สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

สะเดา นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้างสะเดา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นสะเดา ( Neem ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A.Juss. ชื่อเรียกอื่นๆของต้นสะเดา เช่น สะเลียม สะเดาบ้าน เดา กระเดา ลำต๋าว กะเดา จะตัง จะดัง ผักสะเลม สะเรียม ตะหม่าเหมาะ สะเดาอินเดีย ควินิน กาเดา ไม้เดา เป็นต้น ต้นสะเดา เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถพบได้ตามป่าประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย  และ ประเทศไทย

ชนิดของสะเดา

ต้นสะเดา สามารถแบ่งได้ 3 สายพันธ์ คือ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง โดยรายละเอียดของสะเดาแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน โดย สะเดาไทย แบ่งได้ 2 ชนิด คือ สะเดาชนิดขม และ สะเดาชนิดมัน โดยสามารถสังเกตได้จากยอดอ่อน ซึ่ง ยอดอ่อนสะเดาขมจะมีสีแดง ส่วน ยอดอ่อนของสะเดามันจะมีสีขาว
  • สะเดาอินเดีย เป็นต้นสะเดาที่มีลักษณะใบขอบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายใบแหลม
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ

ลักษณะของสะเดา

ต้นสะเดา จัดเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลเดียวกับกระท้อน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสะเดา คือ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ลักษณะของต้นสะเดา มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นสะเดา ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล เปลือกค่อนข้างหนา ผิวเปลือกแตกเป็นร่องส่วนเปลือกของกิ่งจะค่อนข้างเรียบ แกนไม้สีน้ำตาลแดง เนื้อไม้แข็งและทนทานมาก
  • ใบสะเดา ลักษณะเป็นใบเดียว เกาะตามกิ่งก้านจนเป็นทรงพุ่ม ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบคล้ายปลายหอก
  • ดอกสะเดา ออกดอกเป็นช่อโดย การดอกออกตามง่ามใบ ความยาวด้านดอกประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลสะเดา เจริญเติบโตมาจากดอกสะเดา ลักษณะของผลสะเดา กลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ผลมีรสหวานเล็กน้อย
  • เมล็ดสะเดา อยู่ภายในผลสะเดา ลักษณะกลมรี ผิวของเมล็ดสะเดาเรียบ สีเหลือง ภายในเมล็ดสะเดามีน้ำมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับสะเดา นิยมนำยอดอ่อนของสะเดามารับประทานเป็นอาหาร โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี โดยพบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำ 77.9 กรัม เบตาแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 354 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

ช่อดอกสะเดา มีสารจำพวกไกลโคไซด์ Nimbasterin และ มีน้ำมันหอมระเหย 0.5% นอกจากนั้นยังมีสารต่างๆ เช่น Nimbecetin , Nimbesterol , กรดไขมัน และ สารที่มีรสขม

เมล็ดของสะเดา มีน้ำมัน เรียกว่า Nim oil มีสาร Margosic acid ถึง 45% หรือ สารให้รสขม Nimbin

สรรพคุณของสะเดา

การใช้ประโยชน์จากสะเดาด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก เปลือก กระพี้ แก่น ใบ ดอก ผลอ่อน ผลสุก และ ยาง โดย สรรพคุณของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากสะเดา สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้จุกคอและแน่นในอกหายใจไม่สะดวก
  • เปลือกต้นสะเดา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย
  • กระพี้สะเดา สรรพคุณแก้น้ำดีพิการ บำรุงน้ำดี
  • แก่นสะเดา สรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม ข่วยลดไข้ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเลือด
  • ใบสะเดา สรรพคุณช่วยน้ำย่อยอาหาร บำรุงเลือด รักษาฝี ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกสะเดา สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ
  • ผลอ่อนสะเดา สรรพคุณช่วยขับพยาธิ รักษาริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลสุกสะเดา สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย บำรุงหัวใจ
  • ยางสะเดา สรรพคุณช่วยลดไข้
  • น้ำมันจากเมล็ดสะเดา สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ปรโยชน์จากสะเดา ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธี โดยหากใช้ผิดวิธีำหรือในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดย โทษของสะเดา มีรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดามีรสขม ทำให้ความดันต่ำลง สำหรับผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรรับประทาน
  • การกินสะเดา ทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องอืดท้องเฟ้อ ควรหลีกเลี่ยงการกินสะเดา
  • สำหรับนสตรีหลังคลอด การกินสะเดาทำให้น้ำนมแห้ง ได้ เนื่องจากสพเดาทำให้ร่างกายเย็นลง ส่งผลต่อระบบการผลิตน้ำนมของสตรีหลังคลอด

สะเดา สมุนไพรรสขม นิยมนำยอดอ่อนและดอกสะเดามารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นสะเดาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา สรรพคุณของสะเดา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด โทษของสะเดา มีอะไรบ้าง

พริกขี้หนู ผลพริกขี้หนูนิยมนำมาทำอาหารให้รสเผ็ด ต้นพริกขี้หนูเป็นอย่างไร สรรพคุณของพริกขี้หนู เช่น แก้หวัด แก้อาเจียน ต้านเชื้อโรค โทษของพริกขี้หนู มีอะไรบ้างพริก สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของพริก

ต้นพริกขี้หนู ( Chili pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกขี้หนู คือ Capsicum annuum L. ชื่อเรียกอื่นๆของพริกขี้หนู คือ พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด พริกชี้ฟ้า ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว  มือซาซีซู มือส่าโพ เป็นต้น ต้นพริกขี้หนู เป็นพืชตระกลูมะเขือ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน สำหรับประเทศไทย พบได้ทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู

สำหรับพริกขี้หนู มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สำหรับยอดและใบอ่อนของพริกขี้หนู มีสารอาหาร เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินบี แต่การบริโภคพริกนิยมบริโภคผลพริก เพื่อให้รสเผ็ด เป็นหลัก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลพริกขี้หนู มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 กิโลแคลอรี โดยมาสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 82 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 1.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม วิตามินเอ 2,417 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.29 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 44 มิลลิกรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ ราก และ ลำต้น โดย สรรพคุณของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ผลพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย รักษาโรคลำไส้ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง ทำให้สดชื่น บรรเทาอาการปวด แก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาอาการอาเจียน แก้อาการเจ็บคอ รักษาอาการเสียงแหบ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี รักษากลาก รักษาเกลื่อน ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการบวม แก้ปวดตามข้อ
  • ใบพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ช่วยขับลม แก้ปวดหัว ช่วยแก้หวัด แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลเปื่ิอย
  • ลำต้นพริกขี้หนู สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับปัสสาวะ
  • รากพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยฟอกเลือด

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริกขี้หนู คือ พืชพื้บ้าน ผลพริกขี้หนู นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ด ลักษณะของต้นพริกขี้หนู เป็นอย่างไร สรรพคุณของพริกขี้หนู เช่น แก้หวัด แก้อาเจียน ต้านเชื้อโรค โทษของพริกขี้หนู มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร