อัญชัน สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้ง ทำขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย นอกจากนั้นดอกก็สามารถนำมาชุบแป้งทอด

อัญชัน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดอกอัญชัญ มี สารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ แต่งสีผสมอาหารให้สีม่วง ต้นอัญชัญ ภาษาอังกฤษ คือ Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และ ชนิดพันธุ์ทางจะมีสีม่วง สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย สามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ประกอบอาหาร ทำการมัดย้อมผ้า โดยใช้สีของอัญชันมาย้อม เป็นต้นและอย่างอื่นมากมาย

ลักษณะของต้นอัญชัน

ต้นอัญชัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย อายุสั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย มีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และ อเมริกา สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด นิยมปลูกเป็นพืชริมรั้วบ้าน ปลูกเป็นซุ้มให้ความสวยงามเป้นไม้ประดับ ลักษณะของต้นอัณชัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของอัญชัน เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย เนื้อไม้อ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบของอัญชัน ลักษณะใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนา
  • ดอกอัญชัน ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว  รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกดอกตามซอกใบ ดอกอัญชันมีสีต่างๆตามแต่ละพันธ์ เช่น สีขาว สีน้ำเงิน และสีม่วง ต้นอัญชันออกดอกตลอดทั้งปี
  • ผลอัญชัน เป็นลักษณะฝัก ผลแห้งจะแตกเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดสีดำ  สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัญ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาเป็นอาหาร ทำยารักษาโรค ทำเครื่องสำอาง อัญชัน สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก เมล็ด และ ราก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณบำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดก ดำ นุ่ม ดอกอัญชัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด นิยมนำดอกมาคั้นเอาสีน้ำเงิน มาปรุงแต่ง สีของอาหาร ขนมไทย และ ทำยาสระผม ดอกอัญชันให้สีน้ำเงินม่วง
  • เมล็ดของอัญชัญ สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้คลื้นไส้อาเจียน
  • รากของอัญชัญ รากมีรสขม สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้ปวดฟัน บำรุงสายตา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น
  • ใบของอัญชัน สรรพคุณบำรุงสายตา รักษาอาการตาแฉะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

การใช้ประโยชน์จากอัญชัน ไม่ได้มีแต่ระโยชน์ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ผิดวิธี สามารถทำให้เกิดโทษได้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากกินน้ำดอกอัญชันมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพราะสีน้ำเงินของดอกอัญชัน ทำให้ไตต้องขับสารสีน้ำเงินออก สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน
  • อัญชันมีสารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรกินอัญชัน
  • น้ำดอกอัญชัน หากปรุงรสด้วยน้ำตาล ให้ความหวานมากเกินไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้เป็นโรคเบาหวาน และ โรคหลอดเลือดต่างๆได้
  • ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน หรือ กินดอกอัญชัน เนื่องจาก ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสมุนไพรดอกอัญชัน ไม่ควรดื่มในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เนื่องจาก จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสื่อมสภาพ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • การกินอาหารจากดอกอัญชัน ให้กินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากกินในปริมาณมากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันสูง ควรงดการบริโภคดอกอัญชัน เพราะ อาจทำให้หน้ามืดและหมดสติ
  • การกินดอกอัญชัน แบบสดๆ ยางของดอกอัญชันจะทำให้ระคายเคืองในลำคอ
  • เมล็ดของอัญชัน หากกินแบบสดๆ เป็นพิษทำให้คลื่นไส้อาเจียน

อัญชัน พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน เช่น บำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา นิยมนำมาแต่งสีอาหาร และ ทำน้ำสมุนไพร โทษของอัญชัน มีอะไรบ้าง ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

แหล่งอ้างอิง

  • เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  • อัญชัน เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!, กรีนเนอรัลด์
  • รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน เก็บถาวร 2010-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศาลาสมุนไพร
  • ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

หมามุ่ย สมุนไพรพื้นบ้าน ใช้รักษาดรคได้ ต้นหมามุ่ยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยกระตุ้นประสาท บำรุงกำลัง โทษของหมาหมุ่ยมีอะไรบ้าง

หมามุ่ย สมุนไพร สมุนไพรไทย

หมามุ่ย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น สายพันธ์ของหมามุ้ย ที่รู้จักกันดี มี 2 สายพันธ์ คือ หมามุ้ยไทย และ หมามุ้ยอินเดีย ต้นหมามุ่ย  ต้นหมามุ้ย ( Cowitch ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ้ย คือ  Mucuna pruriens (L.) DC.  ชื่อเรียกอื่นๆของต้นหมามุ้ย เช่น บะเหยือง หม่าเหยือง ตำแย โพล่ยู กลออือแซ ถั่วเวลเวท เป็นต้น

ลักษณะของต้นหมามุ่ย

หมามุ่ย เป็นไม้เถา พืชล้มลุก ตระกลูถั่ว โดยลักษณะของต้นหมามุ่ย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้น เป็นเถาเครือ ยาวประมาณ 10 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาล
  • ใบ ลักษณะของใบหมามุ่นทรงรี คล้ายไข่ ใบบาง โคนใบกลม มีขนปกคลุมใบทั้งสองด้าน
  • ดอก ลักษณะของดอกหมามุ่ยเป็นช่อ มีขนปกคลุม สีม่วงอมดำ ดอกหมามุ่ยมีกลิ่นฉุน ดอกหมามุ่ยตามตามง่ามของใบ
  • ผล ลักษณของผลหมามุ่ย เป็นฝัก ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักของหมามุ่ยมีขนอ่อนๆปกคลุม ฝักแก่ของหมามุ่ยมีฤิทธิ์เป็นพิษ ทำให้ผิวหนัง คับ บวมแดง ปวดแสบปวดร้อน ขนของหมามุ่ย มี สารเซโรโทนิน ( Serotonin ) หากสัมผัสผิวกายของมนุษย์จะทำให้รู้สึกคัน
  • เมล็ด ภายในฝักของหมามุ่ย มีเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เมล็ดหมามุ่ย มี สารแอลโดปา ( L-Dopa ) มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ได้

คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ่ย

นักภาชนาการได้ศึกษาเมล็ดหมามุ่ย คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหมามุ่ย นั้นมี โปรตีน ไขมัน และ กากใยอาหาร  และ ในเมล็ดของหมามุ่ย มีสารอาหารสำคัญมากมาย มีกรดอะมิโน ที่จำเป็น ถึง 18 ชนิด และ สารอาหาร ได้แก่ ธาตุแคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และ ธาตุสังกะสี  เมล็ดหมามุ้ยมีพิษไม่สามารถกินแบบสดๆได้

ความแตกต่างของหมามุ้ยอินเดียและหมามุ่ยไทย

สำหรับหมามุ่ยที่คนรู้จักกัน มี 2 ชนิด คือ หมามุ่ยอินเดีย และ หมามุ่ยไทย ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่การนำเอาหมามุ่ยมาใช้ประโยชน์ใช้หมามุ่ยอินเดีย เพราะ หมามุ่ยอินเดีย มีสรรพคุณทางยาสูงกว่าหมามุ่ยไทย และ ความเป็นพิษน้อยด้วย ซึ่งความแตกต่างของหมามุ่ยไทยและ หมามุ่ยอินเดีย ที่เห็นอย่างชัดเจน คือ รูปร่าง และ ความคันเมื่อสัมผัส

หมามุ่ยอินเดีย ( Velvet Bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ่ยอินเดีย คือ Mucuna pruriens(L.)DC.var.utilis สายพันธุ์หมามุ่ยอินเดีย ในปัจจุบัน มี 2 สายพันธุ์ คือ หมามุ่ยอินเดียเมล็ดขาว และ หมามุ่ยอินเดียเมล็ดดำ

หมามุ่ยอินเดียในประเทศไทย

หมามุ่ยอินเดีย เข้าสู่ประเทศไทยมานานแล้ว รู้จักแพร่หลายในประเทศอินเดีย เชื่อว่าหมามุ่ยอินเดีย เข้าสูประเทศไทย ผ่านทางเรือ หรือ ผู้แสวงบุญที่กลับจากประเทศอินเดีย มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาเมล็ดของหมามุ่ยอินเดีย ด้วยวิธี HPLC เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสารออกฤทธิ์ในเมล็ดหมามุ่ยอินเดีย ซึ่งผลจากการวิจัย พบว่า หมามุ่ยอินเดีย มี แอล – โดปา ( L-Dopa ) เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ โดพามีน ( Dopamine ) มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท และยังมี สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ( Anti-Oxidant ) ช่วยส่งเสริมสุขภาพของสมอง ช่วยผ่อนคลาย และ ชะลอวัย

สรรพคุณของหมามุ่ย

ต้นหมามุ้ย นิยมใช้ประโยชน์มาช้านาน ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ประโยชน์จากหมามุ้ย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง เมล็ด ราก และ ใบ รายละเอียดของสรรพคุณหมามุ้ย ดังนี้

  • ใบหมามุ้ย ใช้รักษาแผล นำมาทำยาพอกเพื่อรักษาแผล
  • เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น ช่วยผ่อนคลาย แก้นอนไม่หลับ เพิ่มสมรรถภาพ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ ช่วยกระตุ้นให้มีลูก ช่วยกระตุ้นความรู้สึก ทำให้อวัยวะแข็งตัว ช่วยชะลอการหลั่งอสุจิ เพิ่มฮอร์โมนสตรี ทำให้หน้าอกเต่งตึง ทำให้นมโต บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง กระชับช่องคลอด รักษาโรคพาร์กินสัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รากหมามุ้ย ใช้ถอนพิษ แก้ไอ

โทษของหมามุ่ย

สำหรับการใช้ประโยชน์หมามุ่ย มีข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย ดังนี้

  • เมล็ดหมามุ่ยสดๆ มีความเป็นพิษ มีฤิทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้ประสาทหลอน หากไม่นำมาคั่วให้สุกก่อนจะเป็นพิษ
  • หมามุ่ยต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
  • สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยด้านจิตเวช และ ผู้ป่วยโรคความดัน ไม่ควรรับประทานหมามุ่ย
  • ขนฝักของหมามุ่ยมีพิษ ทำให้คัน ระคายเคืองผิวพรรณ
  • สำหรับคนที่แพ้พืชตระกูลถั่ว ไม่ควรกินหมามุ่ย เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

หมามุ้ย หมามุ่ย คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นหมามุ่ย ประโยชน์และสรรพคุณของหมาหมุ่ย เช่น ช่วยกระตุ้นประสาท บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพ โทษของหมาหมุ่ย มีอะไรบ้าง หมามุ้ยใช้ประโยชน์อย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย