สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

โรคไวรัสโคโรน่า ( corona virus ) โควิด-19 ภาวะปอดอักเสบอย่างรุนแรง การติดเชื้อจากสัตว์สู่คน อาการมีไข้ อ่อนเพลีย ไอ ปอดอักเสบ ไม่ได้กลิ่น ไมรู้รสอาหาร หายเองได้ไวรัสโคดรน่า ปอดอักเสบอย่างรุุนแรง โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

เชื้อไวรัสโคโรน่า คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เป็นเชื้อไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ดู ลักษณะของเชื้อไวรัสชนิดนี้เหมือนรูปมงกุฎ ซึ่ง มงกุฎ ภาษาลาติน เรียกว่า corona จึงได้ตั้งชื่อไวรัสชนิดนี้ว่า ไวรัสโคโลน่า เชื้อไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์มาจากค้างคาวติดเชื้อสู่คน ซึ่งไวรัสโคโลน่าเมื่อเข้าสู่ร่างกายในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีไข้สูงและทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบอย่างรุนแรง เสียชีวิตได้ ปัจจุบันปี 2020 มีการระบาดหนักที่เมืองอู่ฮั่น ( Wuhan ) มณฑลหูเป่ย ( Hubei ) ประเทศจีน

สถานะการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในปัจจุบัน

สถานการ์ณการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า เมื่อมกราคม 2020 มีการติดเชื้อไวรัสโคโลน่าแพร่ระบาดหนักมากที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และ มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสดคโลน่า ซึ่งจากการสืบสวนหาแหล่งแพร่เชื้อของรัฐบาลจีน พบว่าเชื้อโรคมาจากกลุ่มคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน ( Huanan Seafood Wholesale Market ) พบว่ามาจากการกินงูสามเหลี่ยมที่กินค้างคาวเป็นอาหาร ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่พบว่าแพร่เชื้อพบว่าเป็นเชื้อโรคที่ข้ามสปีชีส์จากงูเห่าถ่ายทอดสู่คน

มีการรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโลน่า ที่ประเทศจีนหลายเมืองนอกจากเมื่ออู่ฮั่น เช่น กวางตุ้ง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น ซึ่งทางประเทศจีนได้ประกาศปิดเมืองอู่ฮั่น เพื่อควบคุมการเดินทางของคนจากเมืองนี้เพื่อลดการขยายของตัวของเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งปัจจุบัน 27 มกราคม 2020 ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้ิอไวรัสชนิดนี้ได้ ต่อมาเกิดการระบาดจากจีนไปทั่วโลก โดยประเทศที่เกิดการระบาดหนัก เช่น อิตาลี สเปน สหรัฐอเมริกา อิหร่าน สวิสเซอร์แลนด์ และ เยอรมันนี เป็นต้น รายงานจำนวนผู้ป่วยทั่วโลก ในวันที่ 16 เมษายน 2020 มีผู้ป่วยท่วยโลก 2,064,815 คน เสียชีวิตมากถึง 137,078 คน

องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ประกาศตั้งชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า ” โควิด-19 ” ( Covid-19 ) ย่อมาจาก “ coronavirus disease starting in 2019 ” หรือโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาที่มีการเริ่มต้นในปี 2562

นายทีโดรส แอดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ในการเลือกชื่อให้ไวรัส องค์การอนามัยโลกหลีกเลี่ยงที่จะพาดพิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเจาะจง สายพันธุ์ต่างๆ ของสัตว์หรือกลุ่มคน ตามกรอบคำแนะนำสำหรับการตั้งชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงสร้างบาดแผลหรือมลทินให้แก่เมืองอู่ฮั่น

สาเหตุของไวรัสโคโรน่า

งานวิจัยล่าสุดจากประเทศจีน เชื่อว่าคนที่ติดเชื้อโรคมาจากการกินงูสามเหลี่ยมที่กินค้างคาวเป็นอาหาร  ไวรัสโคโลน่า เป็นเชื้อไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่กรายพันธ์มาจากงูและค้างคาว ซึึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายคนด้วยการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อโรค ลมหายใจ บาดแผล ดวงตา เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง การติดเชื้อไวรัสโคโลน่า คือ กลุ่มคนที่ชอบกินอาหารป่า กินงู กินค้างคาว หรือ สัตว์ที่กินค้างคาวเป็นอาหาร ซึ่งสำหรับคนที่มีภาวะภุมิคุ้มกันโรคต้ำ เช่น ผู้สูงอายุ และ เด็ก จะเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคนี้สูงมาก รวมถึงกลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้กับแหล่งที่มีเชื้อโรค เช่น เม่ืองอู่ฮั่น ประเทศจีน สนามบิน เป็นต้น

อาการไวรัสโคโลน่า

สำหรับการแสดงอาการของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ในระยะแรกที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะไม่แสดงอาการป่วยหรือมีไข้ให้เห็น เมื่ออาการป่วยแสดงอาการผู้ป่วยจะมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย กระสับกระส่าย มีอาการไอ เบื่ออาหาร และ มีอาการปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง จนทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว และ เสียชีวิตในที่สุด

การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโลน่า

แนวทางการรักษาโรคไวรัสโคโลน่า ในปัจจุบันยังไม่มีที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ การรักษาจึงใช้การประคับประครองรักษาตามอาการ และ ให้ร่างกายของผู้ป่วยซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่สามารถรักษาจนหมดเชื้อในร่างกายได้แล้ว

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโลน่า สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเมืองที่มีความเสี่ยงติดโรค เช่น จีน อิตาลี เยอรมัน สเปน อิหร่าน สหรัฐอเมริกา และ อีกหลายประเทศทั่วโลก  ซึ่งเป็นแหล่งระบาดของโรค และ อาจเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคระบาด
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปสนามบินหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งอาจมีเชื้อโรคในร่างกายโดยไม่รู้ตัว
  • ให้ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
  • สวมหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆที่สามารถรวมตัวคนจำนวนมากได้ เช่น สถานบันเทิง สนามกีฬา เป็นต้น
  • เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 2 เมตร

หญ้าคา วัชพืช มีประโยชน์หลากหลาย สมุนไพร ลักษณะของหญ้าคาเป็นอย่างไร สารในหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษานิ่ว โทษของหญ้าคามีอะไรบ้างหญ้าคา สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา ภาษาอังกฤษ เรียก Alang-alang หรือ Blady grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา คือ Imperata cylindrica (L.) Raeusch. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของหญ้าคา คือ สาแล กะหี่ บร่อง ทรูล ลาลาง ลาแล แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง คา แฝกคา ลาแล เก้อฮี เป็นต้น หญ้าคากับหญ้าแฝกป็นพืชคนละชนิด หญ้าคา เป็นพืชที่ถูกจัดเป็นพืชรุกราน ( invasive alien species ) ขยายพันธ์เร็วมาก หญ้าคาหนึ่งต้นสามรถผลิตเมล็ดพันธ์ได้ 3,000 เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน

ลักษณะของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา เป็นพืชที่ชอบแสงแดดและมีความทนทานสูง สามารถพบได้ตามพื้นที่รกร้าง ท้องทุ่งทั่วไป ตามหุบเขา และริมทาง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หญ้าคาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นหญ้าคา มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าคา ลักษณะเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเส้นกลมทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวลำต้นเรียบ มีขนเล็กน้อย สามารถแตกกิ่งก้านสาขาและเลื้อยแผ่ได้มากมาย
  • ใบหญ้าคา ลักษณะใบแบนเรียวยาว ใบแตกออกมาจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน  ท้องใบมีขนอ่อนๆ  ขอบใบแหลมคม
  • ดอกหญ้าคา ลักษณะดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีขนฟูสีขาว ก้านดอกแทงออกจากปลายลำต้น หญ้าคาจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน
  • เมล็ดหญ้าคา ลักษณะเมล็ดแบนรี มีสีเหลือง เกาะอยู่ที่ดอกหญ้าคา สามารถขยายพันธ์ต่อได้

สารเคมีในหญ้าคา

รากหญ้าคามีสารสกัดเมทานอล หลายชนิด ประกอบด้วย 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone , 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone ,  flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ซึ่งพบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้ และ สารประกอบฟินอลิก อิมพิรานิน ( imperanene ) ในรากหญ้าคา สามารถยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด

สารสกัดจากเหง้าหญ้าคาแห้งสามารถยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease และ ลดอาการแผลในกระเพาะอาหารได้

สรรพคุณของหญ้าคา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าคา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ดอก ช้อดอก และ ลำต้น สรรพคุณของหญ้าคา มีดังนี้

  • รากหญ้าคา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง รักษาตาลขโมย แก้หอบหืด ช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ แก้เกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้บิด แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะเป็นหนอง รักษาหนองใน ช่วยขับระดูขาว แก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ไตอักเสบ บำรุงไต แก้ตัวบวม ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ช่วยห้ามเลือด
  • ดอกหญ้าคา สรรพคุณช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร  แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยห้ามเลือด
  • ผลหญ้าคา สรรพคุณเป็นยาสงบประสาท ช่วยห้ามเลือด
  • ใบหญ้าคา สรรพคุณแก้ลมพิษ รักษาผดผื่น ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของหญ้าคา

สำหรับหญ้าคา มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค แต่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและใช้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โทษของหญ้าคา มีดังนี้

  • ใบหญ้าคามีความแหลมคมมาก ให้ระวังในการเดินเข้าในดงหญ้าหรือระวังการจับใบหญ้า
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเกร็ดเลือด หรือ ผู้ที่รับยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือดอยู่ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าคา เนื่องจากในหญ้าคามีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด
  • ไม่ควรใช้สมุนไพรจากหญ้าคาในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สำหรับสตรีมีครรภ์หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อนจะใช้สมุนไพรหญ้าคา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร