ความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตสูงกว่าปรกติ อาการปวดหัวรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน พบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยและการรักษาทำอย่างไรโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไม้ติดต่อ การรักษาโรคความดัน

สถานการณ์ของโรคความดันสูง มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนมนุษย์ทั่วโลกมากถึง 9.4 ล้านคน และ พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อายุมากกว่า 25 ปี มีมากถึร้อยละ 40 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด

ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับโรคความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ และ โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ชนิดทราบสาเหตุ ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคร้ายแรงที่ไม่แสดงอาการของโรคล่วงหน้า และ เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของโรคได้ แต่มีปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  • พฤติกรรมการกิน ซึ่งการกินอาหารที่เค็ม อาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูง
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
  • เป็นผลข้างเคียงจากการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไต เป็นต้น
  • พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย
  • การรับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์

อาการของโรคความดันโลหิตสูง 

อาการของโรคความดันสูง นั้นมักไม่แสดงอาการผิดปกติของร่างกายอย่างชัดเจน จะแสดงอาการเมื่อเกิดความรุนแรงของโรคซึ่งเป็นอันตราย ลักษณะอาการที่แสดงออกว่าเป็นอาการของโรคความดันโลหิตสูง คือ ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เท้าบวม เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน เลือดกำเดาไหล หากเกิดอาการลักษณะนี้ต้องส่งตัวพบแพทย์ด่วน โรคความดันสูงเป็นฆาตกรเงียบ ( Silent Killer ) ทำให้เสียชีวิตได้อย่างกระทันหัน

ระดับความดันโลหิตปกติของร่างกาย คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท แต่คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คือวัดค่าความดันได้ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไปจะถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ระดับความดันโลหิตที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • 120-139/80-89 มม.ปรอท อันตรายไม่มากควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน การดื่ม
  • 140-159/90-99 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
  • 160/100 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
  • 180/110 มม.ปรอทขึ้นไประยะอันตรายมาก ต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะไต สมอง หัวใจล้มเหลว
  • 220/140 มม.ปรอทขึ้นไประยะวิฤต ต้องพบแพทย์โดยทันที

การตรวจวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยการตรวจวัดระดับความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูค่าของเลือดและการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิต สามารถรักษาได้โดยการบรรเทาอาการของโรค ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การพักผ่อน การออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆข้างเคียง

แนวทางการปฎิบัตตนสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเกิดอาการกำเริบอย่างกระทันหันได้ โดยการปรับพฤติกรรมและการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทางการปฏิบัติตนของ

  1. ลดภาวะเครียด
  2. เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยลดการกินอาหารพวกไขมันมาก ของทอด แป้ง น้ำตาล อาหารเค็ม
  6. หากมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เท้าบวม เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน ต้องส่งตัวให้แพทย์ด่วน

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงรักษาอยาก แต่การป้องกันการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า แนวทางการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  1. หมั่นตรวจร่างกายประจำปี
  2. ผ่อนคลาย ลดภาวะเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

โรคความดันโลหิตสูง ภาวะระดับความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปรกติ หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจเป็นโรคความดัน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยของการเกิดโรค การรักษาต้องทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

โรคเก๊าท์ อาการบวดบวมที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ปวดเท้ามาก มีอาการบวมแดง สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถกินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก โรคต่างๆ การรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ ( Gout ) คือ โรคที่ข้อกระดูก เกิดจากการตะกอนของยูริคที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อกระดูก บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หัวแม่เท้าบวมแดง ปวดแบบฉับพลัน มักเกิดกับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบมากในบุรุษมากกว่าสตรี เป็นอาการป่วยแบบเรื้อรัง ต้องรับการรักษาตลอดชีวิต

โรคเก๊าท์เทียม คือ โรคที่มีอาการคล้ายโรคเก๊าท์ แต่จะตรวจได้จากการเจาะข้อที่ปวดเพื่อส่องกล้อง หากพบผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต ( Calcium phosphate ) ที่ไม่ใช่ผลึกยูเรต จะมีอาการไข้ร่วมด้วย แต่กาการจะทุเลาและหายไปเองในที่สุด

สาเหตุการเกิดโรคเก๊าท์ 

สำหรับสาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากการสะสมของกรดยูริคในเลือดในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ ซึ่งกรดยูริกทำให้เกิดการสะสมของตะกอนยูริคที่ข้อกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบบวมแดง ปวด ที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ อาจเกิดกับกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีความเสี่ยงในการเกิดดรคเก๊าท์ มีดังนี้ 

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีประวัติพ่อแม่ญาติพี่น้องเคยเป็นโรคมีความเสี่ยงเกิดโรคนี้
  2. เป็นอาการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต ทำให้ไตขับกรดยูริคออกจากเลือดได้น้อย
  4. เพศ พบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  5. การดื่มสุรา ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ ทำให้กรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น
  6. พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก ยอดอ่อนของผักบางชนิด
  7. ภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคอ้วน หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสเกิดโรคได้
  8. ผู้ป่วยจะปวดตามข้อต่างๆในเวลาอากาศเย็นมากกว่า
  9. ผู้ใช้ยา เลโวโดปา ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ แอสไพริน ไซโคลสปอริน จะส่งผลต่อการขับกรดยูริคในเลือดของไต

อาการโรคเก๊าท์

สำหรับอาการที่แสดงออกของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ คือ ปวดอย่างรุนแรงแบบฉับพลัน บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า มักเกิดขึ้นภายใน 1 วัน บริเวณที่ปวดจะมีอาการปวมแดง บวมตึง หากสัมผัสเจ็บมาก เดินไม่สะดวก

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆด้วย โดนภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์ มีดังนี้

  1. เกิดปุ่มผลึกยูริค ตามข้อต่างๆและใบหู หากปล่อยเรื้อรัง ส่งผลต่อบุคคลิกภาพ การเข้าสังคม สภาพจิตใจ อาการทางจิต
  2. ข้อพิการหากไม่ได้รักษา เดินไม่ได้ ขยับแขนไม่ได้ นิ่วในไต ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  3. กรรมพันธุ์ร่วมกับ์โรคเก๊าท์ ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์มักเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ร่วมด้วย
  4. หากปล่อยเรื้อรังอาจจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนเสียชีวิตได้

การตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์

สำหรับการวินิจฉัย แพทย์จะซักประวัติการรักษาโรค และ พฤติกรรมของผู้ป่วยก่อน จากนั้นตรวจสภาพร่างกายส่วนที่บวมแดง และ เจาะเลือดเพื่อดูระดับของกรดยูริก รวมถึงเอ็กเรย์ดูข้อต่อที่ปวมแดง

การรักษาโรคเก๊าท์ 

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเก๊าท์ สามารถทำได้โดยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรค ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ พักผ่อนอย่างเพียงพอ

แนวทางการปฏบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์

สำหรับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  1. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. เลิกดื่มสุรา
  4. งดการกินอาหารจำพวก สะตอ หน่อไม้ ถั่ว  ผักโขม ผักปวยเล้ง ใบขี้เหล็ก เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู ดอกกะหล่ำ ยอดผัก เห็ด สาหร่าย อาหารที่ใส่ยีสต์ (ขนมปัง เบียร์) น้ำต้มกระดูก กระถิน ชะอม ดอกสะเดา ยอดแค หอย ปลาซาร์ดีน ปลาแฮริง ปลา ส้ตัน ปลาดุก กะปิ ซุปก้อน น้ำสกัดเนื้อ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา
  5. สำหรับอาหารสามารถรับประทานได้สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เช่น ผักและผลไม้ นมพร่องไขมัน โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ ข้าว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต แป้ง ไข่ เต้าหู้ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน หัวกะหล่ำ ผลไม้ทุกชนิดธัญพืช ปลาน้ำจืด
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  7. หลีกเลี่ยงการกระแทกข้อกระดูกเท้า
  8. หากเกิดอาการปวดข้อกระดูกหัวแม่เท้าห้ามบีบหรือนวดข้อต่อที่ปวด เนื่องจากจะทำให้ปวดมากยิ่งขึ้น อักเสบมากขึ้น
  9. ประคบด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำแข็งบริเวณที่ปวด
  10. ดื่มนม วันละ 1 แก้ว เนื่องจากดื่มนมช่วยให้ไตขับกรดยูริคออกจากกระแสเลือดได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย