อัญชัน สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้ง ทำขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย นอกจากนั้นดอกก็สามารถนำมาชุบแป้งทอด

อัญชัน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดอกอัญชัญ มี สารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ แต่งสีผสมอาหารให้สีม่วง ต้นอัญชัญ ภาษาอังกฤษ คือ Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และ ชนิดพันธุ์ทางจะมีสีม่วง สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย สามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ประกอบอาหาร ทำการมัดย้อมผ้า โดยใช้สีของอัญชันมาย้อม เป็นต้นและอย่างอื่นมากมาย

ลักษณะของต้นอัญชัน

ต้นอัญชัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย อายุสั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย มีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และ อเมริกา สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด นิยมปลูกเป็นพืชริมรั้วบ้าน ปลูกเป็นซุ้มให้ความสวยงามเป้นไม้ประดับ ลักษณะของต้นอัณชัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของอัญชัน เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย เนื้อไม้อ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบของอัญชัน ลักษณะใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนา
  • ดอกอัญชัน ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว  รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกดอกตามซอกใบ ดอกอัญชันมีสีต่างๆตามแต่ละพันธ์ เช่น สีขาว สีน้ำเงิน และสีม่วง ต้นอัญชันออกดอกตลอดทั้งปี
  • ผลอัญชัน เป็นลักษณะฝัก ผลแห้งจะแตกเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดสีดำ  สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัญ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาเป็นอาหาร ทำยารักษาโรค ทำเครื่องสำอาง อัญชัน สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก เมล็ด และ ราก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณบำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดก ดำ นุ่ม ดอกอัญชัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด นิยมนำดอกมาคั้นเอาสีน้ำเงิน มาปรุงแต่ง สีของอาหาร ขนมไทย และ ทำยาสระผม ดอกอัญชันให้สีน้ำเงินม่วง
  • เมล็ดของอัญชัญ สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้คลื้นไส้อาเจียน
  • รากของอัญชัญ รากมีรสขม สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้ปวดฟัน บำรุงสายตา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น
  • ใบของอัญชัน สรรพคุณบำรุงสายตา รักษาอาการตาแฉะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

การใช้ประโยชน์จากอัญชัน ไม่ได้มีแต่ระโยชน์ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ผิดวิธี สามารถทำให้เกิดโทษได้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากกินน้ำดอกอัญชันมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพราะสีน้ำเงินของดอกอัญชัน ทำให้ไตต้องขับสารสีน้ำเงินออก สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน
  • อัญชันมีสารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรกินอัญชัน
  • น้ำดอกอัญชัน หากปรุงรสด้วยน้ำตาล ให้ความหวานมากเกินไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้เป็นโรคเบาหวาน และ โรคหลอดเลือดต่างๆได้
  • ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน หรือ กินดอกอัญชัน เนื่องจาก ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสมุนไพรดอกอัญชัน ไม่ควรดื่มในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เนื่องจาก จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสื่อมสภาพ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • การกินอาหารจากดอกอัญชัน ให้กินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากกินในปริมาณมากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันสูง ควรงดการบริโภคดอกอัญชัน เพราะ อาจทำให้หน้ามืดและหมดสติ
  • การกินดอกอัญชัน แบบสดๆ ยางของดอกอัญชันจะทำให้ระคายเคืองในลำคอ
  • เมล็ดของอัญชัน หากกินแบบสดๆ เป็นพิษทำให้คลื่นไส้อาเจียน

อัญชัน พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน เช่น บำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา นิยมนำมาแต่งสีอาหาร และ ทำน้ำสมุนไพร โทษของอัญชัน มีอะไรบ้าง ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

แหล่งอ้างอิง

  • เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  • อัญชัน เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!, กรีนเนอรัลด์
  • รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน เก็บถาวร 2010-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศาลาสมุนไพร
  • ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111

ดีเกลือ Epsom salts แมกนีเซียมซัลเฟต เม็ดละเอียดสีขาว เค็ม มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สรรพคุณช่วยขับของเสีย บำรุงผิว ช่วยคลายเครียด ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว ลดการเกร็ง

ดีเกลือ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดีเกลือ ( Epsom Salt ) คือ สารชนิดหนึ่ง เป็นสารประกอบเกลือซัลเฟต ของโซเดียม และ แมกนีเซียม  ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) เป็นสารประกอบเคมีของแมกนีเซียม มีสูตรเคมีคือ MgSO4 มักอยู่ในรูปของเฮปต้า ไฮเดรต เริ่มแรกโดยการเคี่ยวน้ำแร่ (mineral water) จนงวดและแห้งที่เมืองยิปซัม (Epsom) ประเทศอังกฤษ และต่อมาภายหลังเตรียมได้จากน้ำทะเลและพบในแร่หลายชนิด เช่น ซิลิซีอัสไฮเดรตออฟแมกนีเซียม (siliceous hydrate of magnesia)

ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) ในรูปมีน้ำ 7 โมเลกุลเรียกดีเกลือฝรั่งได้มาจากการทำนาเกลือโดยจะตกผลึกปนมากับดีเกลือไทย ในตำรับยาโบราณใช้เป็นยาถ่าย ยาขับน้ำดี และใช้แก้พิษตะกั่ว

ประเภทของดีเกลือ

ดีเกลือสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ประกอบด้วย ดีเกลือไทย และ ดีเกลือฝรั่ง ซึ่งดีเกลือทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกัน และ มีคุณสมบัติ แตกต่างกัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดีเกลือไทย ( Na2SO4)  เรียกว่า โซเดียมซัลเฟต เป็นเกลือซัลเฟตของโซเดียม ลักษณะของดีเกลือไทยเป็นผง มีสีขาว ไม่มีกลิ่น รสเค็ม สรรพคุณช่วยขับพิษเสมหะ และ ขับพิษในโลหิต ช่วยถ่ายอุจจาระ แก้โรคท้องผูก
  • ดีเกลือฝรั่ง ( MgSO4.7H2O ) เรียกว่า แมกนีเซียมซัลเฟต เป็นเกลือซัลเฟตของแมกนีเซียม ลักษณะของดีเกลือฝรั่ง เป็นผลึก มีสีขาวใส คล้ายกับผงชูรส ไม่มีกลิ่น สามารถละลายน้ำได้ มีรสเค็ม

ดีเกลือ ทั้งสองชนิกมีคุณประโยชน์เหมือนกัน ส่วนมากดีเกลือที่มีขายตามท้องตลาด คือ ดีเกลือฝรั่ง ( แมกนีเซียมซัลเฟต ) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ ตามร้านขายสารเคมี และ ร้านขายยาแผนโบราณ

สรรพคุณของดีเกลือ 

สำหรับประโยชน์ของดีเกลือ ด้านการบำรุงสุขภาพ และ การรักษาโรค คือ เป็นยาระบาย ช่วยแก้ท้องผูก ช่วยขับพิษเสมหะ และ ขับของเสียออกจากเลือด ในทางปศุสัตว์ นิยมนำดีเกลือ มาใช้การรักษาปลา และนำมาบำรุงดิน สำหรับดินที่ขาดธาตุแมกนีเซียม

ประโยชน์ของดีเกลือ

การใช้ประโยชน์ของดีเกลือ มากมาย โดยเฉพาะการบำรุงความงาม โดยประโยชน์ของดีเกลือในด้านต่างๆ มีดังนี้

ประโยชน์ของดีเกลือในการล้างพิษตับ

ดีเกลือ สามารถล้างพิษในตับได้ โดยการใช้ประโยชน์จากดีเกลือ มีดังนี้

  • ดีเกลือสรรพคุณทำใหท่อน้ำดีขยายตัว สามารถแก้โรคนิ่วได้
  • สรรพคุณช่วยขับพิษที่ขัดขวางการเดินทางของนิ่ว
  • ดีเกลือช่วยให้ถ่ายท้อง เป็นยาระบาย สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้
  • ดีเกลือช่วยคลายเครียด และทำให้หลับง่ายขึ้น สำหรับคนมีปัญหานอนยาก หรือ นอนไม่หลับ ดีเกลือช่วยได้ นอกจากนี้ ดีเกลือยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ รวมทั้งระบบประสาท ป้องกันการแข้็งตัวของเส้นเลือด ลดอาการเกร็ง
  • ดีเกลือช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ลดปัญหาการปวดศรีษะ ป้องกันโรคไมเกรนได้

ประโยชน์จากดีเกลือด้านการบำรุงความงาม

ดีเกลือ สามารถใช้ประโยชนด้านการบำรุงความงาม ทั้งด้าน ผิวพรรณ เส้นผม และ ฟันสวย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ด้านการบำรุงผิว สามารถนำ ดีเกลือ มาใช้ขัดผิว โดยการใช้ดีเกลือโรยในเคลนเซอร์ สำหรับผิวหน้า แล้วนำไปฟอกหน้า ช่วยทำให้ผิวหน้าสะอาด ต้านริ้วรอยบนใบหน้า ลดการเกิดสิวได้
  • ด้านการบำรุงเส้นผม สามารถใช้ดีเกลือกับคอนดิชันเนอร์ ผสมกัน และนำมานวดบนหนังศีรษะและเส้นผม หมักทิ้งไว้ 10 นาที ทำให้เส้นนุ่ม มีน้ำหนัก เงางาม
  • ด้านการกำจัดสารพิษในร่างกาย สามารถใช้ดีเกลือใส่ผสมน้ำ และ นอนแช่น้ำดีเกลือ ช่วยขจัดสารพิษและโลหะหนักในร่างกาย
  • ด้านการบำรุงฟัน สามารถใช้ดีเกลือขัดฟัน ช่วยให้ปากเนียนนุ่ม ใช้แทนยาสีฟัน ขัดฟันทำห้ฟันขาว

สูตรน้ำดีเกลือ ส่วนผสม ประกอบก้วย ดีเกลือฝรั่ง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำอุ่น 1 แก้ว น้ำมะนาว 1 ช้อนชา โดยผสมส่วนผสมทั้งหมดให้ละลายเข้ากัน ดื่มให้หมดแก้ว จะทำให้แผลสิวอักเสบหายเร็วขึ้น ระบบขับถ่ายทำงานปกติ

การดื่มน้ำดีเกลือฝรั่ง ช่วยให้สิวลดลง สิวอักเสบ สิวหนอง สิวหัวช้าง จะหายเร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลในเรื่องอื่นๆ ด้วย ทั้งเรื่องการดูแลความสะอาด การรับประทานอาหารอื่นๆ และใครที่สนใจจะลองใช้ดีเกลือในการรักษาสิวก็ควรที่จะศึกษาข้อมูลให้ดีและใช้ในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น

การแช่น้ำดีเกลือ 

นำน้ำดีเหลือผสมน้ำร้อนสัก 2 – 3 ถ้วย มาผสมในน้ำอุ่น และ นอนแช่ในน้ำดีเกลือ เป็นอีกหนึ่งการใช้ประโยชน์จากดีเกลือในการบำรุงร่างกาย ซึ่งประโยชน์ของการแช่น้ำดีเกลือ มีดังนี้

  • ช่วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและระบบประสาท
  • ช่วยระบายสารพิษออกจากร่างกาย
  • ลดอาการบวม อาการอักเสบ รักษาแผลฟกช้ำ
  • ช่วยทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม และ ขัดเซลล์ผิวที่ตายให้หลุดลอก
  • ช่วยบรรเทาปวดเมื่อย
  • ดับกลิ่นเท้า
  • บรรเทาอาการข้อเท้าเคล็ด

สูตรมาส์กหน้าด้วยดีเกลือ โดยใช้แครอทขูดเป็นฝอย 1/4 ถ้วยตวง มายองเนส 1 ช้อนชาครึ่ง กับ ดีเกลือครึ่งช้อนชา ผสมให้เข้ากัน พอกหน้า ช่วยให้ผิวหน่าเรียบเนียน เปล่งปลั่ง ลดการเกิดสิว

สูตรหมักผมด้วยดีเกลือ โดยใช้ดีเกลือ 9 ช้อนโต๊ะ ผสมกับ แชมพูสำหรับผมมัน 1/2 ถ้วยตวง ผสมให้ส่วนผสมเข้ากัน และนำมาหมักผม และ ล้างออกด้วยน้ำเย็น ช่วยแก้ปัญหาผมมันได้

โทษของดีเกลือ

  • การดื่มน้ำดีเกลือ สามารถช่วยเรื่องการลดอาการอักเสบของสิว แต่ทำให้ถ่ายท้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาร่างกายขาดน้ำได้ รวมถึง
  • การดื่มน้ำดีเหลือทำให้ไตทำงานหนักขี้น ผู้ป่วนโรคไตต้องระวังการรับประทานดีเหลือ
  • ดีเกลือ หากนำมาใช้รับประทานแต่ทำไม่สะอาด อาจทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อโรคอื่นๆได้
  • น้ำดีเกลือเค็ม ไม่ควรใช้กับคนโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน

ดีเกลือ ( Epsom salts ) แมกนีเซียมซัลเฟต คือ เกลือชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีขาว รสเค็ม มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของดีเกลือ สรรพคุณของดีเกลือ ช่วยขับของเสีย บำรุงผิวพรรณ ช่วยคลายเครียด ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว ลดการเกร็ง การอักเสบของกล้ามเนื้อ และ โทษของดีเกลือ มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.
  • Ingraham, Paul. “Does Epsom Salt Work? The science of Epsom salt bathing for recovery from muscle pain, soreness, or injury”. Pain Science. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2016. สืบค้นเมื่อ 29 August 2016.
  • Eby, George A.; Eby, Karen L. (April 2010). “Magnesium for treatment-resistant depression: a review and hypothesis”. Medical Hypotheses. 74 (4): 649–660. doi:10.1016/j.mehy.2009.10.051. ISSN 1532-2777. PMID 19944540.
  • Banerjee, Srabani; Jones, Sarah (2017). Magnesium as an Alternative or Adjunct to Opioids for Migraine and Chronic Pain: A Review of the Clinical Effectiveness and Guidelines. CADTH Rapid Response Reports. Ottawa (ON): Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health. PMID 29334449.
  • “Magnesium sulfate asthma – Search Results – PubMed”. PubMed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
  • “Magnesium sulfate eclampsia – Search Results – PubMed”. PubMed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
  • “Boots Magnesium Sulfate Paste B.P. – Patient Information Leaflet (PIL) – (eMC)”. www.medicines.org.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย