย ฝักเมื่อแก่จะขยายใหญ่ขึ้น และจะมีผลสีเขียวอ่อนอยู่ในฝัก
  • ผลบัวหลวง หรือ เมล็ดบัวหลวง ลักษณะรี เป็นเม็ดๆอยู่ในฝักบัว ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก
  • ดีบัวหลวง คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวจะมีรสขมจัด แต่ไม่มีกลิ่น

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

สำหรับการบริโภคบัวหลวง นิยมรับประทานเมล็ดบัวหลวง และ และ รากบัวหลวง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล้ดบัวและรากบัว รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 332 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 64.47 กรัม น้ำ 14.16 กรัม ไขมัน 1.97 กรัม โปรตีน 15.41 กรัม วิตามินเอ 50 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.640 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.150 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.600 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.629 มิลลิกรัม วิตามินบี9 104 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 163 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.53 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 210 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 626 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,368 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.05 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.02 กรัม น้ำ 81.42 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม กากใยอาหาร 3.1 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.58 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.302 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.218 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 27.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 363 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 45 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

ดีบัวมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ เช่น Demethylcoclaurine , Isoliensinine , Liensinine , Lotusine , Methyl corypalline , Neferine , Nuciferine , Pro Nuciferine และ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น Galuteolin , Hyperin , Rutin

ดอกมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ คือ nelumbine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น quercetin , isoquercitrin , luteolin , luteolin glucoside

รากบัวสามารถช่วยลดการดูดซึมกลูโคส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

สรรพคุณของบัวหลวง

สำหรับการใช้ประโยชน๋จากบัวหลวง เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุดส่วนของบัวตั้งแต่รากบัว ใบบัว ดอกบัว สรรพคุณของบัวหลวง มีดังนี้

  • กลีบดอกบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • เมล็ดบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรุงประสาทและสมอง ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ใบบัวอ่อน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ช่วยขับเสมหะ รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบ
  • ใบบัวแก่ สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยลดไข้
  • รากบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้หลับสบาย ช่วยลดไข้ แก้ไอ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยสมานแผล แก้อาการผดผื่นคัน ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ดีบัว สรรพคุณลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยผ่อนคลาย ช่วยลดไข้ แก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • เกสรบัว สรรพคุณบำรุงประสาทและสมอง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยขับเสมหะ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล บำรุงปอด แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยสมานแผล

โทษของบัวหลวง

สำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค มีข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้ เกสรบัวหลวงอาจทำให้เกิดอาการแพ้
  • สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ค่อย ไม่ควรรับประทานเม็ดบัว เนื่องจากเม็ดบัวอาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย